ดังนั้น การกินวิตามินชนิดเม็ดเพื่อเสริมร่างกายก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้
งานวิจัยวิตามินและแร่ธาตุกวา 40 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ได้รับวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกจากอาหารต่ำกว่าระดับที่ควรได้รับ มีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ส่วนผู้หญิงที่ตั้งท้องหากมีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำ จะเสี่ยงต่อลูกในท้องทำให้เกิดอาการสมองพิการได้ ผู้ที่ได้รับวิตามินดีไม่พอก็ทำให้เนื้อกระดูกบางและเปราะ นอกจากนี้การหากขาดวิตามินซีและอี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังได้
ควรกินวิตามินเสริม ชนิดรวมเม็ดเดียวเลยดีหรือไม่
วิตามินรวมส่วนใหญ่ มีปริมาณวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอที่จะช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง ป้องกันหัวใจวาย มะเร็งลำไส้ใหญ่ เสริมสุขภาพสมอง และเพิ่มภูมิต้านทานได้ เพราะแม้จะวางแผนการกินดีอย่างไร ก็ยากที่จะกินอาหารให้ได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการมากกว่า 40 ชนิดได้สม่ำเสมอในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ แต่แม้การเสริมวิตามินรวมจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่บางยี่ห้ออาจจะมีองค์ประกอบวิตามินบางตัวมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะถ้ามีวิตามินที่ละลายในไขมัน (เอ ดี อี เค) เกินขนาด เพราะร่างกายจะกำจัดส่วนเกินของวิตามินออกจากร่างกายได้ยาก
กินวิตามินเสริมมากไปอาจเกิดโทษมากกว่าประโยชน์
การเสริมเกินขนาดมักเกิดกับผู้ที่เสริมวิตามินหลายขนาน เราไม่ควรกินวิตามินรวมเกินวันละ 1 เม็ด เพราะเสี่ยงได้รับวิตามินชนิดอื่นมากเกินไปและกลายเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอเป็นพิษ ทำให้ม้ามและตับโต กินวิตามินดีมากไปจะเป็นพิษทำลายไต วิตามินบี 6 เป็นวิตามินอีกตัวที่ควรระวัง เพราะถ้าได้รับเกินขนาด อาจเป็นอันตรายต่อระบบประสาท
ดังนั้น การกินวิตามินเสริมควรเลือกชนิดที่มีวิตามินเอในรูปเรตินอลไม่เกิน 3,000 ไอยู เลือกวิตามินเอที่มาจากเบต้าแคโรทีนเป็นหลัก นอกจากนี้ควรดูปริมาณธาตุเหล็กด้วย สำหรับผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนไม่จำเป็นต้องเลือกธาตุเหล็กในปริมาณ 100% เลือกแค่ 50% ก็พอแล้ว เพราะถ้าได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายสะสมธาตุเหล็กเกิน ก่อให้เกิดโรคเลือดและเป็นอันตรายต่ออวัยวะบางส่วนได้
หากคิดว่าตัวเองต้องเสริมวิตามินอื่นๆ เพิ่ม ควรเลือกเสริมเป็นชนิดไป เช่น ต้องการเพิ่มแคลเซียม อาจเลือกแคลเซียมที่มีวิตามินดีรวมอยู่ แต่ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็กเพราะ ทั้งสองตัวจะลดการดูดซึมกันและกัน
กินวิตามินเสริมมื้อไหนดี
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้กินหลังจากกินอาหารเสร็จ และควรเป็นมื้อใหญ่ที่สุดของวัน เพื่อการดูดซึมมากที่สุดและลดอาการอาหารไม่ย่อย
1. ตรวจวันหมดอายุบนฉลาก และจะต้องมีเครื่องหมาย USP (United States Pharmacopeia) ด้วยซึ่งประกันคุณภาพได้ว่ามีมาตรฐานสูง โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายควบคุมฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คล้ายคลึงกับฉลากโภชนาการเพื่อระบุข้อมูลตามความเป็นจริง และเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้บริโภคมีแนวทางในการกิน หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
2. อ่านฉลากและเลือกชนิดที่มีวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณ 100% ขอปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน
3. เก็บวิตามินไว้ในที่แห้งและเย็น ความชื้นจะทำให้วิตามินเสียคุณภาพได้
CR : ข้อมูลจากหนังสือ กินป้องกันโรค เขียนโดย ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาญ
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :