ทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอก ใครๆก็มักนึกถึง “โรคหัวใจ” เป็นโรคอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอาการเจ็บหน้าอก ที่มีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งการวินิจฉัยโรคหัวใจต้องพิจารณาอาการอื่นร่วม เช่น อาการใจสั่น หน้ามืด เวียนหัว เป็นลม รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน เป็นต้น
อาการเจ็บหน้าอกในโรคหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ซึ่งเมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกลักษณะที่กล่าวไป ควรปฏิบัติตัวดังนี้
1. หยุดออกแรงโดยทันที
หากทำกิจกรรมใดๆ หรือออกกำลังกายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมต่างๆต้องหยุดทันที แล้วนั่งหรือนอนลง ห้ามฝืนออกแรงต่อไปเด็ดขาด ข้อนี้สำคัญมากเพราะยิ่งออกแรงจะทำให้หัวใจจะยิ่งทำงานหนักขึ้น
2. หายใจเพื่อผ่อนคลาย
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วผ่อนลมหายใจแบบเป่าลมออกทางปากช้าๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้งจนรู้สึกผ่อนคลาย
3. ดื่มน้ำ
จากผลพิสูจน์ทางการแพทย์บ่อยครั้งมากที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเป็นอัมพาตเฉียบพลันเกิดขึ้น เพราะร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำจนรู้สึกว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
4. เรียกรถพยาบาล
หากผ่านไป 20 นาทีแล้ว อาการเจ็บแน่นหน้าอกยังไม่ดีขึ้นให้สันนิษฐานว่าเข้าสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอย่างแน่นอน ให้เรียกรถพยาบาล (โทร 1669) ทันที แต่ในระหว่างรอรถพยาบาล ถ้ามียาแอสไพริน ให้เคี้ยวยาดังกล่าวแล้วกลืน
แต่การเจ็บหน้าอกด้านซ้ายบ่อย อาจไม่ใช่โรคหัวใจเสมอไป ถึงแม้ว่ามีอาการเจ็บหน้าอกแบบแน่นๆ เหมือนมีอะไรมาทับบริเวณหน้าอกด้านซ้าย อาจจะมีอาการร้าวไปที่แขนร่วมด้วย ถึงอาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการที่มักจะเจอในโรคหัวใจ แต่ก็ไม่ได้บ่งชี้ว่านั่นเป็นอาการของโรคหัวใจ เพราะบางคนมีอาการเจ็บแบบจุกเสียดเหมือนอาหารไม่ย่อย เจ็บลิ้นปี่ อาจจะยืนยันไม่ได้ว่าเป็นโรคหัวใจ เพราะบริเวณหน้าอกด้านซ้ายนอกจากจะเป็นตำแหน่งของหัวใจแล้ว ยังมีกระดูกซี่โครงอ่อน และเส้นประสาทอยู่จำนวนไม่น้อย ถ้าเราทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไป หรือทรงตัวผิดท่าก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแปล๊บๆ จี๊ดๆ ขึ้นมาได้เหมือนกัน
ส่วนการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อนที่อาจจะมีอาการคล้ายอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยอาการปวดจะมีตั้งแต่ปวดบีบๆ หรือบิดที่หน้าอก ร้อนหน้าอก โดยมักเป็นที่กลางอก และอาจมีร้าวไปที่หลัง คอ กราม หรือแขนได้ อาการปวดมักแย่ลงหลังมื้ออาหาร บางครั้งอาจปวดมากช่วงกลางคืน จนทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาในระหว่างที่นอนอยู่ โดยสรุปอาการหลักๆของโรคกรดไหลย้อนได้ดังนี้
อาการโรคกรดไหลย้อน
การลดความเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน สามารถทำได้ดังนี้
อาการเจ็บหน้าอกถือเป็นอาการสำคัญที่บ่งบอกถึงความผิดปกติสำคัญของสุขภาพ เราควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นประจำ หากต้องการปรึกษาปัญหาสุขภาพหรือต้องการตรวจสุขภาพด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ด้วยโปรแกรม EStech ที่ MW wellness ให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่ และแพทย์ประจำที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพค่ะ
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :