โรคติดเตียง ( Clinomania ) อันตรายกว่าที่คิด
เคยเป็นกันไหมคะเมื่อถึงเวลาตื่นไม่ว่านาฬิกาจะร้องปลุกสักเท่าไหร่ก็ไม่อยากตื่น ทั้งปิดการปลุก ทั้งการทำใจก่อนลุกจากเตียงเป็นเวลานาน อาการเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ความขี้เกียจอย่างที่ใครเข้าใจแต่อาจเป็น โรคติดเตียง ( Clinomania ) ก็ได้ค่ะ
โรคติดเตียง หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า ( Clinomania ) ลักษณะอาการ ของผู้ที่เข้าข่ายเป็น โรคติดเตียง ก็คือจะมีความรู้สึกอยากนอนทั้งวัน ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนอนอยู่บนเตียง มีอาการตื่นนอน ในตอนเช้าได้ยากลำบาก หรือใช้เวลาในการ ลุกจากเตียงนานเป็นชั่วโมง ทั้งนี้ โรคติดเตียง ยังไม่ใช่สาเหตุ ที่มีมาจากความขี้เกียจ อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นสัญญาณเตือน ของโรคภัยต่าง ๆ อีกด้วย
ดูอย่างไร ว่าเข้าข่าย โรคติดเตียง ( Clinomania )
– ไม่อยากลุกจากเตียง เพื่อไปทำสิ่งต่าง ๆ ตื่นนอนตอนเช้า ได้ยากลำบาก
– ขอเวลานอนต่อเรื่อย ๆ เลื่อนนาฬิกาปลุกทุกวัน นอนได้ทั้งวัน และง่วงอยู่ตลอดเวลา
– นอนได้ทุกที่ แม้แต่หลับบนโต๊ะ นอนตักเพื่อน และใช้เวลาไม่นาน ก็หลับจริง ๆ
– ไม่ว่าทุกข์ หรือสุข เตียงนอน คือ จุดหมายเดียว ที่ใช้ในช่วงเวลานั้น
– ทำกิจกรรมทุกอย่าง บนเตียงนอน เช่น นอนเล่นมือถือ อ่านหนังสือ ดูทีวี หรือแม้แต่กินข้าวกินขนม
ผลกระทบหากเป็น โรคติดเตียง ( Clinomania ) ?
อาจไม่ได้เป็น เพราะคุณขี้เกียจ แต่กำลังเสพติดความเครียด ที่ต้องเจอในแต่ละวัน จนทำให้ภาวะต่อมหมวกไตล้า จนมีอาการแสดงออกอย่างที่เห็น ถ้าเกิดความเครียดสะสมเรื้อรัง จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับฮอร์โมน คอร์ติซอล ( Cortisol ) ที่ลดลง จะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้น จากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และอ่อนเพลียตอนกลางวัน
บางรายมีอาการเครียด หรือซึมเศร้า ร่วมด้วย อาการเปลี่ยนแปลง ทางอารมณ์ที่รวดเร็ว โดยการเปลี่ยนแปลง ทางอารมณ์นี้ อาจเกี่ยวข้องกับ อาการเจ็บป่วย หรือความเปลี่ยนแปลง ภายในร่างกาย แม้แต่โรคจิตเวช บางชนิด เช่น โรคไบโพลาร์ โรคจิตอารมณ์ เป็นต้น
– โรคโลหิตจาง ( Anemia ) เป็นผลจากร่างกาย ขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำ ออกซิเจน ( Oxygen ) จากปอดมาเลี้ยง เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วย ง่วงนอนบ่อย และเฉื่อยชา มีความคิด ความอ่าน ด้อยลง
– เบาหวาน ( Diabetes ) เพราะ ระดับน้ำตาล ในเลือดไม่คงที่ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย
– โรคซึมเศร้า ( Depression ) ผู้ป่วยโรคนี้ จะเป็นผลมาจาก สารเคมี ในสมองโดยตรง ที่ทำให้เวลานอน แปรปรวนไม่แน่นอน หลับ ๆ ตื่น ๆ และนอนไม่หลับ
– ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Obstructive Sleep Apnea ) ภาวะการกรน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ นอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อให้ เป็นภาวะเสี่ยงนี้ในระยะยาว
– โรคลมหลับ ( Narcolepsy ) หนึ่งในโรคสุดแปลก โดยลักษณะอาการของผู้ป่วย จะง่วงมากผิดปกติ ในตอนกลางวัน และหลับ ได้บ่อยมาก พอหลับแล้วก็จะฝันในทันที กลไกควบคุมการหลับตื่นผิดปกติ ทำให้ควบคุมการนอนไม่ได้
วิธีแก้ไขถ้าไม่อยาก กลายเป็น โรคติดเตียง ( Clinomania )
– ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมใหม่ เช่น งดดูทีวี และงดเล่นโทรศัพท์มือถือ ก่อนเข้านอน 1 ชม. เข้านอน – ตื่นนอนให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน
– ทานของหวาน เพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น ความสุขที่เกิดขึ้น หลังจากที่เราได้รับ น้ำตาลเข้าสู่ร่างกายนั้น เกิดจากพลังงาน ที่ทำให้เรารู้สึก กระปรี้กระเปร่า สดชื่นสดใส ไม่ว่าจะอ่อนเพลียแค่ไหน ความหวาน ก็สามารถช่วยได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณ ที่เหมาะสม
– ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ร่างกาย มีความสดชื่น กระฉับกระเฉง พร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกาย ให้ได้ผลดีนั้น จะต้องค่อย ๆ ทำและใช้เวลา ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกาย เกิดพัฒนาการ อย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพ แข็งแรงในระยะยาว
– ไปพบแพทย์ และใช้ยารักษา หากมีความรู้สึกว่า ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว แล้วไม่ได้ผล ควรไปปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชียวชาญ เกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ใช้ยารักษาอาการต่อไป เพื่อสุขภาพที่ดี และให้ร่างกาย ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :