MWWellness สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

MWWellness สุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่สามารถปล่อยปะละเลย เพราะถ้าร่างกายเริ่มทรุดโทรมจะทำให้เห็นได้เลยว่า สุขภาพ ของเรากำลังแย่ลงเรื่อย ๆ เรามาดูกันว่าคนที่มี สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร


สุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่สามารถปล่อยปะละเลย เพราะถ้าร่างกายเริ่มทรุดโทรมจะทำให้เห็นได้เลยว่า สุขภาพ ของเรากำลังแย่ลงเรื่อย ๆ เรามาดูกันว่าคนที่มี สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร

 

สุขภาพ ที่ดี ควรเป็นอย่างไร ?

1. ร่างกายมีการเจริญเติบโต และ พัฒนาการสมกับวัยของตน เช่น มีน้ำหนัก และ ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของบุคคลในวัยเดียวกัน เป็นต้น

2. สภาพร่างกายทั่วไปสะอาด และ สมบูรณ์ มีหน้าตาสดใส และ ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่คนเดียว หรือ อยู่ต่อหน้าคนอื่น

3. ร่างกายมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะดำเนินงานตามภารกิจในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งมีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว

4. มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหาร มีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร และ ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ

5. ร่างกายปราศจากความทุพพลภาพ รวมทั้งโรคติดต่อ และ โรคไม่ติดต่อ พร้อมทั้งยังมีความต้านทานโรคดีอีกด้วย

6. มีจิตใจแจ่มใส มีอารมณ์สดชื่นมั่นคง และ มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ

7. มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยู่กับการดำเนินชีวิต แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากหน้าที่การงานบ้าง ก็ไม่รู้สึกท้อแท้

8. สามารถพักผ่อน และ นอนหลับได้อย่างเพียงพอ หลังจากตื่นนอนแล้วจะรู้สึกสดชื่น และ กระปรี้กระเปร่า

9. รู้จักยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง และมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนฝูงได้อย่างราบรื่น

10. ตั้งความมุ่งหมายในชีวิตไว้อย่างเหมาะสม และ พร้อมเสมอ ที่จะเผชิญกับอุปสรรค หรือ ความยุ่งยากในชีวิตได้อย่างไม่วิตกกังวล

 

วิธีดูแล สุขภาพ ให้ดีอยู่เสมอ

1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และ ทานให้ตรงเวลา

     ในทุก ๆ มื้อพยายามทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่อย่างพอเพียงตามความต้องการของร่างกาย และ ควรทานให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน โดยมื้อเช้าถือว่าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดจึงไม่ควรที่จะงด ส่วนมื้อเย็นควรทานแต่น้อย และไม่ควรทานหลัง 6 โมง เพราะหากทานดึกเกินไปใกล้เวลานอน อาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่

2. ดื่มน้ำให้พอเพียง

     พยายามดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้ว เพราะการดื่มน้ำอย่างพอเพียงมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งในเรื่องของ สุขภาพ และ ความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นไปอย่างปกติ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื่น ดูสดใสเปล่งปลั่ง

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

     ควรหาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้สดชื่นผ่อนคลายแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ช่วยให้ปอด และ หัวใจทำงานได้ดี อีกทั้งยังช่วยสลายไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความอ้วนได้อีกด้วย

4. นอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียง

     นอนหลับพักผ่อนให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมง การนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียงไม่เพียงแต่ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองได้อย่างเต็มที่เท่านั้น แต่ยังทำให้ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นแจ่มใส มีพลังในการทำงาน และ การใช้ชีวิต

5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อ สุขภาพ

     เป็นที่รู้กันว่า การสูบบุหรี่ และ ดื่มเหล้านั้นเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด การหลีกเลี่ยง หรือ พยายามลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อ สุขภาพ เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้คุณมี สุขภาพ ดีขึ้น เพราะหากคุณไม่รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายก็ย่อมเป็นการลดปัจจัยที่จะมาทำลาย สุขภาพ ของคุณนั่นเอง

6. รักษา สุขภาพ จิตให้ดี

     การมี สุขภาพ จิตที่ดีย่อมส่งผลให้ สุขภาพ ร่างกายดีไปด้วย และ การมี สุขภาพ จิตที่ดีนั้น ก็สามารถทำได้โดยการทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ หากิจกรรมที่ชอบทำ ฝึกสมาธิปฏิบัติธรรม เป็นต้น

7. ให้เวลากับคนในครอบครัว

     ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว เป็นแหล่งที่มาอีกแห่งหนึ่งของความสุข การให้ความสนใจกับธุระการงานจนลืมที่จะแบ่งเวลาให้กับคนในครอบครัวย่อมทำให้ความสุขในครอบครัวลดน้อยลง ใส่ใจกับครอบครัวให้มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับชีวิตส่วนตัว และ การทำงาน เท่านี้คุณก็หาความสุขได้ในทุก ๆ วันได้แล้ว

 

พฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อ สุขภาพ

1. การเดิน

     บุคลิกการเดินของแต่ละคนแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมที่เคยชิน บวกกับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ ความมั่นคงของ ข้อต่อ การเดินที่ผิดปกติจะส่งผลต่อข้อสะโพก กระดูกเชิงกราน หลัง

     การเดินผิดท่าต่อเนื่องยาวนาน สะโพกจะบิดหมุน ทำให้ขาผิดรูป ข้อเสื่อม เสี่ยงต่อการเคลื่อนของข้อสะโพก กระทบโดยตรงต่อกระดูก สันหลัง

2. การยืน

     หากเป็นผู้ที่ต้องยืนทำงานนาน ๆ มักมีอาการปวดเข่า ปวดหลัง ฯลฯ หากใส่รองเท้าที่ผิดจะเกิด แรงกระทำต่อข้อต่อของข้อเท้า ข้อเข่า อาจส่งผล ถึงคอ ทำให้คอเสื่อม กระดูกทับเส้นประสาท ปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งต้นเหตุอาจมาจากการขึ้นลง น้ำหนักขาไม่เท่ากัน เกิดความไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้สะโพกบิด กระทบต่อเนื่องไปถึงกระดูกสันหลัง

3. การนั่ง

     โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม เมื่อหลังส่วนบนบริเวณสะบักค่อม จะทำให้หลังส่วนล่างค่อม หรือ ปูดออกทางด้านหลังมากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังมีแรงกดเพิ่มขึ้น มีโอกาสที่จะปลิ้นไปทางด้านหลังได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อด้านหลังถูกยึดให้หย่อนเป็นระยะเวลานาน

     การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบนสะบัก และ หัวไหล่ ถูกยึดยาวออก หลังช่วงบนค่อม และ งุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะถ้ากระดูกคอผิดรูป จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกร็ง จำกัดการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ หรือ อาจทำให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้

4. การนอน

     การนอนเป็นช่วงเวลาที่ทำให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุลได้มากที่สุด เพราะในเวลา 6-8 ชั่วโมง หากนอนในท่าที่ผิด มีผลต่อกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ การไหลเวียนเลือด เส้นประสาท น้ำเหลือง ระบบไหลเวียนที่ต้องหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ตื่นมาแล้วมีอาการปวดหัวไหล่ ปวดคอ ปวดศีรษะ ชามือ ชาเท้า ปวดหลัง รู้สึกเพลีย ไม่สดชื่น รู้สึกเหมือนนอนไม่พออยู่ตลอด

5. การหิ้วของด้วยนิ้ว

     การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อย ๆ มีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ เพราะกล้ามเนื้อมือเป็นกล้ามเนื้อ มัดเล็ก มีหน้าที่หลักใช้หยิบ หรือ จับสิ่งที่ไม่หนัก หากต้องใช้จับ หรือ หิ้วหนัก ๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสี และ เกิดพังผืดในที่สุด ยิ่งหากนิ้วหนักมาก ๆ จะทำให้รั้งกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ และ เกี่ยวโยงไปถึง กระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ มีผลต่อ การทรุดของกระดูก และ กดทับเส้นประสาทได้ หรือ มักทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เหตุผลที่ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มดูแล สุขภาพ

เหตุผลที่ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มดูแล สุขภาพ


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook