MWWellness รู้จักฉัน รู้ทันเธอ! ออฟฟิศซินโดรม เจ็บมาจากไหนก็แก้ไขได้ ด้วยวิธีนี้!

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร รู้จักฉัน รู้ทันเธอ! ออฟฟิศซินโดรม เจ็บมาจากไหนก็แก้ไขได้ ด้วยวิธีนี้!

MWWellness เชื่อเลยว่าในตอนนี้คงไม่มีพนักงานออฟฟิศคนไหน ที่ไม่เคยได้ยินชื่อ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) เพราะตอนชื่อนี้ได้กลายเป็นโรคยอดฮิตแห่งยุค ที่มนุษย์ออฟฟิศทุกคน ไม่น่าจะอยากอินเทรนด์ด้วยซักเท่าไหร่ บทความนี้ขอชวนเพื่อนชาวออฟฟิศ มาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กันให้มากขึ้น พร้อมแนวทางดูแลป้องกันตัวเองจากโรคนี้แบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดีมาก รวมไปถึว วิธีแก้ ออฟฟิศซินโดรม สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับอาการออฟฟิศซินโดรมในเบื้องต้น บอกเลยว่าเป็นวิธีง่าย ๆ แต่ได้ผลชัวร์ เพราะคุณหมอแนะนำมาแบบนี้!!

รู้จักฉัน รู้ทันเธอ! ออฟฟิศซินโดรม เจ็บมาจากไหนก็แก้ไขได้ ด้วยวิธีนี้!

รู้จักฉัน รู้ทันเธอ! ออฟฟิศซินโดรม เจ็บมาจากไหนก็แก้ไขได้ ด้วยวิธีนี้!


เชื่อเลยว่าในตอนนี้คงไม่มีพนักงานออฟฟิศคนไหน ที่ไม่เคยได้ยินชื่อ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) เพราะตอนชื่อนี้ได้กลายเป็นโรคยอดฮิตแห่งยุค ที่มนุษย์ออฟฟิศทุกคน ไม่น่าจะอยากอินเทรนด์ด้วยซักเท่าไหร่ บทความนี้ขอชวนเพื่อนชาวออฟฟิศ มาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กันให้มากขึ้น พร้อมแนวทางดูแลป้องกันตัวเองจากโรคนี้แบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดีมาก รวมไปถึว วิธีแก้ ออฟฟิศซินโดรม สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับอาการออฟฟิศซินโดรมในเบื้องต้น บอกเลยว่าเป็นวิธีง่าย ๆ แต่ได้ผลชัวร์ เพราะคุณหมอแนะนำมาแบบนี้!! 


 

รู้จักฉัน รู้ทันเธอ! โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?

 

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทางการแพทย์ คำว่า ออฟฟิศซินโดรม เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่ม อาการกล้ามเนื้ออักเสบ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ที่มีสาเหตุมาจาก รูปแบบการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดการปวด หรือเกิดความเสียหายแก่ระบบกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่าง ๆ ไม่ใช่เฉพาะแค่การปวดคอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือเท่านั้น 

 

ที่น่ากังวลคือ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกอาชีพที่มีพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อแบบผิด ๆ และอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังดังกล่าว อาจจะเกิดเป็นพัก ๆ แต่จะเป็นอาการปวด ที่รบกวนกิจวัตรประจำวัน ปวดรำคาญ และอาจจะปวดแผ่ไปจุดอื่น ๆ หากปล่อยไว้นานไป ก็อาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังหรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงตามมาได้ 


 

ออฟฟิศซินโดรม อาการเป็นยังไง ?

 

หลายคนที่เข้าสู่วงจรชีวิตมนุษย์ออฟฟิศ ทำงานเข้าออกตามเวลา ต้องทำงานในลักษณะท่าทางเดิมๆ ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง พร้อมกับไม่มีอุปกรณ์การทำงานและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต้องมีอาการออฟฟิศซินโดรม ถามหากันบ้างแล้วล่ะ และถึงแม้ว่าหลายคนจะไม่ได้เป็นมนุษย์ออฟฟิศ แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นออฟิศซินโดรมได้ ไม่ว่าคุณจะทำงานออฟฟิศ ทำงานโรงงาน เป็นนักวาดรูป เป็นนักกีฬา เป็นเกมเมอร์ ฯลฯ

 

การันตีได้จากสถิติในปี 2564 ที่พบว่า คนไทยกว่า 80% มีอาการออฟฟิศซินโดรม! แม้ว่าจะไม่ได้ทำงานที่ต้องออกแรง หรือยกของหนัก แต่อาการปวดกล้ามเนื้อก็เกิดขึ้นได้ จากพฤติกรรมการนั่งทำงาน และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สั่งสมนานวัน จนกลายเป็นออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน หรือท่านั่งขณะทำงานไม่ถูกต้อง รวมถึงงานที่ต้องยืนนาน ๆ และโดยเฉพาะสาว ๆ ที่ใส่ส้นสูง ล้วนเป็นสาเหตุนำไปสู่อาการของออฟฟิศซินโดรมได้ โดยอาการของ ออฟฟิศซินโดรม ที่สามารถสังเกตได้เบื้องต้น คือ 

 

1 มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง สะโพก ข้อมือ หรือมีอาการปวดแบบกว้าง ๆ ไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้ตรง ๆ และเป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง 

 

2 มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น ปวดตา ตาพร่ามัว ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน หูอื้อ มีอาการชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 

 

3 มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดเป็นพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท

 

4 ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง เช่น ผื่นแพ้บนผิวหนัง คันตามลำตัว คัดจมูก ไอ จาม ไปจนถึงแน่นหน้าอกหายใจลำบาก  



 

วิธีป้องกัน และ วิธีแก้ อออฟิศซินโดรม 

 

เพราะฉะนั้น สำหรับใครที่ยังไม่มีอาการ และไม่อยากให้โรคออฟฟิศซินโดรม เข้าเคาะโต๊ะทักทายเราได้ วิธีเบื้องต้นง่าย ๆ ที่สามารถช่วยแก้ไข และป้องได้ดีก็คือ 

 

1. ปรับพฤติกรรมการทำงาน

เริ่มทีการปรับพฤติกรรมการนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง ไม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือแม้แต่นั่งเล่นโทรศัพท์ ไม่ควรนั่งหลังค่อม หรือนั่งเอนหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อล้า พยายามนั่งหลังตรง หรือนั่งเก้าที่มีพนักพิงระดับพอดี ซึ่งการนั่งหลังตรง ไม่เพียงช่วยลดอาการปวดหลัง แต่ยังทำให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนดี 

รวมถึงการไม่เพ่งหน้าจอนานและอยู่ในที่มืด จากการทำงานต่อเนื่องทั้งวัน สายตาเองก็ต้องการพักผ่อน เช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น ไม่ควรใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกณ์อิเล็กทรอส์นาน หรือใกล้จนเกินไป ควรพักสายตาทุก 1 ชั่วโมง เพราะหากเราเพ่งสายตา กับจอเป็นเวลานานเกินไป จะส่งผลทำให้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตา และปวดศีรษะได้ 

 

2. ยืดเหยียด พักและผ่อนคลายร่างกาย

ในระหว่างการทำงานหรือนั่งนอนอยู่ หากเริ่มรู้สึกว่าปวดเมื่อยตัว หรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั้งตา คอ หลัง ไหล่ แขน หรือข้อมือ ควรหยุดพักการทำงาน แล้วทำการผ่อนคลายร่างกายและสมอง ด้วยการลุกยืน เดินไปมา ยืดเส้นยืดสาย ทำท่ากาบบริหารยืดเส้นง่าย ๆ เดินออกไปสูดอากาศ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน และท่านอนในชีวิตประจำวันด้วย 

 

3. ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้น่าอยู่ 

ปรับอุปกรณ์การทำานให้เหมาะสม ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ แสงไฟ และเครื่องมือในการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึง บรรยากาศในห้องทำงาน ไม่ควรแออัด หรือมืดทึบ ควรโปร่งโล่งหรือมีอากาศถ่ายเท ใช้โต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ แสงไฟในห้องไม่จ้าหรือสลัวเกินไป จะช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญในห้องทำงานควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอก ส่องเข้ามาในห้องโดยตรง เพราะแสงที่สว่างเกินไป จะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึกปวดหรือไม่สบายตาได้ง่าย 

 

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ

ใครที่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมกันซักนิด เพราะวิธีที่ช่วยป้องกันให้เราห่างไกลไรคออฟฟิศซินโดรมได้ดีสุด ๆ นั่นก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจไม่จำเป็นต้องการออกกำลังกายเข้าฟิตเนสจริงจัง แต่สามารถเลือกเป็นการวิ่งเบา ๆ การเล่นโยคะ การว่ายน้ำ หรือการเวิร์คเอาท์ประเภทที่ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเต็มที่ ตามที่เราสะดวกก็ได้เช่นกัน

 

5. รักษาด้วยการแพทย์และวิธีทางเลือก

สำหรับใครที่ป้องกันไม่ทัน เกิดมีอาการออฟฟิศซินโดรมถามหาแล้ว วิธีแก้ โรคออฟฟิศซินโดรม นั้นก็มีด้วยกันหลายระดับ ขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของอาการ  ตามการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการรักษาจะมีตั้งแต่ การรักษาด้วยการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ การใช้ช็อตเวฟ  หรือนวดแผนไทย 

 

ซึ่งใครที่สงสัยว่ากำลงมี อาการ ออฟฟิศซินโดรม ในขั้นเริ่มต้น ควรมาปรึกษาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อหาแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละคน และสามารถทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย และส่งผลกระทบกับร่างกายในอนาคต

 

ลืมไปเลยว่าเคยปวด! คลายทุกจุด ให้ความเจ็บสลายไป ด้วยแพ็กเกจ นวดแก้ออฟฟิศซินโดรม กับ MW Wellness โดยผู้เชี่ยวชาญ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ LINE OA >>> https://lin.ee/v5YzEjv


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook