MWWellness ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย​

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย​

MWWellness อาการปัสสาวะผิดปกติ เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยมีอาการที่สามารถสังเกตได้คือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ ปัสสาวะเล็ดราด แม้ไม่มีการปวด ปัสสาวะ รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่หมด แม้เป็นอาการที่อาจดูไม่รุนแรง แต่หากทิ้งไว้อาจส่งผลเสีย ทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง ที่อยู่ในวัย 30 ขึ้นไป ผ่านการมีบุตรมาแล้ว หรือเข้าวัยทอง จะมีปัญหาปัสสาวะเล็ดมากขึ้น หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แม้จะยังไม่มีอาการน่ากังวล หรือมีผลเสียร้ายแรงกับชีวิตประจำวัน แต่อย่ามองข้ามปัญหาเล็กๆ นี้เด็ดขาด ควรเริ่มสังเกตอาการ และหาทางแก้ตั้งแต่เนิ่นๆ กันไว้ดีกว่า มาดูต้นตอกันว่า ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไรบ้าง มีอาการหรือวิธีแก้ไขอย่างไร

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย​

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย​


อาการปัสสาวะผิดปกติ เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยมีอาการที่สามารถสังเกตได้คือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ ปัสสาวะเล็ดราด แม้ไม่มีการปวด ปัสสาวะ รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่หมด แม้เป็นอาการที่อาจดูไม่รุนแรง แต่หากทิ้งไว้อาจส่งผลเสีย ทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง ที่อยู่ในวัย 30 ขึ้นไป ผ่านการมีบุตรมาแล้ว หรือเข้าวัยทอง จะมีปัญหาปัสสาวะเล็ดมากขึ้น หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แม้จะยังไม่มีอาการน่ากังวล หรือมีผลเสียร้ายแรงกับชีวิตประจำวัน แต่อย่ามองข้ามปัญหาเล็กๆ นี้เด็ดขาด ควรเริ่มสังเกตอาการ และหาทางแก้ตั้งแต่เนิ่นๆ กันไว้ดีกว่า มาดูต้นตอกันว่า ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไรบ้าง มีอาการหรือวิธีแก้ไขอย่างไร


 

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร ? 

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร ? อาการปัสสาวะเล็ด หรือโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) มีสาเหตุหลักที่สำคัญ และเกี่ยวข้องโดยตรงในผู้หญิง เป็นเพราะว่า กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนลง บางทีเรียกกันว่า “อุ้งเชิงกรานหย่อน” หรือ “กระบังลมหย่อน” เปรียบเทียบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เหมือนเปลญวณที่ผูกขึงไว้ เมื่อมีแรงของน้ำหนักตัวลงไป ก็ยิ่งทำให้เปลนั้นหย่อนลง จนอาจจะดึงท่อปัสสาวะ และช่องคลอดให้หย่อนลงมา ทำให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมาได้ง่ายนั่นเอง ปัสสาวะเล็ดเกิดจากอะไร นี่คือสาเหตุหลัก ๆ

 

สาเหตุอุ้งเชิงกรานหย่อนลง ในผู้หญิง 

  • อายุมาก

ในผู้ที่มีอายุมาก เป็นแกติที่กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานมักเสื่อมสภาพ

 

  • เข้าวัยทอง 

ผู้ที่เข้าวัยทองจะสูญเสียมวลเนื้อเยื่อ รวมทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง

 

  • ผ่านการคลอดบุตร 

ผู้ที่เคยคลอดบุตร โดยเฉพาะผู้ที่คลอดลำบาก คลอดทารกหลายคนในครั้งเดียว หรือคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่มากมักประสบภาวะมดลูกต่ำ

 

  • มีน้ำหนักตัวมาก 

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจากโรคอ้วนหรือมีเนื้องอกในมดลูก (Fibroids) ซึ่งไม่ใช้เนื้อร้าย หรือเกิดซีสต์ที่รังไข่ อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานถูกถ่วงให้ตึง

 

  • เคยได้รับการผ่าตัดที่อุ้งเชิงกราน 

ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่น ผ่าตัดมดลูก หรือผ่าตัดรักษากระเพราะปัสสาวะ สามารถเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้

 

  • ยกของหนัก ยืนหรือนั่งนาน ๆ 

ผู้ที่ต้องยกของหนักมากๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลต่ออวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน รวมทั้งผู้หญิงกลุ่มวัยทำงาน ที่ยืนหรือนั่งนาน ๆ และจดจ่อในการงานจนลืมปัสสาวะ (กลั้นปัสสาวะ)

 

  • มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยผู้ที่ป่วยหรือเกิดปัญหาสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดแรงกดบริเวณท้องมากขึ้น เช่น ภาวะหลอดลมอักเสบหรือโรคหอบที่ทำให้เกิดการไอเรื้อรัง ท้องผูกที่ทำให้เกร็งท้องเมื่อออกแรงเบ่ง เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน หรือเกิดการสะสมของเหลวที่ท้อง

 

ปัสสาวะเล็ด โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการเป็นอย่างไร ?

โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด และกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกัน จะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ อย่างเช่น 

  • ปัสสาวะบ่อยมาก ทั้งกลางวัน กลางคืน 
  • ปวดกลั้นมากขณะที่จะไปห้องน้ำบ่อยครั้ง จนบางครั้งกลั้นไม่อยู่ ราดออกไปก่อน 
  • มีอาการปัสสาวะเล็ดออกมา เมื่อเวลาเป็นหวัด มีการไอและจาม หรือเรียกว่า ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการออกแรงเบ่งช่องท้อง 
  • มีการปัสสาวะเล็ดเมื่อก้มลงยกของหนักจากพื้น หรือกระโดดออกกำลังกาย รวมถึงการก้าวขึ้นบันไดหลายขั้น

 

อาการ “กลั้นปัสสาวะไม่ได้” แบบไหน ไม่ควรละเลย

  • ปวดปัสสาวะรุนแรง จนเกิดการปัสสาวะราด พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืน หากเป็นมากอาจถึงกับปัสสาวะรดที่นอน

 

  • ปัสสาวะเล็ด เมื่อมีแรงกดในช่องท้อง เช่น ขณะยกของหนัก ไอ หรือจาม ซึ่งส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ จนมีปัสสาวะปริมาณเล็กน้อยเล็ดออกมาทั้งๆ ที่ไม่ได้ปวดปัสสาวะ มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือเคยคลอดบุตร

 

  • ปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนล้นไหลออกมาเอง

 

  • ปัสสาวะเล็ดตามออกมาเล็กน้อย หลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว ทำให้เปียกชื้นหรือส่งกลิ่น พบมากในผู้หญิงที่มีปัญหาถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ 

 

 

วิธีป้องกัน และรักษา อาการปัสสาวะเล็ด 

แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีป้องกัน อาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งหมด เพราะเป็นอาการที่มีสาเหตุหลักเกี่ยวกับความเสื่อมของอวัยวะตามอายุ แต่ก็มีวิธีที่สามารถลดความเสี่ยงของอาการนี้ได้ อย่างเช่น 

 

  • ฝึกปัสสาวะให้เป็นนิสัย และควบคุมการถ่ายปัสสาวะ ไม่ให้บ่อยเกินไป ซึ่งปกติควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป 
  • การออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดลูก ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องคลอดอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ เช่น ขมิบค้างไว้ 5 วินาที และค่อย ๆ ขยับเป็น 15 วินาที โดยวิธีการนี้สามารถช่วยป้องกัน และรักษาอาการปัสสาวะเล็ดในรายที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง จะสามารถช่วยให้จำนวนครั้งในการเล็ดค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ 
  • การควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานอาจเสี่ยงเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ จึงควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างเช่น ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม และงดสูบบุหรี่ เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะมากกว่าเดิม และอาจเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะได้ 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และจนทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น 

 

และวิธีการรักษาอาการปัสสาวะเล็ด ขึ้นอยู่กับอาการของตัวผู้ป่วยแต่ละคน โดยมีวิธีรักษาตั้งแต่วิธีธรรมชาติในผู้ที่อาการไม่รุนแรง อย่างเช่น การนวดแก้มดลูกหย่อน และวิธีที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ อย่างเช่น การออกกำลังกายหรือบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การลดและควบคุมน้ำหนัก ไปจนถึงต้องพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หากเป็นขั้นรุนแรง อาจรักษาด้วยการทานยา และรับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการวินิฉัยของแพทย์ 

 

การนวดมดลูก ช่วยให้มดลูกแข็งแรงด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นศาสตร์การแพทย์แผนตะวันออก ตามตำราแพทย์แผนไทย การนวดจะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูก ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกแข็งแรง ช่วยกระชับมดลูกที่หย่อนคล้อยให้กลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม อีกทั้งยังได้ความรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัวสบายใจจากการนวด ช่วยร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข ซึ่งช่วยลดความเครียดและความเจ็บปวด ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดประจำเดือนได้… ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ LINE OA : https://lin.ee/v5YzEjv


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook