MWWellness โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) อันตราย ต้องรู้ไว้ ป้องกันได้ถูกวิธี

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) อันตราย ต้องรู้ไว้ ป้องกันได้ถูกวิธี

MWWellness ปัจจุบันนี้ ก็มี โรคระบาดต่าง ๆ มากมาย ที่ส่งผล ต่อการใช้ชีวิต ในปัจจุบันของเรา รวมไปถึง โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) ที่ถือว่า อันตราย เราต้องรู้ไว้ เพื่อป้องกัน ได้อย่างถูกวิธี และเพื่อ เป็นการป้องกัน ไม่ให้โรคร้าย ๆ นี้ แพร่ไปสู่คนอื่น ๆ อีกด้วย

โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) อันตราย ต้องรู้ไว้ ป้องกันได้ถูกวิธี

โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) อันตราย ต้องรู้ไว้ ป้องกันได้ถูกวิธี


ปัจจุบันนี้ ก็มี โรคระบาดต่าง ๆ มากมาย ที่ส่งผล ต่อการใช้ชีวิต ในปัจจุบันของเรา รวมไปถึง โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) ที่ถือว่า อันตราย เราต้องรู้ไว้ เพื่อป้องกัน ได้อย่างถูกวิธี และเพื่อ เป็นการป้องกัน ไม่ให้โรคร้าย ๆ นี้ แพร่ไปสู่คนอื่น ๆ อีกด้วย

 

โรค ฝีดาษลิง ( Monkeypox ) นั้นคืออะไร ?

โรคไข้ฝีดาษลิง หรือว่า ไข้ทรพิษลิง ( Monkeypox ) นั้นเกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กับไวรัสโรคไข้ทรพิษ ( Smallpox ) โดยได้พบเชื้อ ในสัตว์ตระกูลลิง รวมถึงสัตว์ฟันแทะ อาทิ หนู, กระรอก, กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ เป็นครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาอย่างโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มา ของชื่อโรค ว่า “ฝีดาษลิง” นั่นเอง

 

โรคฝีดาษลิงนั้น แพร่ระบาดอยู่ทั่ว ๆ ไป ในทวีปแอฟริกา จนนั่นกลายเป็น โรคประจำถิ่น ( Endemic disease ) ที่พบอัตราการเสียชีวิต 1-10% ทั้งนี้ในการเสียชีวิต ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลัก ๆ ของ โรคฝีดาษลิง นั้นแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ

- สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราของการเสียชีวิต 10%

- สายพันธุ์ West African พบอัตราของการเสียชีวิต 1%

 

“ฝีดาษลิง” แตกต่างจาก “ไข้ฝีดาษ - ไข้ทรพิษ” อย่างไร ?

โรคฝีดาษ หรือว่า ไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น ที่กินระยะเวลานานถึง 2-4 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นไวรัส Othopoxvirus ในกลุ่มเดียวกัน แต่ถือเป็นคนละชนิดกัน โดยที่ลักษณะการติดต่อ รวมถึงความรุนแรงของโรค ก็พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

 

ซึ่งเชื้อไวรัส ของโรคไข้ทรพิษ นั้นจะอยู่ในคนเป็นหลัก โดยที่จะมีการติดต่อ จากคนสู่คนเท่านั้น โดยการติดต่อผ่านการหายใจ ซึ่งติดต่อกันง่ายมาก ๆ โดยผ่านละออง ฝอยเล็ก ๆ ก็แพร่กระจายได้อย่างเป็นวงกว้าง โดยที่พบว่า ผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษ นั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30% แตกต่างจากโรคไข้ฝีดาษลิง ที่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัส (Contact) มีหลักฐานยืนยันชัดว่า โรคไข้ทรพิษ นั้นเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาด มาอย่างยาวนาน นานมากกว่า 1,000 ปี แต่ปัจจุบันนี้ ก็ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษแล้ว เนื่องจากการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ โดยประเทศไทยนั้นได้ยุติการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ มาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งปัจจุบัน ก็ได้มีการเก็บตัวอย่างเชื้อไข้ทรพิษ เอาไว้สำหรับเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น

Monkeypox-is-dangerous-you-need-to-know-how-to-prevent-it

โรคฝีดาษลิง ต่างจากโรคฝีดาษทั่ว ๆ ไป โดยมีอาการ ที่สามารถสังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ประมาณ 12  วัน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่

 

1. ระยะก่อนออกผื่น ( Invasion Phase ) 

- เริ่มด้วยการมีไข้ ปวดหัว, ปวดตัว, ปวดหลัง, อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต

- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ชัดเจน ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่น ๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา อาทิ โรคอีสุกอีใส (Chickenpox), โรคหัด (Measles)

- อาจมีอาการเกี่ยวกับ ในระบบทางเดินอาหาร อาการท้องเสีย อาเจียน และอาการในทางระบบหายใจ อาทิ อาการเจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย

 

2. ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)

- หลังจากที่มีไข้ประมาณ 1-3 วัน ก็จะเริ่มมีอาการ ที่แสดงออกทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยที่เป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุด ๆ มาเป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้น ก็จะแห้งออกหรือว่าแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ

- โดยตุ่มมักจะหนาแน่น ในที่บริเวณใบหน้า และแขน ขา มากกว่าบริเวณร่างกาย

- ในระยะออกผื่น ซึ่งผื่นจะกลายเป็น สะเก็ดคลุม แห้งและก็หลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

- โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว อาการป่วย นั้นจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่สามารถหาย จากโรคนี้เองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วย ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน อาทิ ปอดบวม หรือว่าเสียชีวิตได้

 

วิธีในการป้องกัน โรคฝีดาษลิง

- หลีกเลี่ยงการสัมผัส กับสัตว์ที่ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยตรง โดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ

- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือว่าเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือก บาดแผล น้ำเหลืองของสัตว์

- ใส่หน้ากากอนามัย หากต้องเดินทางไปยังสถานที่ ที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือว่า สงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกัน ในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

5 พฤติกรรมเพิ่มโอกาสติดเชื้อ HPV รู้ก่อน เลี่ยงได้ ห่างไกลโรค

ไข้หวัดใหญ่อันตรายแต่ป้องกันได้


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook