MWWellness ทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจ ( Lazy Eye )

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจ ( Lazy Eye )

MWWellness หากคุณเคยมีความรู้สึกว่าตาทั้ง 2 ข้างของคุณ ทำงานได้ไม่สมดุลกัน หรือความชัดในการมองภาพไม่เท่ากัน ให้สันนิษฐานได้ว่าคุณเป็น โรคตาขี้เกียจ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

ทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจ ( Lazy Eye )

ทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจ ( Lazy Eye )


ทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจ

 

หากคุณเคยมีความรู้สึกว่าตาทั้ง 2 ข้างของคุณ ทำงานได้ไม่สมดุลกัน หรือความชัดในการมองภาพไม่เท่ากัน ให้สันนิษฐานได้ว่าคุณเป็น โรคตาขี้เกียจ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

 

โรคตาขี้เกียจ คืออะไร?

 

โรคตาขี้เกียจ ( Amblyopia หรือ Lazy eye ) เป็นภาวะที่สายตาข้างใดข้างหนึ่งมัวลง หรือคุณภาพในการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแสงเข้าสู่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งน้อยกว่าที่ควร จึงเป็นผลต่อคุณภาพความชัดในการมองเห็นที่ไม่เท่ากัน ภาวะตาขี้เกียจ มักเกิดขึ้นในเด็กเฉพาะเด็กแรกเกิดไปจนอายุ 6 -7 ปี

 

สาเหตุของการเกิดโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจ มีสาเหตุมาจากประการ ดังต่อไปนี้

 

  • ค่าสายตาของทั้ง 2 ข้างที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว หรือเอียง แบบไม่สมมาตร (Anisometropia) เช่น สายตาข้างหนึ่งสั้นมาก อีกข้างหนึ่งสั้นเพียงเล็กน้อย เมื่อสายตาที่ค่าแตกต่างกันมาก สมองจะปรับตัว โดยเลือกใช้ตาข้างที่สั้นน้อยกว่า หรือข้างที่มองเห็นชัดมากกว่า นั่นเอง ทำให้ตาอีกข้างถูกใช้งานได้น้อยกว่า

 

  • ภาวะตาเข ตาเหล่ (Strabismus) เป็นภาวะที่สมองมักจะปิดกั้นการรับรู้ภาพจากตาข้างที่เขหรือเหล่ เพื่อไม่ให้มองเห็นภาพซ้อน ตาข้างที่ถูกปิดการใช้งาน จะกลายเป็นตาขี้เกียจได้

 

  • โรคทางตาบางชนิดที่บดบังการมองเห็น หรือทำให้แสงผ่านเข้าตาได้ไม่ดี เช่น ต้อกระจก หนังตาตก โรคทางตาเป็นแผล ที่เป็นตั้งแต่กำเนิด อาจจะเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ทำให้การพัฒนาของสายตา ไม่เป็นไปตามขั้นตอนปกติ จึงทำให้เกิดตาขี้เกียจได้

 

การรักษาตาขี้เกียจ

 

  • การปิดตาข้างที่ดี : หากรู้สึกว่าเป็นตาขี้เกียจแล้ว หรือตาเหล่ ให้รักษาโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างดีด้อยกว่าได้มีการใช้งาน

 

  • การใช้แว่นสายตา : ในกรณีที่ตาขี้เกียจเกิดจากปัญหาที่ค่าสายตาของทั้ง 2 ข้างที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว หรือเอียง แบบไม่สมมาตร (Anisometropia) ให้ทำการตัดแว่นและใช้เลนส์ที่เหมาะสมกับค่าสายตาในแต่ละข้าง

 

  • การผ่าตัด : หากสาเหตุที่ทำให้เกิดตาขี้เกียจ เกิดจากต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตา หนังตาตก ควรผ่าตัดก่อน หลังจากนั้น ค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นตาอีกข้างที่ด้อยกว่าให้ถูกใช้งานมากขึ้น

 

ความท้าทายของการรักษาตาขี้เกียจ คือ ตาขี้เกียจะตอบสนองต่อการรักษา เมื่ออายุไม่เกิน 8-10 ปี ถ้าหากมีอายุมากกว่านี้การรักษา จะไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีนัก ดังนั้น หากมีอาการน่าสงสัย ผู้ปกครงควรพาเด็กไปตรวจสายตากับจักษุแพทย์ แต่ส่วนใหญ่เด็กที่เป็นโรคตาขี้เกียจ หากมีอาการจะไม่ค่อยรู้ด้วยตนเอง ผู้ปกครองจึงอาจสังเกตได้ หากเห็นตาเข จุดขาในตา หนังตาปิด เป็นต้น เพื่อให้ได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

โรคตาขี้เกียจ ถึงแม้ว่าอาการของโรคไม่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษา อาจทำให้มีอาการหนักขึ้นได้ ตั้งแต่ เริ่มมีอาการภาพซ้อน มองอะไรก็ต้องเพ่ง และ การมองเห็นด้านที่มีปัญหาเริ่มหนักขึ้นทุกวัน รวมทั้ง ปวดศีรษะบ่อยครั้งได้

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

แผลร้อนใน ( Aphthous Ulcers ) ไม่ใช่เรื่องเล็ก

อันตรายของการปวดหัว ที่เราไม่ควรมองข้าม


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook