MWWellness ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

MWWellness หลายคนเข้าใจว่าการปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ บางคนปวดไม่มากมีอาการเพียงเล็กน้อยจึงมักมองข้ามปัญหานี้ไป แม้จะปวดเพียงเล็กน้อย แต่ปวดเป็นระยะเวลานานหรือแม้กระทั่งปวดท้องแบบรุนแรงนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้

ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง


ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณอันตรายของผู้หญิง

หลายคนเข้าใจว่าการปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ บางคนปวดไม่มากมีอาการเพียงเล็กน้อยจึงมักมองข้ามปัญหานี้ไป แม้จะปวดเพียงเล็กน้อย แต่ปวดเป็นระยะเวลานานหรือแม้กระทั่งปวดท้องแบบรุนแรงนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้

 

ปวดท้องประจำเดือน คืออะไร ?

ปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือน โดยปกติแล้วผู้หญิงมักจะมีอาการปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ ก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบเดือนในช่วงวันแรก ๆ จะมีอาการปวดเกร็งเล็กน้อย ปวดแบบหน่วง ๆ หรือรุนแรงไปจนถึงบริเวณท้องน้อย ในบางรายอาจมีอาการปวดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ท้องผูก ท้องอืด หรือท้องเสีย เป็นต้น

 

          สาเหตุของการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน หรือปวดท้องเมนส์ มีสาเหตุมาจากการบีบตัวของมดลูก ในช่วงที่มีประจำเดือนเยื่อบุมดลูกจะผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน

อย่างไรก็ตามอาการปวดประจำเดือนเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันดังนี้

  1. ปวดแบบปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) คือ อาการปวดแบบทั่วไป โดยอาการปวดประเภทนี้พบได้บ่อยที่สุด มักมีสาเหตุมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดิน มากจนเกินไป
  2. ปวดแบบทุติยะภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) คือ อาการปวดประเภทนี้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ ภาวะผิดปกติของมดลูก หรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ดังนี้
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง มักเกิดจากโรคติดต่อทาง

เพศสัมพันธ์ โดยจะติดเชื้อที่มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ หากไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด จะส่งผลให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนได้

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาเหตุเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก แม้จะเจริญผิดที่แต่ก็ยังทำ

หน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ประจำเดือนมีสีแดงคล้ำ ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง และทำให้มีบุตรยาก

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้มีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก เนื่องมาจาก

มดลูกอักเสบและถูกกด ในบางรายอาจมีเลือดประจำเดือนออกมามากและมีรอบเดือนยาวนานกว่าปกติ ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก มักพบในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีที่มีบุตรแล้ว

  • ปากมดลูกตีบ ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นจากการที่ปากมดลูกตีบแคบเกินไป ส่งผลให้เลือด

ประจำเดือนไหลได้ช้า ก่อให้เกิดแรงกดภายในมดลูกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดท้องรุนแรงและเรื้อรัง

  • เนื้องอกนอกมดลูก มีขนาดตั้งแต่เล็กมาไปจนถึงขนาดใหญ่ เนื้องอกจะส่งผลให้มีประจำเดือนออกมา

มากกว่าปกติ หรือมีประจำเดือนกระปริบกระปรอยนานเป็นสัปดาห์ และมีอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรังร่วมด้วย

 

          สัญญานเตือนเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือน การมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนนั้นนับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ หากแต่ว่าอาการปวดนั้นผิดไปจากปกติ นั่นอาจเป็นสัญญานที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย อย่างเช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งผู้ที่มีภาวะเหล่านี้มักจะมีอาการ

-ปวดประจำเดือนมากและนานกว่าปกติ

-ปวดท้องน้อยเรื้อรัง

-ปวดอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน

-ประจำเดือนมามากผิดปกติ

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะหากปล่อยไว้นาน อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การมีเลือดสะสมตามบริเวณที่เกิดเยื่อบุเจริญผิดที่จนกลายเป็นถุงน้ำสีคล้ำคล้ายช็อกโกแลต หรือที่เราเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)” ในบางรายอาจมีพังผืดเกิดขึ้นจนไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของอวัยวะภายใน อุดกั้นท่อนำไข่ ทำให้เกิดอาการบวม

 

          สีของประจำเดือนบอกอะไร ?

ปกติแล้วสีของประจำเดือนในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน อาจมีสีแดงคล้ำ แดงสด สีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนวันของการมีประจำเดือน ปริมาณประจำเดือน ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก หรือภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น

  • ประจำเดือนมีสีแดงสด หรือแดงคล้ำ เป็นภาวะปกติของประจำเดือนในช่วง 3 วันแรก ซึ่งจะเป็นช่วงที่มี

เลือดออกมามาก และในช่วงนี้มักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

  • เลือดประจำเดือนมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม หรือมีสีน้ำตาลดำ ประจำเดือนลักษณะนี้มักพบ

ในช่วงวันแรกหรือวันท้าย ๆ ของรอบเดือน ซึ่งเกิดจากเลือดสีแดงสดถึงขังไว้ในช่องคลอดเป็นระยะเวลาหนึ่งทำให้เลือดเกิดการเปลี่ยนสี

  • ประจำเดือนสีชมพู ส้ม และเทาปนเขียว ต้องสังเกต! การมีประจำเดือนสีชมพู เป็นเพราะเลือด

ประจำเดือนผสมกับสารคัดหลั่งภายใน ซึ่งอาจเกิดจากการมีบาดแผลภายใน หรือเราอาจจะกำลังอยู่ในสภาวะที่ระดับฮอร์โมนแปรปรวนนั่นเอง ในขณะที่การมีประจำเดือนสีส้มเป็นสภาวะที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อภายในช่องคลอด ยิ่งหากมีกลิ่นเหม็นอับร่วมด้วย อาจต้องรีบปรึกษาแพทย์นะคะ ท้ายสุดหากสาว ๆ มีเลือดประจำเดือนเป็นสีเทา สีออกปนเขียว ๆ มีลักษณะข้น โดยมีอาการร่วมกับตกขาวมาก ปวดท้องน้อย และมีไข้ นี่อาจเป็นอาการบ่งบอกถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้ค่ะ

 

          สัญญาณอันตรายอื่น ๆ ที่ควรสังเกต

  • ปริมาณ ประจำเดือนในแต่ละรอบ ไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือสังเกตได้จากจำนวนผ้าอนามัยที่ใช้ หาก

ผ้าอนามัยเปียกชุ่มและต้องเปลี่ยนทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นผู้มีประจำเดือนมากปกติ  แต่หากต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมงตลอดช่วงมีประจำเดือน หรือมีประจำเดือนนานกว่า 8 วัน จะถือว่าผิดปกติ อาจเกิดจากการติดเชื้อ เลือดจาง ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือเกิดเนื้องอกมดลูก ในขณะเดียวกันใครที่มีประจำเดือนน้อยมาก ๆ มาแบบกะปริดกะปรอยตลอดทั้งเดือน ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน

  • อาการปวดท้อง การปวดท้องประจำเดือนเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติ เกิดจากการหลั่งสาร โพรสตา

แกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อบีบตัว และหดเกร็ง คล้ายภาวะเจ็บปวดขณะคลอดบุตร แต่หากร่างกายหลั่งสารปริมาณมากเกินไป อาจทำให้รู้สึกปวดรุนแรง หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ และท้องเสียร่วมด้วย หากเป็นบ่อย หรือเป็นเกือบทุกครั้งที่มีประจำเดือน อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่าเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือมีเนื้องอกในมดลูก

  • รอบประจำเดือน ประจำเดือนควรมีระยะห่างกันประมาณ 28 วัน (บวกลบไม่เกิน 7 วัน) โดยแต่ละรอบ

ควรมาเวลาใกล้เคียงกัน หากประจำเดือนขาดหายบ่อย ๆ หรือมาถี่กว่าปกติ มีเมนส์เดือนละ 2-3 ครั้ง อาจแสดงถึงระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล หรืออาจเกิดโรคภายในอวัยวะสืบพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางนะคะ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

พฤติกรรมที่ทำให้เสียสุขภาพ

สัญญาณอันตรายก่อนเป็นเบาหวาน


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook