โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าในปีนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 285 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจำนวนประชากรทั่วโลก และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเป็น 438 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจำนวนประชากรทั่วโลก
ในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์ตั้งแต่ปี 2548 - 2552 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อีกทั้งพบผู้ป่วยที่อายุน้อยลง ๆ
หากโรคยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ก็สามารถอาศัยการควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายได้ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นก็ต้องให้รับประทานยาควบคู่กันไป ส่วนในรายที่ใช้ยาเม็ดแล้วไม่ได้ผลก็ต้องพึ่งยาฉีดอินซูลินเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่หนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง เพราะต้องฉีดเองที่บ้านเป็นประจำทุกวัน
เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานอยู่ที่การควบคุมน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ ก็เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และอายุที่ยืนยาวขึ้นของผู้ป่วยนั่นเอง
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีอาการดังต่อไปนี้
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
กระหายน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำมากจากการปัสสาวะ
อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้
หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น
คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
ขาชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม
การควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ
พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม
รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
ควบคุมน้ำหนัก
งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิควันละ30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์
รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง
ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย
ความดันโลหิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ ความดันโลหิตเกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดแดงไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ความดันจะเพิ่มขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว และลดลงเมื่อหัวใจคลายตัวลง โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบในประชากรส่วนใหญ่ในโลก องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ในปี 2542 ว่าผู้ใดมีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่เมื่อหัวใจบีบ และคลายตัวแต่ความดันยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือด ไม่ลดลงอย่างที่ควรจะเป็นซึ่ง “การมีความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน สร้างความเสียหายแก่หลอดเลือดหลายประการ อาทิ หลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดโป่งพอง อีกทั้งยังอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอีกหลายโรค”
ความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง การควบคุมรักษาความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญในการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ดังกล่าวคือ หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไตวายเรื้อรัง อัมพาต และอัมพฤกษ์
โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่วนมาก กว่าร้อยละ 85 ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน และมักสัมพันธ์กับประวัติในครอบครัว เราเรียกโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มนี้ว่าเป็น Primary หรือ Essential Hypertension
ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตมักสูงขึ้น
เพศ ชายมักพบความดันโลหิตสูงบ่อยกว่าหญิง
พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ผู้ที่บิดา มารดา มีความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากขึ้น
ความอ้วน และขาดการออกกำลังกาย
สภาวะทางอารมณ์ เช่น เครียด โกรธ เจ็บปวด เสียใจ ตื่นเต้น ส่งผลต่อความดันโลหิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถกลับเป็นปกติ เมื่อผ่านพ้นภาวะนั้น ๆ
เชื้อชาติ
อาหาร เช่น เกลือ และส่วนประกอบของเกลือที่อาจนึกไม่ถึง เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงชูรส ผงฟู ก้อนซุปสำเร็จรูปมีรายงานชัดเจนว่าเกลือส่งผล โดยตรงต่อความดันโลหิต
บุหรี่ สุรา และกาแฟ
สมุนไพรบางชนิด เช่น อบเชย
ผลของยา เช่น ฮอร์โมนคุมกำเนิด ยากลุ่ม nonsteroidal anti-inflammation drugs (NSIADs)
ปรับนิสัย เปลี่ยนอาหาร เพื่อรับมือความดัน และเบาหวานได้อย่างมีความสุข
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษา MW Wellness ได้ฟรี!
Line: @mw-wellness
Tel: 096-081-2533, 02-276-5093
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :