MWWellness ปัสสาวะมีกลิ่นแรงผิดปกติ แบบนี้เสี่ยงโรคหรือเปล่า

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ปัสสาวะมีกลิ่นแรงผิดปกติ แบบนี้เสี่ยงโรคหรือเปล่า

MWWellness กลิ่นปัสสาวะเหม็นฉุนจนแสบจมูก ใครเจอแบบนี้ก็คงต้องสงสัยว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยกับเราอยู่ไหม หรือแค่เกิดจากอาหารกลิ่นแรง ๆ เท่านั้น

ปัสสาวะมีกลิ่นแรงผิดปกติ แบบนี้เสี่ยงโรคหรือเปล่า

ปัสสาวะมีกลิ่นแรงผิดปกติ แบบนี้เสี่ยงโรคหรือเปล่า


          ขึ้นชื่อว่าของเสียของร่างกาย กลิ่นก็คงไม่น่าพึงประสงค์สักเท่าไร แต่หากกลิ่นปัสสาวะของเราทวีความเหม็นมากเกินธรรมดาไปอีกก็คงไม่ดีนักเช่นกัน และหลายคนก็คงเริ่มไม่สบายใจกับความเหม็นนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเช็กเบื้องต้นคร่าว ๆ เรามาดูกันว่าปัสสาวะเหม็นเกิดจากอะไร อันตรายไหมนะ

 

ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน แบบไหนผิดปกติ

         ปัสสาวะ คือ สารน้ำที่ไตกรองเอาของเสียออกจากเลือด และขับออกมานอกร่างกาย ประกอบด้วยน้ำมากกว่า 95% ส่วนที่เหลือเป็นสารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการให้คั่งค้างอยู่ภายใน เช่น สารจากอาหารที่เรากินอย่างแร่ธาตุ โปรตีน น้ำตาล สารเคมี รวมไปถึงครีอะตินีน สารที่กล้ามเนื้อขับออกมา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัสสาวะจึงมีสีออกใสไปจนถึงเหลืองอ่อน ๆ และมีกลิ่นเฉพาะที่ออกฉุนนิด ๆ โดยที่สีและกลิ่นอาจเปลี่ยนแปลงบ้างขึ้นอยู่กับอาหารหรือเครื่องดื่มที่กินเข้าไป แต่ถ้าหากว่ากลิ่นปัสสาวะเหม็นแรงมาก ๆ บ้างก็กลิ่นเหมือนไข่เน่าหรือเหม็นจนแสบจมูก อาจบ่งชี้ภาวะผิดปกติได้ด้วย

 

ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นฉุนกว่าเดิม เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

1. ดื่มน้ำน้อย

          การดื่มน้ำน้อยจะทำให้สีปัสสาวะเข้มขึ้นและมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ เนื่องจากการที่สารน้ำมีน้อยยิ่งทำให้สัดส่วนของเสียเข้มข้นขึ้นนั่นเอง ซึ่งสามารถแก้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นได้ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวันก็จะดี และคอยสังเกตด้วยว่า เมื่อดื่มน้ำเยอะแล้ว สีปัสสาวะอ่อนลงหรือไม่ กลิ่นของปัสสาวะยังเหม็นอยู่ไหม เพราะหากกลิ่นไม่กลับไปเป็นปกติอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ซ่อนอยู่ก็ได้

2. รับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง

          บางครั้งเราจะรู้สึกว่าปัสสาวะมีกลิ่นเหมือนอาหารที่กินเข้าไป เช่น ปัสสาวะมีกลิ่นชะอม กลิ่นหน่อไม้ฝรั่ง สะตอ หัวหอม กระเทียม หรืออาหารกลิ่นแรง ๆ ซึ่งสาเหตุนี้เกิดจากร่างกายไม่มีเอนไซม์ย่อยอาหารที่เรากินไปได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ร่างกายต้องช่วยขับออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งความผิดปกตินี้ก็พบได้บ่อยและไม่มีอันตรายใด ๆ เพียงแค่ดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือรอจนร่างกายขับถ่ายอาหารชนิดนั้นออกมาหมดแล้ว กลิ่นปัสสาวะก็จะกลับมาเป็นปกติ

3. ดื่มกาแฟหรือนมมากเกินไป

         เวลาที่เราดื่มแต่นมทั้งวัน หรือดื่มกาแฟไปหลายแก้ว ก็อาจได้กลิ่นปัสสาวะเป็นกลิ่นกาแฟหรือกลิ่นนมได้ด้วยเช่นกัน เพราะเอนไซม์ในร่างกายอาจย่อยไม่ทัน และพยายามขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้สีของปัสสาวะก็ยังอาจมีสีขาวขุ่นเหมือนสีนม หรืออาจมีสีเข้มขึ้นจากคาเฟอีนด้วย

4. ยาหรือวิตามินบางชนิด

          สำหรับคนที่กินยา เช่น ยาฆ่าเชื้อ ยาในกลุ่ม Sulfonamide หรือกินวิตามิน อาหารเสริม เช่น วิตามินบี ธาตุเหล็ก ก็อาจได้กลิ่นปัสสาวะเป็นกลิ่นยา กลิ่นวิตามินที่กินเข้าไปได้ ซึ่งก็ไม่ถือว่าอันตรายนะคะ หรือถ้าไม่อยากให้ปัสสาวะเหม็นก็ลองปรึกษาแพทย์ว่าสามารถเปลี่ยนยาหรือหยุดรับประทานอาหารเสริมได้หรือเปล่า

5. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

          หากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อาจได้กลิ่นปัสสาวะเป็นกลิ่นเหมือนไข่เน่า กลิ่นคาวปลา หรือได้กลิ่นฉุนแอมโมเนียจัด ๆ ซึ่งเกิดจากการคั่งค้างของสารประกอบต่าง ๆ ในร่างกาย และถ้าลุกลามจนเป็นหนอง ก็มักจะพบร่วมกับภาวะปัสสาวะขุ่นเป็นหนองด้วย

6. การติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์

          เช่น หนองใน การติดเชื้อยีสต์ เชื้อราในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นฉุนกว่าปกติ และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คัน ปัสสาวะแสบขัด ตกขาวมาก หรือเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา

7. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

        อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติก็คือ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทางท่อปัสสาวะและทำให้เกิดการอักเสบ โรคนี้พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายหลายเท่า เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนัก จึงเสี่ยงเจอเชื้อโรคได้มากกว่า และอาการของโรคนี้ก็จะมีทั้งปัสสาวะแบบกะปริดกะปรอย ปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะมีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ปวดแสบขัดขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีเลือดปน ปวดท้องน้อย ปวดหลังส่วนล่างร่วมด้วย

8. กระเพาะปัสสาวะมีรูรั่วต่อกับลำไส้หรือช่องคลอด

           สำหรับเคสนี้อาจมีปัสสาวะกลิ่นเหม็นกว่าปกติ หรือปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นแรงเหมือนอุจจาระ จากกลิ่นอาหารที่หมักหมมในลำไส้ และผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีภาวะปัสสาวะเล็ดรั่วร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องสังเกตอาการตัวเองให้ดีและแจ้งอาการกับแพทย์ให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การตรวจรักษาที่ตรงจุดมากขึ้น เนื่องจากบางคนอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดแบบไม่รู้ตัว

9. โรคเบาหวาน

          นอกจากจะสังเกตได้จากมดที่ขึ้นตามสุขภัณฑ์ที่เลอะปัสสาวะของผู้ป่วยแล้ว การที่ปัสสาวะมีกลิ่นน้ำนมแมว กลิ่นหวาน ๆ เหมือนกลิ่นผลไม้ ก็บอกถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง หรือภาวะโรคเบาหวานที่เป็นมากและไม่ได้รับการรักษาได้เช่นกัน ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและทำการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป 

10. นิ่วในไต

          หากเป็นนิ่วในไตอาจมีสีปัสสาวะขุ่นแดง พบลักษณะคล้ายเม็ดทรายเล็ก ๆ หรือก้อนนิ่วหลุดมาพร้อมน้ำปัสสาวะได้ อีกทั้งหากติดเชื้อรุนแรงก็อาจเป็นหนองและทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นเน่ามากขึ้น

11. โรคไต

          ผู้ป่วยโรคไตในระยะที่การทำงานของไตเสียไป การกรองของเสียก็จะเริ่มบกพร่องจนทำให้ปัสสาวะเหม็นผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังอาจพบอาการปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะมากกว่าปกติก็ได้ รวมไปถึงอาจมีปัสสาวะเป็นฟองมาก หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้ในบางครั้ง ซึ่งเมื่อเจอสัญญาณดังกล่าวควรรีบไปตรวจสุขภาพกับแพทย์โดยด่วน

12. โรคตับ

           หากตับทำงานได้ไม่ดีก็จะบกพร่องในการกำจัดสารพิษ และกรองของเสียออกจากร่างกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเกิดการสะสมของสารต่าง ๆ ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น ทำให้กลิ่นปัสสาวะเหม็นผิดปกติ มีสีเข้มกว่าปกติ และอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้

13. ต่อมลูกหมากอักเสบ

          เมื่อต่อมลูกหมากอักเสบก็มักจะเกิดการอักเสบในบริเวณรอบ ๆ ด้วย ซึ่งอาจไปข้องเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้อวัยวะนี้เกิดการอักเสบด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ เช่น ปวดองคชาต ปวดหลังส่วนล่าง ปัสสาวะแสบขัด มีอาการปวดขณะปัสสาวะ เป็นต้น

14. โรคฟีนิลคีโตนูเรีย

          โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายขาดความสามารถในการย่อยกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ทำให้สารเหล่านี้ไปสะสมในเลือดและในน้ำปัสสาวะจำนวนมาก จึงส่งกลิ่นเหม็นอับหรือเหม็นสาบออกมา

          ความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ในร่างกาย หากเกิดขึ้นบ่อย เป็นอยู่ประจำ และลองเปลี่ยนพฤติกรรมก็ไม่หายไป ควรรีบเอะใจแล้วไปพบแพทย์ให้ไว อย่างอาการปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นก็เช่นกัน


ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ
- ปัสสาวะเป็นสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจากร่างกาย โดยไตจะกรองเอาของเสียและสิ่งที่มากเกินพอออกจากเลือด และขับออกมาเป็นปัสสาวะ ถ้าไตไม่ทำงานจะมีของเสียคั่งในเลือด ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก หอบเหนื่อย บวม เป็นต้น
- ปัสสาวะเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การสังเกตปัสสาวะของตนเอง โดยดูจากจำนวน สี ความขุ่น และกลิ่นของปัสสาวะ ก็จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติหลาย ๆ อย่างของร่างกายได้


จำนวนของปัสสาวะ
          - คนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละ 3 ถึง 5 ครั้ง ควรถ่ายปัสสาวะส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าถึงก่อนเข้านอน ส่วนกลางคืนหลังเข้านอนแล้วไม่ควรถ่ายปัสสาวะอีกจนถึงเช้า นอกจากจะดื่มน้ำมากหรือในเด็กเล็ก หรือคิดมาก นอนไม่หลับ อาจถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนได้อีก
          - การถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ อาจเป็นเพราะความวิตกกังวลซึ่งกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ได้เป็นโรคไต หรือโรคของทางเดินปัสสาวะก็ได้ ถ้าปัสสาวะบ่อยเป็นประจำกะปริบกะปรอย อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง

          - ปกติเด็กอายุ 1 ถึง 6 ขวบ จะถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามส่วนของหนึ่งลิตร (ประมาณ 1 แก้วครึ่ง) และไม่ควรมากกว่าหนึ่งลิตร

          - เด็กอายุ 6 ถึง 12 ขวบ ควรถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่าครึ่งลิตร และไม่ควรเกินสองลิตร

          - ผู้ใหญ่ควรถ่ายปัสสาวะวันละเกือบลิตร และไม่ควรเกินสองลิตร

         - ถ้าถ่ายปัสสาวะน้อยไป ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มน้ำน้อย หรือเกิดจากการเสียน้ำทางอื่น เช่น เหงื่อออกมาก ท้องเดิน ท้องร่วง อาเจียนมาก เป็นต้น ส่วนน้อยเกิดจากโรคไต โรคหัวใจ และอื่น ๆ

          - ถ้าถ่ายปัสสาวะมากไป ส่วนใหญ่มักเกิดจากการดื่มน้ำมาก หรือพบในโรคเบาหวาน เบาจืด โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไตพิการเรื้อรังบางระยะ การกินยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

          - บางครั้งพบว่าไม่มีปัสสาวะเลย หรือทั้งวันถ่ายปัสสาวะได้น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของลิตร (น้อยกว่า 1 ถ้วยแก้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, โรคเป็นพิษเนื่องจากปรอท, โรคไตอักเสบอย่างรุนแรง, ภาวะช็อก (เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ) เป็นต้น

          สำหรับอาการผิดปกติในการขับปัสสาวะ เช่น ปวดท้องน้อยในขณะถ่ายปัสสาวะ แสบที่ช่องถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแล้วรู้สึกไม่สุดอยากจะถ่ายอีกทั้ง ๆ ที่ไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขัด อาจมีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

สีของปัสสาวะ

          ปัสสาวะปกติมีสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าว ถ้าดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะก็น้อยทำให้สีเข้มขึ้นถึงสีเหลืองอำพัน ถ้าดื่มน้ำมากปัสสาวะก็มากทำให้สีอ่อนลง จนเหมือนไม่มีสีได้ ถ้าปัสสาวะมีสีผิดปกติไปจากนี้ เช่น

สีเหลืองอำพันแดง อาจเกิดจากสีของยูโรบิลิน ซึ่งเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดแตกมากกว่าปกติ

สีเหลืองน้ำตาลหรือเหลืองเขียว มีฟองสีเดียวกับน้ำปัสสาวะ อาจเป็นสีของน้ำดี จะพบในภาวะดีซ่านของโรคตับ หรือท่อน้ำดี

สีแดงหรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจเป็นสีของเลือดซึ่งออกมาจากบาดแผลส่วนใดส่วนหนึ่งของทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากนิ่วหรือเกิดจากการอักเสบ หรืออาจปนเปื้อนมาจากปากช่องคลอดซึ่งเป็นรอบเดือนของผู้หญิงก็ได้

สีคล้ายน้ำนมอาจเป็นสีของหนอง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะหรืออาจเป็นสีของไขมัน ซึ่งเกิดจากการที่ท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้าง

อาหารและยาบางอย่างทำให้สีปัสสาวะเปลี่ยนไป แบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นสีที่เป็นโรค เช่น กินมะละกอสุกจำนวนมาก หรือยาขับปัสสาวะบางอย่างจะทำให้ปัสสาวะเป็นสีเหลืองส้ม ยาที่มีส่วนผสมเมทิลีนบลู จะทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงิน เมื่อผสมกับสีเหลืองของปัสสาวะอาจเพี้ยนไปเป็นสีเขียวได้ ยาบางอย่างทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดงแต่ไม่ขุ่น หรือกินอาหารที่ผสมสี เช่น ไส้กรอก ขนมใส่สีบางอย่าง ทำให้ถ่ายปัสสาวะมีสีต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

          ปัสสาวะเป็นสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจากร่างกาย โดยไตจะกรองเอาของเสียและสิ่งที่มากเกินพอออกจากเลือด และขับออกมาเป็นปัสสาวะ ถ้าไตไม่ทำงานจะมีของเสียคั่งในเลือด ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก หอบเหนื่อย บวม เป็นต้น

          ปัสสาวะเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การสังเกตปัสสาวะของตนเอง โดยดูจากจำนวน สี ความขุ่น และกลิ่นของปัสสาวะ ก็จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติหลาย ๆ อย่างของร่างกายได้ เช่น

 

ความขุ่นของปัสสาวะ

          ปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ ๆ จะใส ถ้าตั้งทิ้งไว้จะขุ่นได้ เนื่องจากปัสสาวะเป็นอาหารที่ดีสำหรับแบคทีเรีย แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นมากมายอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัสสาวะขุ่นได้

          สาเหตุความขุ่นอีกอย่างหนึ่งคือ แบคทีเรียจะเปลี่ยนยูเรียในปัสสาวะให้เป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียจะทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง ด่างก็จะช่วยตกตะกอนของสารบางอย่าง เช่น พวกฟอสเฟต ยูเรท ทำให้ปัสสาวะขุ่นได้ เช่นเดียวกัน ถ้าปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ขุ่น เช่น ขุ่นและมีสีแดง ปัสสาวะอาจมีเลือดปนปัสสาวะขุ่นคล้ายนมอาจเกิดจากหนองหรือไขมัน

          บางครั้งความขุ่นของปัสสาวะเกิดจากอาหารและยา ซึ่งเป็นสาเหตุของการตกตะกอนของสารบางชนิดได้เช่นเดียวกัน เช่น ยาซัลฟา กินแล้วไม่ได้ดื่มน้ำมาก ๆ อาจจะตกตะกอนเป็นผงหรือผลึก ทำให้ปัสสาวะขุ่น ถ้าอาการปวดท้อง ปวดดื้อ จนถึงปวดรุนแรงเป็นพัก ๆ จนบิด ปัสสาวะน้อยและขุ่น จะทำให้นึกถึงโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

 

ถ้าปัสสาวะผิดปกติจะเก็บไปตรวจทำอย่างไร

1. ก่อนที่จะเก็บปัสสาวะ ควรจะต้องทราบเสียก่อนว่า จะเก็บเพื่อตรวจหาอะไร เช่น ต้องการดูสีควรงดอาหารและยาที่ทำให้เกิดสีก่อนสักวันสองวัน เป็นต้น

2. ก่อนถ่ายปัสสาวะเพื่อเก็บตรวจ ควรล้างปากช่องอวัยวะที่จะถ่ายให้สะอาด หรือจะใช้สำลีชุบน้ำเช็ด ถ้าเป็นหญิงต้องเช็ดจากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากช่องคลอดหรือทวารหนัก

3. ควรเก็บปัสสาวะครั้งแรกที่ตื่นนอนเช้า ก่อนกินอาหารหรือน้ำใด ๆ เพราะมีความเข้มข้นมากที่สุด

4. ควรเก็บปัสสาวะระยะกลาง ๆ ของการถ่ายมาดู ระยะนี้ปัสสาวะออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ ส่วนระยะเริ่มแรกถ่ายกับตอนสุดท้ายที่ขมิบ ควรจะใช้ภาชนะแยกอีกใบหนึ่งหรือสองใบรองไว้ สังเกตการขุ่น ซึ่งอาจจะปนเปื้อนมาจากช่องคลอด ไม่ได้เกิดจากความขุ่นของปัสสาวะก็ได้

5. ควรส่งตรวจทันทีเมื่อถ่ายใหม่ ๆ ภายใน 3 ชั่วโมง

 

เรามาหนีห่างจากโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะกัน

1. อย่ากลั้นปัสสาวะเมื่อเวลาปวด ถ้ากลั้นบ่อย ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ และถ้ากลั้นต่อไปอาจทำให้เกิดการอักเสบถึงกรวยไตและในที่สุดถึงไตได้

2. การกินยาที่อาจเป็นพิษต่อไต ต้องรู้วิธีแก้ไข เช่น ยาซัลฟา ถ้ากินยานี้แล้วดื่มน้ำน้อยไปจะทำให้ยานี้ตกตะกอนในไต หรือในส่วนต่าง ๆ ของทางเดินปัสสาวะได้ เมื่อจะกินยาเหล่านี้ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อละลายยาไม่ให้ตกตะกอน แต่ถ้าผู้ป่วยโรคไตที่มีปัสสาวะน้อยและห้ามดื่มน้ำมาก ก็ไม่ควรใช้ยานี

3. หญิงที่ใช้กระดาษเช็ดเมื่อปัสสาวะเสร็จ อย่าเช็ดช่องถ่ายปัสสาวะด้วยกระดาษที่ไม่สะอาด และต้องเช็ดจากหน้าไปหลัง มิฉะนั้นอาจจะติดเชื้อแบคทีเรียจากช่องคลอดหรือทวารหนักได้

4. อย่ากินอาหารเค็มจัดเสมอ ๆ

5. พยายามทำความสะอาดบริเวณขับถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ (โดยใช้น้ำสะอาดทั่วไป) ถ้าปล่อยให้สกปรกแล้ว อาจมีเชื้อโรคเข้าไปทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจลุกลามไปถึงไตได้

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  MW Wellness ปรึกษา ฟรี!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Line: @mw-wellness

Tel: 096-081-2533, 02-276-5093


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook