MWWellness 7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร 7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

MWWellness 7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค


7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

1. ข้าวโพดม่วง
งานวิจัยจากกลุ่มวิจัยและพัฒนาการ แพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ระบุว่า ข้าวโพดม่วงมีปริมาณ สารประกอบฟีโนลิก (Phenolic Compounds) และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งให้สีม่วงและมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกัน ความผิดปกติของโรคที่เกิดจากความเสื่อม ของระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และช่วยฟื้นฟูการทำงาน ของเส้นประสาทที่เกิดความผิดปกติจาก โรคเบาหวานได้

2. ลูกหม่อน
เดิมทีคนไทยเราปลูกหม่อนไว้เพื่อเก็บใบมาเลี้ยงตัวไหม แต่ปัจจุบันเรายัง นิยมกินผลหม่อนอีกด้วย ผลสุกของหม่อนมีสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวอมหวาน มีปริมาณวิตามินบี6 วิตามินบี1 สูงมาก ทั้งมีสารแอนโทไซยานินและสาร แอนติออกซิแดนต์สูง ที่น่าสนใจมากคือ พบปริมาณสารแอนโทไซยานินในผลหม่อนสูงกว่าผลไม้ ต่างประเทศอย่างเชอร์รี่ แบล็กเคอร์แรนต์ ราสป์เบอร์รี่ประมาณ 10 เท่า และ สูงกว่าแบล็กเบอร์รี่ประมาณ 2 เท่า สารดังกล่าวมีฤทธิ์ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทของผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดได้ ลดโอกาสเสี่ยงอาการเนื้อสมองขาดเลือดและการตายของเซลล์ประสาทโคลิเนอร์จิก (Cholinergic Neuron) ยับยั้งฟรีแรดิคัลซึ่งเป็นตัวทำลายเซลล์สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเพิ่มความจำได้ทั้งในผู้ที่มีสุขภาพ แข็งแรง ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจากการติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง และผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองได้อีกด้วย

3. ใบมะรุม
ผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของไทย สามารถกินได้ทั้งยอดอ่อน และฝัก งานวิจัยของกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า ใบมะรุมมีสารอาหารหลายชนิด ในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับผักผลไม้อื่นๆในปริมาณเท่ากัน เช่น มีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า วิตามินเอสูงกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซี สูงกว่าส้ม 7 เท่า แคลเซียมสูงกว่านมสด 3 เท่า โพแทสเซียมสูงกว่า กล้วย 3 เท่า และมีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ ให้พลังงานต่ำ จึง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใบมะรุมมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันทั้งคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ กำจัดเชื้อโรคที่มากับอาหาร ลดการทําลายเซลล์ตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวาน มีฤทธิ์ปกป้องรังสี ยับยั้งการอักเสบ และขับปัสสาวะ ที่สำคัญ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้อย่างดี

4. ฟักข้าว
เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดีในหลายภูมิภาค คนไทยส่วนใหญ่ มักนิยมกินยอดและลูกดิบของฟักข้าว แต่จากผลวิจัยล่าสุด พบว่า คุณประโยชน์สูงสุดจากผักพื้นบ้านชนิดนี้กลับได้จาก ลูกสุกซึ่งมีเนื้อในสีแดงจัด โดยมีปริมาณสารไลโคปีน (Lycopene) มากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า เบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอต 10 เท่า ที่สำคัญ ฟักข้าวยังมีกรดไขมันสายยาว (Long-chain Fatty Acid) ถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ช่วยให้ร่างกายสามารถ ดูดซึมเบต้าแคโรทีนได้เต็มที่ เนื้อสีแดงสดของฟักข้าวสุกมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ปกป้องเซลล์ตับ ลดโอกาสเกิด ต้อกระจกและภาวะเป็นหมันจากอสุจิไม่แข็งแรงหรือมีอสุจิน้อย รักษาโรคเบาหวาน ชะลอการเสื่ อมจากภาวะกระดูกพรุน ปกป้องหลอดเลือด ลดการอักเสบ กระตุ้นการทํางานของ ระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้

5. ขิง
ในอดีตองค์ความรู้ด้านการแพทย์ แผนไทยใช้ขิงเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ไม่ว่าจะเป็นท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ขับลม หรืออาการคลื่นไส้อาเจียน ขณะที่ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า ขิงมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ระงับความเจ็บปวด ที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการข้ออักเสบ ช่วยลดไขมัน ในเส้นเลือด ป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่มีสาเหตุ จากโรคเบาหวาน ต้านเครียด ช่วยลดอาการล้าและการขาด ออกซิเจนได้ดีขึ้น ลดพิษแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อตับและสมอง นอกจากนี้ยังป้องกันการตายของเซลล์ประสาทซึ่งเป็นผลจาก การกินผงชูรสได้อีกด้ว

6. พริกไทยดำ
จากงานวิจัยพบว่า ในเมล็ดพริกไทยดํามีสารอัลคาลอยด์ชื่อ พิเพอรีน (Piperine) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ช่วยลดอาการปวด ได้ดีกว่ายาแก้ปวดพาราเซตามอลถึง 70 เท่า ลดอาการซึมเศร้า กระตุ้นการเรียนรู้ และเพิ่มความจําได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาช่วย ย่อยอาหาร กำจัดสารพิษตกค้าง ขับเสมหะ แก้ท้องอืด แก้อาการ ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการนอนไม่หลับได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว พริกไทยดำจึงเหมาะแก่การบำรุงสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งเริ่มมีปัญหา เรื่องระบบย่อยอาหาร ระบบประสาทและสมอง ตรงกับองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ที่นิยมใช้พริกไทยดำเข้าตำรับยาอายุวัฒนะ

7. สะเดา
สะเดาเป็นผักพื้นบ้านซึ่งมีรสขมเป็นเอกลักษณ์ ขึ้นชื่อว่าเป็น อาหารประจำฤดูหนาว นิยมนำดอกมาลวกกิน หากพ้นฤดูหนาวจะมี เฉพาะยอดอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริกหรือน้ำปลาหวานได้เช่นกัน นักวิจัยพบสารออกฤทธิ์ในสะเดาหลายชนิด เช่น ไตรเตอร์- พีนอยด์(Triterpenoid) เคอร์เซติน (Quercetin) แคมป์เฟอรอล (Kaempferol) รูติน (Rutin) ฯลฯ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ และชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษา โรคเบาหวาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต และสามารถลด อาการอักเสบได้ในระดับเซลล์

ที่มา : mgronline


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook