MWWellness ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร

MWWellness อาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกายเรามาก เพราะร่างกายเราต้องการสารอาหารในทุก ๆ วันอยู่แล้ว แต่สำหรับการกินข้าวไม่ตรงเวลา บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน

ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร

ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร


ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร

อาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกายเรามาก เพราะร่างกายเราต้องการสารอาหารในทุก ๆ วันอยู่แล้ว แต่สำหรับการกินข้าวไม่ตรงเวลา บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน ว่าการกินมื้อกลางวันรวบมื้อเช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหรือไม่

 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร ( gastritis แกซไทรซิส ) มีสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ส่วนหนึ่งมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง คือ เชื้อเอชไพโลไร H. Pylori ( Helicobacter Pylori ) เป็นเชื้อที่จะเกาะเกี่ยวอยู่ กับเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารของเรา ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้ สามารถผลิตด่างขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง และ แทรกอยู่ระหว่างช่องเซลล์ ของผิวเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะผู้ติดเชื้อนานนับ 10 ปี โดยอาจไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้นเลย

 

เชื้อแบคทีเรียนี้ การที่มันแทรกตัว อยู่ในกระเพาะอาหารเรานั้น มันเป็นส่วนหนึ่ง ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับกระเพาะอาหาร และ อวัยวะอื่น ๆ ในระบบทางเดินอาหารด้วย ตั้งแต่ โรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง , มะเร็งในหลอดอาหาร , มะเร็งในกระเพาะอาหาร , รวมไปถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดอีกด้วย

 

เชื้อเอชไพโลไร H. Pylori เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

เชื้อเอชไพโลไร H. Pylori ( Helicobacter Pylori ) สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ จากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

– รับประทานอาหารดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ หรือของหมักดอง รวมถึงผักสดเป็นประจำ

– ดื่มน้ำไม่สะอาด

– อุปกรณ์ประกอบอาหารไม่สะอาด หรือ ถูกสุขลักษณะ

– อาศัย หรือ รับประทานอาหารกับผู้ที่ติดเชื้อนี้ โดยเชื้อเอชไพโลไร สามารถติดต่อทางน้ำลาย และ สารคัดหลั่งได้

 

น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร กัดเยื่อบุผนังจนเป็นแผลได้ไหม

น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเรา ไม่สามารถกัดกระเพาะอาหารได้ เนื่องจากกระเพาะอาหาร มีเมือกเคลือบปกป้องไว้อยู่ ทำให้กระเพาะอาหาร ไม่สามารถโดนกัดด้วยน้ำย่อยได้

 

ทำไมโรคกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องได้

โดยปกติแล้ว อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ก็จะมาจากการที่เชื้อแบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่บริเวณเยื่อบุอาหาร และ เมื่อมีจำนวนมากขึ้น มันอาจกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังได้ มีส่วนที่ทำให้กระเพาะอาหาร หลั่งกรดมากขึ้นกว่าปกติ เมื่อกระเพาะอักเสบเรื้อรังนาน ผิวกระเพาะอาหารเริ่มฝ่อ ความแข็งแรงของผิวเยื่อบุลดลง ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หรือ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือ ในลำไส้เล็ก จนทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

ในผู้ที่มีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร มักพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารมากถึง 90 % เลย

 

 ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะจะมีอาการสำคัญดังนี้

–     ปวด แสบ หรือ จุกแน่นหน้าท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องบริเวรช่วงบน อาการนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาท้องร้อง หรือ หิว แต่อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่รุ่นแรงมาก สามารถทนปวดได้

–     ในบางคน มีอาการปวดหลัง จากรับประทานอาหาร

–     อาการปวดแน่นท้องดังกล่าว สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วย ยาลดกรด หรือ ทานอาหาร

–     อาการปวดท้องที่เกิดขึ้น จะมีอาการที่เป็น ๆ หาย ๆ เป็นระยะ ๆ โดยอาการดังกล่าวจะเว้นช่วงค่อนข้างนาน แล้วกลับมาปวดใหม่ อาทิ ปวด 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น อีกประมาณหลายเดือน ก็กลับมาปวดใหม่

–     ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว

–     มีอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

–     ถึงจะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพทั่วไปยังไม่ทรุดโทรม

อย่างไรก็ตาม อาการของโรคอาจจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคเลยก็ได้ เช่น บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพาะอาหาร และ ลำไส้

 

อาการแทรกซ้อนของโรคกระเพาะ

แผลในกระเพาะ , โรคกระเพาะ , โรคกระเพาะอาหาร , มะเร็งกระเพาะอาหาร , กระเพาะอาหารอักเสบ

–     อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวเป็นสีดำ หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อันเนื่องมาจากเลือดออก จากแผลในกระเพาะอาหาร

–     อาการปวดท้องช่วงบนแบบเฉียบพลัน หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก อันเนื่องมาจากกระเพาะอาหารทะลุ

–     อาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว อันเนื่องมาจากกระเพาะอาหารอุดตัน

หากมีอาการข้างต้น ต้องรีบพบแพทย์ เพราะอาจจะถึงแก่ชีวิตได้

 

อาการของ โรคกระเพาะอาหาร

ผู้ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร มักไม่แสดงอาการ แต่จะพบแพทย์เมื่อมีอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เช่น

– ปวดท้อง

– แสบท้อง

– แน่นเฟ้อ

– รับประทานอาหารแล้วจุก อิ่มแน่น

– บางรายอาจคลื่นไส้ อาเจียน

 

วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหาร

หากมีอาการปวดท้องดังกล่าวแล้ว การที่เรากินยาแล้ว แต่ยังคงมีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ ตลอด ต้องพบแพทย์ ท่านก็อาจพิจารณาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และ หากพบเชื้อ แพทย์อาจสั่งยาฆ่าเชื้อให้กิน หากกินยาตามที่หมอสั่ง จนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ออกไปได้ ก็จะความเสี่ยงต่ำมาก ที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง การพบแพทย์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด

 

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

อาการกรดไหลย้อนอันตรายใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook