ใครที่มีความสุขกับการกินทุกอย่างที่ขวางหน้า พึงระวังไว้ให้ดี เพราะคุณอาจจะ อ้วนลงพุง ได้ หากยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการกิน ที่นอกจากจะทำให้หุ่นเสียแล้ว โรคภัยจะถามหาโดยไม่รู้ตัว
อ้วนลงพุง ( Metabolic Syndrome ) เป็นภาวะที่การเผาผลาญพลังงานในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้มีไขมันสะสมในช่องท้อง หรืออวัยวะในช่องท้องมากเกินไป เมื่อไขมันมีสะสมจำนวนมาก จะเห็นหน้าท้องยื่นออกมาชัดเจน
สาเหตุ
สาเหตุหลักของการ อ้วนลงพุง เกิดจากอาหารที่เรารับประทาน มีปริมาณเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้เกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังมีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย อาทิ ภาวะต้านอินซูลิน กรรมพันธุ์ ภาวะต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ความผิดปกติของฮอร์โมน รวมถึงยังมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเป็นปัจจัยร่วมด้วย เช่น การไม่ออกกำลัยกาย หรือออกกำลังกายน้อย เป็นต้น
ความผิดปกติร่วม
โดยผู้ป่วยที่มีปัญหาอ้วนลงพุง มักมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่
- น้ำตาลในเลือดสูง ตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
- ความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 130/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
- ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง (Triglyceride) ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
- โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ในผู้ชายมีต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในผู้หญิงมีต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
การเช็คตนเอง
หากให้สังเกตตัวเองได้โดยง่าย ๆ ว่าคุณอ้วนลงพุงหรือไม่ ให้ใช้สายวัดรอบพุง โดยวัดผ่านสะดือ ขณะวัดให้ยืนตัวตรง และวัดขณะที่หายใจออก วัดให้พอดีตัว ไม่แน่นจนเกินไป เมื่อวัดได้ค่า เป็นหน่วยเซนติเมตรแล้ว ให้คิดเทียบกับส่วนสูงของตนหารสอง หากค่าที่วัดได้เกิน จะถือว่า อ้วนลงพุง
ยกตัวอย่าง เช่น คุณสูง 164 เซนติเมตร นำส่วนสูงมาหารสองได้ 82 เซนติเมตร หากวัดรอบพุงได้เกิน 82 เซนติเมตร ก็จัดว่าคุณอ้วนลงพุง นั่นเอง
แนวทางการแก้ไข
ทาง สสส. ได้เสนอหลัก 3อ. ที่จะทำให้ห่างไกลจากโรคอ้วนลงพุงได้ ดังนี้
อ-อาหาร
ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน และเลือกรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดและงดอาหาร ที่ให้พลังงงานสูง มีแคลอรี่สูง อาหารรสจัด และเครื่องดื่ม ที่มีปริมาณน้ำตาลมาก
อ-อารมณ์
ในส่วนนี้ หมายถึง อารมณ์ ที่ทำให้เราอยากอาหาร อาจจะเป็นความหิว หรือความเครียดที่ ทำให้เราอยากทานเยอะก็เป็นไปได้หมด ซึ่งเรา ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ให้ได้ ไม่ให้ตามใจปากจนมากเกินไป รวมถึงต้องตั้งมั่นถึงเป้าหมายที่จะลดน้ำหนักให้ได้
อ-ออกกำลังกาย
สำหรับผู้ที่อ้วนลงพุง ควรออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ซึ่งจะช่วย ในการเผาผลาญ พลังงานในร่างกาย รวมถึงช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ และปรับระดับความดันโลหิต ให้เป็นไปตามปกติด้วย ตัวอย่างการคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาย กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค เป็นต้น โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
โรคอ้วนลงพุง สามารถป้องกันและรักษาได้ หากเรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน รวมถึงพฤติกรรมในการดำรงชีวิตอื่น ๆ ทั้งนี้เราควรมี การตรวจสุขภาพ ประจำปีด้วย เพื่อเช็ค ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และ ไขมันตรีเซอไรต์ ที่อาจทำให้เกิดโรคอื่นได้
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :