MWWellness ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

MWWellness ฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบเคมีที่คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ การมีฮอร์โมนที่สมดุลส่งผลให้เรารู้สึกมีความสุข แต่ถ้าหากฮอร์โมนขาดความสมดุลแล้วก็สามารถส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าได้เช่นกัน

ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร


ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ร่างกายของเรานั้นมีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบเคมีที่คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ การมีฮอร์โมนที่สมดุลส่งผลให้เรารู้สึกมีความสุข แต่ถ้าหากฮอร์โมนขาดความสมดุลแล้วก็สามารถส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าได้เช่นกัน

 

ฮอร์โมน (Hormones) คือ อะไร

 

ฮอร์โมนเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายของเราสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในร่างกาย ตั้งแต่เราเกิดจนกระทั่งเราตายไป บริเวณหรืออวัยวะที่สร้างเจ้าฮอร์โมนต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน ต่อมหมวกไต หรือแม้แต่บริเวณที่เรารู้จักกันดี ก็คือ อัณฑะและรังไข่ เราเรียกรวม ๆ กันว่า ต่อมไร้ท่อนั่นเอง

 

ความผิดปกติของฮอร์โมนเพียงเล็กน้อยอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพรุนแรงได้

 

การทดสอบฮอร์โมน เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ควรละเลย โดยเราจะทำการทดสอบฮอร์โมนและภาวะสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายที่มีผลโดยตรงต่อการนอนหลับ การเผาผลาญของร่างกาย อารมณ์ ตลอดจนความรู้สึกทางเพศ

อาการที่จำเพาะหรือพอที่จะบอกได้ว่าเราน่าจะขาด หรือ พร่องฮอร์โมนตัวไหน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

 

1. ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen and Progesterone)

 

ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause) และวัยหมดประจำเดือน หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ วัยทอง (Menopause) นั่นเอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ (ในคนที่ยังไม่หมดประจำเดือน) อาการร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกมาในเวลากลางคืน นอนไม่หลับ หรือหลับแต่ไม่สนิท อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ วิตกกังวล ผิวบางลง มีริ้วรอยมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ทานอาหารและออกกำลังกายเหมือนเดิม บางคนอาจมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด กลั้นลำบาก ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การมีความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงจากเดิมด้วย

 

2. ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone)

 

อาการที่บอกว่าระดับเริ่มต่ำลง หรือ ขาดฮอร์โมน ได้แก่ สมรรถภาพทางเพศ ความรู้สึกทางเพศที่ลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง ไขมันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อก็เริ่มลดลง หงุดหงิดง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่กระฉับกระเฉง ขาดความมั่นใจและสมาธิ เป็นต้น

 

3. ส่วนฮอร์โมนที่สำคัญตัวอื่น ๆ ที่สำคัญที่พบได้บ่อย เช่น

 

– ปัญหาจาการที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานน้อยลง (Hypothyropidism / Subclinical Hypothyroidism) ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายเราต่ำลง อ้วนง่ายขึ้น เหนื่อยเพลีย ๆ เป็นคนเชื่องช้า ไม่กระฉับกระเฉง ขี้หนาวง่าย เป็นต้น

– ปัญหาฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Adrenal hormones) ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ต์ซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (DHEA) ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย แต่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเครียด (Stress) หากเราเป็นคนที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่บ่อย ๆ เป็นระยะเวลาที่นาน จะทำให้ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ลดต่ำลง อาการที่เด่นชัด คือ อ่อนเพลียเรื้อรังแบบที่หาสาเหตุอื่นไม่เจอ เป็นภูมิแพ้ง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ ปวดเมื่อยตามตัวหลาย ๆ ตำแหน่ง โดยหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ เป็นต้น

 

สร้างสุขภาพที่แข็งแรงและชีวิตที่ยืนยาวไปกับเรา

 

ถ้าฮอร์โมนของคุณไม่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ แพทย์ของเราจะให้คำแนะนำแก่คุณในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้อาหารเสริมหรือการให้ฮอร์โมนทดแทน (bio-identical hormone replacement therapy) เพื่อคืนความสมดุลให้แก่สุขภาพของคุณ

ใครที่ควรตรวจฮอร์โมน?

 

ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่อายุประมาณ25ปีขึ้นไป และเมื่อความสมดุลของฮอร์โมนเสียไปก็อาจก่อให้เกิดภาวะหรืออาการผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระดับฮอร์โมนได้ ดังนั้นการตรวจวัดระดับฮอร์โมนสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป นอกจากนี้แล้วผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการลดลงของฮอร์โมนในร่างกายได้เร็วกว่าปกติ คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม, มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่, มีการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือพร่อง
วิตามิน, การขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งในบุคคลที่มีการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและทำให้สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกายเสียไป

 

พบกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาด้านฮอร์โมน

 

MW Wellness Center เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางในการทดสอบด้านฮอร์โมน และทีมที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาและให้ความรู้ถึงบทบาทความสำคัญของฮอร์โมนเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และอายุที่ยืนยาว มีบริการการตรวจวัดระดับฮอร์โมนด้วยการตรวจ “ปัสสาวะ” ที่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ที่ใช้ในการตรวจหาฮอร์โมนชนิดต่างๆ อาทิ

 

– ฮอร์โมนทั่วไป (Basic Hormones)
– ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol Metabolites)
– ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Overnight melatonin)
– ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen Metabolites)
– ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen Metabolites)

 

โดยผลการตรวจวัดจะใช้เวลาเพียง 14 วัน เท่านั้นคะ ให้ผลการทดสอบเป็นไปได้อย่างตรงจุด แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ปรึกษาการตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่ MW Wellness Center

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก vitallifeintegratedhealth

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
รู้ทัน เบาหวาน ก่อนเกินอันตราย
ทำสีผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook