ปวดหัว ( Headache ) เป็นอาการตอบสนอง ทางร่างกายต่อสิ่งเร้า ที่เกิดกับร่างกายของเรา ถึงแม้เราจะรู้สึกเหมือนกันว่า ปวดหัวก็คือปวดหัว แต่ความจริงแล้ว อาการปวดนั้นแตกต่างกันไป ทั้งความรู้สึก และความรุนแรง รวมถึงตำแหน่ง ที่เกิดอาการปวดด้วย ฉะนั้น การจะรับมือกับ อาการปวดหัว แต่ละแบบ เราควรมาทำความรู้จัก กับความรู้สึกของการปวด และตำแหน่งที่ปวดกันก่อน เพราะอาการปวดหัวแต่ละแบบนั้น บ่งบอกสาเหตุ และโรคที่แตกต่างกันไปค่ะ
1 ปวดหัว ข้างเดียว
ลักษณะของ อาการปวดหัว ( Headache ) แบบนี้ก็คือ มักจะมีอาการปวด เพียงด้านเดียวของศีรษะ อาจมีการย้ายข้างได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะปวด เพียงข้างเดียว โดยมักจะปวดบริเวณขมับ ความรู้สึกจะปวดตุบ ๆ ตามจังหวะชีพจร มักจะปวดมากขึ้น เมื่อขยับร่างกาย และมักจะมีอาการ รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งจะเกิดอาการปวด ที่ด้านหลังดวงตา และศีรษะร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการไวต่อแสง และเสียง และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เป็นบางครั้ง
อาการปวดหัว ( Headache ) แบบนี้ เป็นอาการปวดเนื่องมาจาก โรคไมเกรน ( Migraine ) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรค ที่สร้างความทรมาน ให้ผู้ป่วยทั่วโลก มากกว่าร้อยละ 10 ในเมืองไทยก็มีสถิติ ของผู้ป่วยไมเกรน ( Migraine ) มากกว่าร้อยละ 17 โดยส่วนใหญ่ เป็นกับผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย
ระยะเวลา ของอาการปวด นั้นอาจแตกต่างกันไป ในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ยาแก้ปวดธรรมดา แบบพาราเซตามอล มักใช้ไม่ได้ผลกับการ ปวดหัวแบบไมเกรน ( Migraine ) ต้องใช้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้น เพราะฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสั่งยาให้จะดีกว่า อีกอย่างหนึ่งก็คือ หากมีอาการปวดหัว จากไมเกรน ( Migraine ) บ่อย ๆ แพทย์จะสามารถ แนะนำ ให้กินยาป้องกันได้ด้วยค่ะ
2 ปวดหัว ( Headache ) ตื้อ ๆ หนัก ๆ
เคยเป็นกันมั้ยปวดหัว ( Headache ) แบบ อาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ และท้ายทอย อาการปวดจะรู้สึกเท่า ๆ กันทั้งสองด้านของศีรษะ โดยอาจจะเริ่มต้นที่ ด้านหลังของศีรษะ และคอ แล้วเรื่อยลงไปที่ไหล่ หรืออาจปวดจากไหล่ ขึ้นมาหาศีรษะก็เป็นได้
อาการปวดนี้ อาจจะต่อเนื่องกัน อยู่นานเพียงครึ่งชม. จนถึงหลายวัน บางคนอาจปวดนาน ติดต่อกันทุกวัน เป็นสัปดาห์ หรืออาจเป็นแรมเดือน หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้ โดยอาการปวดมักจะคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้น จากที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นความรู้สึก ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ พอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สบาย แต่จะไม่มีไข้ ไม่มีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่าลาย ไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง หรือมีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย โดยอาจจะปวดตั้งแต่ หลังตื่นนอนตอนเช้า หรือไปปวดเอาตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ หรือหลังจากต้อง คร่ำเคร่งทำงานหนัก หรือมีเรื่องวิตกกังวล
หากนี่คืออาการปวด ที่คุณกำลังเชิญอยู่ คุณอาจกำลังเจอ อาการปวดหัวเนื่องจาก ความเครียดเข้าให้แล้วก็ได้ครับ
อาการปวดหัว ( Headache ) จากความเครียด เป็นหนึ่งใน อาการปวดหัว ( Headache ) ที่พบบ่อยที่สุด ในกลุ่มคนวัยทำงาน ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่สาเหตุจากการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อ บริเวณศีรษะ ลำคอ และใบหน้า ซึ่งอาจถูกกระตุ้น ด้วยสิ่งเร้าหลาย รวมทั้งการเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อไหล่ คอ จากท่านั่ง ความเครียด หรือการขาดการนอนหลับ
หากคุณมีอาการปวด ( Headache ) หัวแบบนี้ ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยการ กินยาแก้ปวดแบบธรรมดา แต่ถ้าปวดหัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ การปรึกษาแพทย์ จะช่วยแนะนำ ความรู้ที่ถูกต้อง ในการดูแลตัวเอง และการปฏิบัติตัว ซึ่งเทคโนโลยีการแพทย์แบบ Telemedicine สามารถช่วยคุณ ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถพบแพทย์ ได้ในทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลา เดินทางไปพบแพทย์ เหมาะอย่างยิ่งกับชีวิต ของคนทำงาน อย่างเรา ๆ ค่ะ
3 ปวดหัว หรือปวดฟัน
อาจมีบางครั้ง ที่คุณรู้สึกปวดร้าว ที่แนวกราม และขากรรไกร จากนั้น ก็ลามไปปวดที่ศีรษะ ทั้งสองข้าง เป็นอาการปวด เหมือนมีอะไรมา รัดตรึงที่หัว หรือปวดตื้อ ๆ หรืออาจมีอาการ ปวดรอบ ๆ ลูกตาด้วย
อาจฟังดูไม่น่าเชื่อ ที่อาการปวดหัวแบบนี้ สาเหตุที่แท้จริงแล้ว ไม่ได้มาจากหัว แต่มาจากปัญหา เรื่องสุขภาพฟันของเรา เนื่องมาจากฟัน ข้อต่อกรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว กล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ มีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน จึงมีส่วนชักนำ ทำให้เราปวดหัวได้
โดยถ้าหากเรามีปัญหา เรื่องการสบฟัน ที่ผิดปกติ เช่น มีฟันเก ฟันล้ม ฟันถูกถอนไป มีการเคี้ยวอาหาร ข้างเดียวไม่สมดุล การทำงานของกล้ามเนื้อ ก็พลอยไม่สมดุลไปด้วย เพราะทำงานหนัก ไปข้างหนึ่ง โดยไม่มีโอกาสพัก ทำงานตลอดเวลา ทำให้มันมีการสะสม ของการดึงรั้งอย่างมาก จนในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นการ เจ็บปวดที่ศีรษะแทน
อาการปวดแบบนี้ เรียกว่าเป็น อาการปวดแบบส่งต่อ ( referred pain ) นั่นคือ ต้นตอการปวด อยู่ที่หนึ่ง แต่จะไปรู้สึก มีอาการปวด อีกที่หนึ่ง
เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหา จึงไม่ใช่แค่การกินยาแก้ปวด แต่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ซึ่งหากอาการ ปวดหัวของคุณ มาจากปัญหาเรื่องฟัน จะได้ปรึกษาทันตแพย์ เพื่อตรวจภายในช่องปาก และทำการรักษาต่อไป
4 ปวดหน่วง ๆ ที่หน้าผาก และกระบอกตา
ถ้าคุณกำลังรู้สึก ถึงอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ๆ บริเวณหน้าผาก ร้อนผ่าว ๆ ที่กระบอกตา รวมถึงโหนกแก้ม ในบางรายอาจรู้สึก คล้ายปวดฟันซึ่บน โดยอาจปวดเพียงข้างเดียว หรือปวดทั้งสองข้างก็ได้ บางครั้งอาจมีอาการ มึนศีรษะร่วมกับอาการปวด และอาการปวด มักจะเป็นมากขึ้น ในช่วงเช้า หรือบ่าย และเวลาก้มศีรษะ หรือเปลี่ยนท่า
อาการปวด ในลักษณะนี้ เมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างเช่นอาการ เป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหลนานต่อเนื่อง ไอติดต่อกัน ลมหายใจ มีกลิ่นเหม็น ก็สันนิษฐานได้ว่านั่น ไม่ใช่แค่อาการปวดหัว ธรรมดา ๆ แต่คุณอาจเจอกับอาการ ไซนัสอักเสบ เข้าให้แล้วค่ะ
ไซนัส ( SINUS ) ก็คือโพรงอากาศที่อยู่รอบ ๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้าย และขวา มีหน้าที่ให้ความอบอุ่น และความชื้นแก่อากาศ ที่หายใจเข้าไป ในทางเดินหายใจ ช่วยปรับเสียงพูด ช่วยในการรับรู้กลิ่น และสร้างเมือก เพื่อให้ความชื้น และชะล้างโพรงจมูก ตามปกติทางเชื่อมต่อนี้ จะเปิดโล่ง และเมือก หรือน้ำมูลใส ๆ ที่มีการสร้างอยู่ในไซนัส ก็สามารถไหลระบาย ลงสู่โพรงจมูกได้
แต่ถ้าหากทางเชื่อม เกิดการอุดกั้นขึ้นมาด้วย สาเหตุใดก็ตาม เมือกที่ผลิตในไซนัส ไม่สามารถออกมาได้ ก็จะทำให้เรามีอาการปวด บริเวณหน้าผาก หัวคิ้ว ระหว่างตาทั้งสองข้าง หรือบริเวณแก้ม ถ้าไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้องเพียงพอ รูเปิดระหว่างช่องจมูก และไซนัสมีการตีบตัน มานานจนเรื้อรัง การบวมของเยื่อบุ อาจจะเปลี่ยนแปลง เป็นริดสีดวงจมูก หรือมีการอักเสบติดเชื้อเป็นหนองในไซนัสได้
ไซนัสอักเสบบางชนิด รักษาให้หายขาดได้ บางชนิดอาจรักษาหาย แต่ก็มีโอกาสสูง ที่จะกลับมาเป็นใหม่ ทางที่ดีที่สุดก็คือควร ปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
เพราะฉะนั้นถ้าคุณ รู้สึกปวดหัวในแบบที่ว่านี้ อย่าเพิ่งคว้ายาแก้ปวด มากินประทังไปวัน ๆ การปรึกษาแพทย์ จะช่วยคุณได้ดีที่สุด โดยหากยังไม่แน่ใจ ว่าอาการปวดของตัวเอง จะเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุใด ๆ การได้ปรึกษาแพทย์โดยตรง จะช่วยให้คำแนะนำ ได้อย่างถูกต้อง และตรงจุด คราวนี้ ก็ไม่ต้องทนกับอาการปวด แบบไม่รู้สาเหตุ และไม่ต้องกินยาแก้ปวด แบบผิดวิธีกันอีกต่อไปแล้วค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :