ในร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยฮอร์โมนหลากหลายชนิดซึ่งทำหน้าที่เสริมสร้างการเติบโต และช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล ก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา
ฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตขึ้นจากรังไข่ของเพศหญิง (ปริมาณเอสโตรเจนในเพศชายจะมีน้อยกว่าเพศหญิงมาก) มีหน้าที่ช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานสื่อสารได้อย่างสอดคล้องกัน ช่วยพัฒนา และควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงตลอดจนลักษณะทางเพศภายนอก อีกทั้งยังส่งผลต่ออารมณ์ ฉะนั้น หากปริมาณเอสโตรเจนในร่างกายมีมากหรือน้อยเกินไป ย่อมส่งผลต่อสุขภาพ เช่น สาเหตุของการผลิตเอสโตรเจนที่มากเกินไป มีหลายปัจจัยจากหลายสาเหตุ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความเครียด การใช้ยามากเกินไป รวมไปถึงการทานอาหารที่มีสารเคมี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีได้อีกด้วย
ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ผลกระทบที่ตามมาก็คือ สาวๆ อาจมีภาวะอารมณ์แปรปรวนง่าย เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ขี้หลงขี้ลืม ประจำเดือนมาไม่ปกติ เหนื่อยง่าย ผมร่วง น้ำหนักขึ้น ไปจนถึงโรคกระดูกพรุน แต่ภาวะเหล่านี้ก็สามารถแก้ไข หรือรักษาบรรเทาได้ด้วย 4 วิธี ดังนี้
1.ลดปริมาณแอลกอฮอล์
โดยปกติ ตับจะทำหน้าที่ช่วยในการเผาผลาญฮอร์โมนในร่างกายรวมไปถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน หากคุณผู้หญิงดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้กระบวนการเผาผลาญฮอร์โมนในตับเกิดความผิดปกติ ทำให้ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนตกค้างมากเกินความจำเป็น
2.เลือกทานอาหารออร์แกนิค
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค (organic) หมายถึงผัก ผลไม้ หรืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีธรรมชาติ ปลอดสารพิษ และสารเคมี แม้จะมีราคาสูงกว่าผักผลไม้ หรืออาหารทั่วไป แต่ก็สามารถทำให้คุณผู้หญิงมั่นใจได้ว่าในร่างกายจะไม่มีสารเคมีตกค้าง เนื่องจากสารพิษ และสารเคมีเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่า การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุล หรือลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนให้เป็นปกติได้มากถึง 7% เมื่อคุณออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะทำให้น้ำหนัก และปริมาณไขมันลดลง ผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดน้อยลง และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
4.โรสแมร์รี่
น้ำมันหอมระเหยจากโรสแมร์รี่มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เปรียบเหมือนสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ คลายอาการปวดกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม อีกทั้งยังมีงานวิจัยรองรับว่าโรสแมร์รี่สามารถช่วยต่อต้านฤทธิ์ และผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้เป็นอย่างดี
5.เมล็ดแฟลกซ์
การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์มีส่วนช่วยในการต่อต้านผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งท่อปัสสาวะ และมะเร็งรังไข่
Source: www.davidwolfe.com / www.honestdocs.co
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :