MWWellness อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด

MWWellness ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางรายได้มีการนำ ฟอร์มาลีน มาใช้เป็นสารเคมี เพื่อรักษาความสดของอาหาร ทำให้อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่นำอาหารสดไปทำอาหาร และรับประทานต่อได้

อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด

อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด


อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด

 

ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางรายได้มีการนำ ฟอร์มาลีน มาใช้เป็นสารเคมี เพื่อรักษาความสดของอาหาร ทำให้อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่นำอาหารสดไปทำอาหาร และรับประทานต่อได้

 

ฟอร์มาลีน คืออะไร?

 

ฟอร์มาลีน ( Formaldehyde ) เป็นสารเคมีมีพิษชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ละลายน้ำ ด้วยความเข้มข้น 37% โดยน้ำหนัก และมีเมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) ประมาณ 10-15 % เป็นองค์ประกอบด้วย ฟอร์มาลีน มีลักษณะเป็นน้ำใส มีกลิ่นฉุน แสบจมูกและตา ใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อโรค และทำความสะอาด ในอุตสาหกรรมกระดาษ สิ่งทอ พลาสติก และเคมีภัณฑ์ รวมถึง การใช้สำหรับรักษาสภาพร่างกายของสัตว์หรือศพ

 

การใช้ ฟอร์มาลีน กับอาหาร

 

ในอุตสาหกรรมอาหาร ฟอร์มาลีน ถูกนำมาใช้ในการรักษาสภาพความสดของอาหาร ในผักผลไม้ เนื้อสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะ สัตว์ทะเล ไม่ว่าจะเป็น ปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก และแมงกะพรุน ที่มีการเน่าเสียไว ฟอร์มาลีน จะทำให้ช่วยทำให้รักษาความสดของอาหารเหล่านี้ได้นานมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้งานที่ผิดประเภท เนื่องจาก ฟอร์มาลีน เป็นสารเคมีมีพิษ จึงเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ที่รับประทานอาหารได้รับการปนเปื้อนฟอร์มาลีน

 

อันตรายจากฟอร์มาลีน

การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนฟอร์มาลีนอยู่มาก จะทำให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย ดังนี้

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
  • รู้สึกแน่นหน้าอก
  • อ่อนเพลีย

เป็นต้น

 

ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการเบื้องต้นที่อาจเกิดได้ เมื่อร่างกายได้รับฟอราลีน หากมีการสะสมของฟอร์มาลีนมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือได้รับในปริมาณ60-90 ซีซี จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร เนื่องจาก ฟอร์มาลีน มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้สารกัดกระเพาะอาหารและเป็นแผลในกระเพาะได้ และยังทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานผิดปกติได้

 

การสังเกต ฟอร์มาลีน ในอาหาร

 

หากสังเกตด้วยสายตา จะไม่สามารถมองเห็น ฟอร์มาลีนในอาหารได้ เนื่องจากมีลักษณะเป็นน้ำใส ทำให้กลมกลืนไปกับอาหาร แต่สามารถรู้สึกได้ผ่านการดมกลิ่น อาหารที่มีฟอร์มาลีน หากดมกลิ่นใกล้ ๆ จะรู้สึกถึงกลิ่นฉุน แสบจมูกและตาได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างมาก

 

วิธีการล้างฟอร์มาลีน

 

ก่อนการนำเนื้อสัตว์ หรือผักผลไม้มาประกอบอาหาร ควรล้างด้วยน้ำสะอาด และเพื่อความอุ่นใจให้ใช้ผงฟู หรือโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 0.001 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วแช่เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ผงฟู ช่วยล้างฟอร์มาลีนไปได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจาก ผงฟู จะทำปฏิกิริยากับฟอร์มาลีน หรือสารฟอร์มาดีไฮด์ ให้กลายเป็น คาร์บอนไดออกไซต์ และน้ำ นั่นเอง

 

อีกหนึ่งวิธีในการล้างผัก ผลไม้ เพื่อล้างฟอร์มาลีน คือ การล้างด้วย สารละลายด่างทับทิม โดยใช้ด่างทับทิมประมาณ 10-15 เกล็ด ผสมน้ำ 2 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออก ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ด่างทับทิมจะเข้าไป ทำปฏิกิริยากับ ฟอร์มาลีน และกลายเป็น ฟอร์เมต หรือ กรดมด ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และสามารถละลายน้ำไปได้

 

ผู้บริโภคยุคใหม่ ควรมีความใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน สารเคมีได้ถูกนำมาใช้กับอาหารมากขึ้น ซึ่งนอกจาก ฟอร์มารีนแล้ว อาจมียาฆ่าแมลงและสารเร่งการเจริญเติบโตที่อาจมีอยู่ในผักหรือผลไม้ได้ ผู้บริโภคจึงควรล้างทำความสะอาดอาหารเหล่านี้ก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง รวมถึง เนื้อสัตว์ ควรทานแบบสุกเท่านั้น เพราะความร้อนจากการทำอาหาร จะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในอาหารสดได้อีกด้วย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภัยเงียบจาก อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

อันตรายของการปวดหัว ที่เราไม่ควรมองข้าม


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook