อาการของมะเร็งปอด
– ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือด เหนื่อยหอบ
– อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ หากมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะที่อื่น
* หากไอต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ
การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะถูกดูดเข้าสู่ทางเดินหายใจ ไปจนถึงถุงลมปอด ซึ่งนิโคติน และสารเคมีอื่นๆ ในควันบุหรี่จะถูกดูดซึมสู่เส้นเลือดฝอยที่บุตามถุงลม จากนั้นนิโคตินจะถูกพาไปตามกระแสเลือดไปสู่สมอง ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ทำให้ผู้สูบติดบุหรี่
อาการของถุงลมโป่งพอง
– แน่นหน้าอก
– เหนื่อย หอบ เพราะมีการเสื่อมลงของปอดอย่างรวดเร็ว
ในผู้ที่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นวัณโรค วัณโรคจะรุนแรง ลุกลามเร็ว และรักษายากขึ้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 – 4 เท่า
อาการของโรควัณโรค
– ไอเกิน 2 สัปดาห์
– ไอเสมหะมีเลือด
– น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
– เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
– เบื่ออาหาร
– มีไข้ต่ำๆ เหงื่อออกกลางคืน
ส่วนคนที่เป็นหืด หากสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ อาหารจะรุนแรง และควบคุมยากขึ้น ปอดจะเสื่อมเร็วขึ้น ร่างกายตอบสนองต่อการรักษาน้อย และต้องใช้ยามากขึ้น
อาการหืดจับเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในคนที่เป็นหืด เมื่อลมหายใจมีสิ่งที่แพ้หรือระคายเคืองต่อหลอดลม ผิวหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ กล้ามเนื้อรอบหลอดลมหดตัวทำให้รูหลอดลมเล็กลง ส่งผลให้ลมหายใจเข้าออกลำบากเกิดเป็นอาการหืดจับขึ้น
บุหรี่ทุกมวนที่สูบทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย การสูบบุหรี่ทำลายปอดก็จะสะสมขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น วิธีการรักษาปอดที่ดีที่สุด คือ เลิกสูบบุหรี่ และพยายามหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองและสาม เพราะทำให้เกิดอาการจับหืดได้ด้วย
ข้อมูลจาก : เรื่องโดย เทียนทิพย์ เดียวกี่ Team Content www.thaihealth.or.th
ข้อมูลจาก แผ่นพับ เรื่อง 4 โรคร้ายทำลายปอดคุณ โดย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สสส. และ จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพฉบับ สร้างสุข ปีที่ 15 ฉบับที่ 211 พฤษภาคม 2562
ให้สัมภาษณ์โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :