MWWellness เครียดลงกระเพาะ โรคที่วัยทำงานต้องระวัง

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร เครียดลงกระเพาะ โรคที่วัยทำงานต้องระวัง

MWWellness หลายคนที่เมื่อมีอาการเครียด อาจรู้สึกปวดหัวไมเกรนขึ้นมาได้ ในบางคนเครียดจนมีอาการคลื่นไส้ ท้องไส้อาเจียน หรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ วันนี้เราจะมาความความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้นกัน

เครียดลงกระเพาะ โรคที่วัยทำงานต้องระวัง

เครียดลงกระเพาะ โรคที่วัยทำงานต้องระวัง


เครียดลงกระเพาะ โรคที่วัยทำงานต้องระวัง

 

หลายคนที่เมื่อมีอาการเครียด อาจรู้สึกปวดหัวไมเกรนขึ้นมาได้ ในบางคนเครียดจนมีอาการคลื่นไส้ ท้องไส้อาเจียน หรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ วันนี้เราจะมาความความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้นกัน

 

เครียดแล้วลงกระเพาะได้อย่างไร?

 

อาการเครียด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากมีความกังวลในการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือแม้แต่เรื่องความรักก็ตาม ซึ่งอาการเครียดที่สะสม อาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้รวมถึง กระเพาะอาหารด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อโรคว่า “เครียดลงกระเพาะ” นั่นเอง

 

โรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจาก การที่เรามีความเครียดสะสม จนส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความแปรปรวน และเส้นเลือดบีบตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนทำให้น้ำย่อยกัดกระเพาะอาหารจนเป็นแผล และลำไส้บีบตัวอย่างรุนแรง ผู้ที่เครียดลงกระเพาะ จึงมีอาการคลื่นไส้ แสบท้องกลางอก ท้องเสีย หรือท้องผูกได้ ซึ่งมีอาการเหมือนกับโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่เกิดจากการสั่งงานของสมองที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความแปรปรวน นั่นเอง

 

นอกจากนี้ โรคเครียดลงกระเพาะ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ดังนี้

  • เกิดภาวะอาหารไม่ย่อย จากการหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
  • ท้องเสีย หรือท้องผูก เนื่องจาก ลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียด
  • แบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแบคทีเรียชนิดดี ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง
  • เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
  • สามารถเกิดกรดไหลย้อนได้

 

รักษาโรคเครียดลงกระเพาะ

 

ความเครียด เป็นสาเหตุของการรักษาโรคเครียดลงกระเพาะ ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคนี้ ต้องมีการจัดการกับความเครียดให้มีอาการที่ดีขึ้น ดังนี้

 

  • ระบายความรู้สึก : เล่าเรื่องที่คุณเครียดให้ใครสักคนฟัง เพื่อทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น รวมถึงอาจจะได้คำชี้แนะในการแก้ไขปัญหาจากผู้ที่รับฟังได้
  • ทำงานอดิเรกที่ชอบ : การทำในสิ่งที่ชอบ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ดูซีรีส์ อ่านหนังสือ ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม กิจกรรมเหล่านี้ จะช่วยให้คุณสนใจเรื่องที่เครียดน้อยลง และทำให้อาการเครียดดีขึ้นได้
  • การกิน : ช่วงเครียดหลายคน อาจจะกินอะไรไม่ค่อยลง ผู้ที่เครียดลงกระเพาะนั้น จะมีน้ำย่อยหลั่งมากผิดปกติอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้น้ำย่อย กัดกระเพาะอาหารมากกว่าเดิม ดังนั้น จึงควรกินอาหารให้ได้ตามปกติให้ครบ 3 มื้อ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด อาหารที่ทำให้ย่อยยาก รวมถึง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก
  • งดบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ : การออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารเอนโดรฟินมากขึ้น ซึ่งเป็นสารที่ช่วยคลายเครียดได้ดี
  • ปล่อยวางกับเรื่องที่เครียด : คนที่เป็นคนคิดมาก มักเก็บทุกเรื่องมาคิด จนส่งให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ การปล่อยวางจากเรื่องที่ทำให้เครียด จะช่วยให้อาการป่วยของคุณดีขึ้นได้

 

หากทำตามวิธีเหล่านี้แล้ว แต่ระบบย่อยอาหารยังมีอาการแย่ลงอยู่ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร หรือในบางรายที่ไม่สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง ควรเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อให้ได้รับคำปรึกษาในด้านสุขภาพจิตที่ดี

 

ความเครียดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่สุดอยู่ในช่วง 18-35 ปีที่เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตของหลาย ๆ คน ทั้งการเข้ามหาวิทยาลัย ทำงาน แต่งงาน หรือมีลูก วัยทำงานที่อยู่ในช่วงนี้ จึงต้องระวังการเกิดความเครียดเป็นพิเศษ ดังนั้น หากมีอาการเครียดเกิดขึ้นกับตนเอง จึงควรหาวิธีจัดการกับความเครียดให้ได้โดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงานของร่างกายของคุณได้

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

อันตรายของการปวดหัว ที่เราไม่ควรมองข้าม

ทานข้าวไม่ตรงเวลา อาจเกิดโรคกระเพาะอาหาร


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook