MWWellness ประจำเดือน มาผิดปกติ อันตราย อย่าปล่อยทิ้งไว้ !

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ประจำเดือน มาผิดปกติ อันตราย อย่าปล่อยทิ้งไว้ !

MWWellness สาว ๆ เรา ในบางครั้ง ก็อาจจะ ไม่ได้ ระมัดระวัง หรือใส่ใจ หากบางครั้ง ประจำเดือน มาผิดปกติ แต่รู้ไหม ว่านั่น อันตรายต่อร่างกาย อย่างมาก หาก ประจำเดือน มาผิดปกติ ต้องรีบไป ตรวจเช็ค อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะนั่น อาจจะเป็น สัญญาณเตือน ของโรคร้าย

ประจำเดือน มาผิดปกติ อันตราย อย่าปล่อยทิ้งไว้ !

ประจำเดือน มาผิดปกติ อันตราย อย่าปล่อยทิ้งไว้ !


สาว ๆ เรา ในบางครั้ง ก็อาจจะ ไม่ได้ ระมัดระวัง หรือใส่ใจ หากบางครั้ง ประจำเดือน มาผิดปกติ แต่รู้ไหม ว่านั่น อันตรายต่อร่างกาย อย่างมาก หาก ประจำเดือน มาผิดปกติ ต้องรีบไป ตรวจเช็ค อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะนั่น อาจจะเป็น สัญญาณเตือน ของโรคร้าย

 

ผู้หญิง นั้นเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ร่างกายก็จะสร้างเนื้อเยื่อ ที่ผนังมดลูก ให้มีความหนาขึ้น เพื่อเตรียมรองรับ แก่การตั้งครรภ์ ถ้าหากไม่มีการปฏิสนธิ บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก นั้นก็จะหลุดลอกและไหลออกจากช่องคลอดเป็นเลือด หรือที่เรียกว่า ประจำเดือน โดยทั่ว ๆ ไปรอบประจำเดือนของผู้หญิง ก็อยู่ในช่วง 28 + 7 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ ครั้งละประมาณ 3 – 8 วัน โดยมามากที่สุดใน 2 วันแรก  ประจำเดือน นั้นอาจมีสีแดงเข้ม สีน้ำตาล หรือว่าสีดำ ทั้งนี้ก่อนมีประจำเดือน ก็ยังอาจมีอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวดศีรษะ ท้องอืด หงุดหงิด ปวดเมื่อยไปตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ หน้าอกขยาย หิวง่าย รวมไปถึงอาการปวดท้อง ในช่วงระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งอาการบางอย่างนั้น อาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ที่อยู่ในช่วงตกไข่ แต่ว่าบางอาการ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย อย่างเช่น เนื้องอกมดลูก

 

ประจำเดือนปกติ หรือ ผิดปกติ เป็นอย่างไร

 

1. สี โดยปกติแล้ว เลือดที่ออกมาในช่วงวันแรก ๆ ของการมีประจำเดือน นั้นจะมีสีแดงคล้ำเล็กน้อย และก็จะกลายเป็นสีแดงสดในวันถัดมา หรือว่าบางคนอาจเริ่มต้นรอบด้วยสีแดงสด และเปลี่ยนเป็นสีคล้ำมากขึ้นในช่วงวันท้ายๆ แต่หากพบว่า ประจำเดือนสีจางมากๆ หรือว่ามีสีคล้ายน้ำเหลือง ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

 

2. ปริมาณ ซึ่งประจำเดือนส่วนใหญ่ ก็จะมามากในช่วงวันแรกๆ จากนั้นจึงค่อยๆ ลดปริมาณลง และจนหายไปในที่สุด โดยเลือดประจำเดือน ในแต่ละ 1 รอบ ก็ต้องไม่เกิน 80 ซีซี โดยสามารถสังเกตได้ ด้วยตัวเองว่าหากผ้าอนามัย นั้นเปียกชุ่มและต้องเปลี่ยนทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมง จัดได้ว่าเป็นผู้มีประจำเดือนมามากเป็นปกติ แต่ถ้าหากต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง อีกทั้งยังคงเป็นแบบนี้ตลอดช่วงมีประจำเดือนหรือว่ามีประจำเดือนนานกว่า  8 วัน แบบนี้ก็ถือว่าเกิดความผิดปกติกับร่างกาย อาทิ การติดเชื้อ, เลือดจาง, ฮอร์โมนไม่สมดุล, หรือว่า อาจเกิดเนื้องอกมดลูก ทั้งนี้รวมถึงการมีประจำเดือน กะปริดกะปรอยไปตลอดทั้งเดือน ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเช่นกัน

 

3. อาการปวดท้อง ผู้หญิงส่วนใหญ่นั้น ต้องเผชิญกับปัญหาปวดท้องทั้งแบบปวดบีบ และปวดเกร็งมากถึงประมาณ 70% ซึ่งอาการปวดท้องประจำเดือนเหล่านี้ เกิดจากการหลั่งสาร โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ออกฤทธิ์คล้าย ๆ ฮอร์โมน ที่ก่อตัวขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ในช่วงที่มีประจำเดือน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็ง คล้ายกับภาวะเจ็บปวดขณะคลอดบุตร ในกรณีที่ร่างกาย นั้นหลั่งสารปริมาณมาก ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น หรือว่าอาจมีอาการคลื่นไส้และท้องเสียร่วมด้วย ถ้าหากพบอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงบ่อยมากๆ หรือว่าเกือบทุกครั้งที่มีประจำเดือน อาจจะเกิดจากเยี่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือว่ามีเนื้องอกในมดลูก

 

4. รอบประจำเดือน ประจำเดือน นั้นหมายความว่า มีเลือดออกจากช่องคลอด ในเดือนละ 1 ครั้ง หรือว่าห่างกันประมาณ 28 + 7 วัน โดยแต่ละรอบ ก็ควรมาเวลาใกล้เคียงกัน หรือห่างกันไม่เกิน 7-9 วัน ในกรณีที่ประจำเดือนขาดหายบ่อยครั้ง หรือว่ามาถี่กว่าปกติ เดือนละ 2-3 ครั้ง อาจจะบ่งชี้ว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลหรือว่าเกิดโรคภายในอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

 

 

สัญญาณเตือนเนื้องอกมดลูก ที่เกิดจากความผิดปกติของประจำเดือน

ภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือน นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนเนื้องอกมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในหญิงวัยทำงานอายุ 30-40 ปี มากถึง 20-25% เนื้องอกมดลูก นั่นคือเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตัวมดลูก นั่นเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ไม่ใช่มะเร็ง ก็อาจพบที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของตัวมดลูก มีขนาดที่แตกต่างกันไป อาจเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ บางชนิดก็โตช้า บางชนิดโตเร็ว ถ้าเป็นเนื้องอกก้อนเล็ก ๆ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ อาจตรวจพบได้โดยบังเอิญเมื่อไปตรวจสุขภาพหรือว่าปรึกษาแพทย์ด้วยปัญหาอื่น และอาจไม่จำเป็นต้องให้การรักษา

 

สามารถสังเกตเนื้องอกขนาดโต ที่เกิดจากอาการผิดปกติของประจำเดือน ดังนี้

- มีประจำเดือนออกมามากและนานกว่าปกติ

- มีอาการปวดหน่วงๆ ที่บริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง

- มีอาการปวดขณะที่ร่วมเพศ

- ท้องผูกเรื้อรังนาน

- ปัสสาวะบ่อย ๆ กะปริดกะปรอย หรือว่าปัสสาวะขัด

- คลำพบก้อนที่บริเวณท้องน้อย หรือท้องโตคล้าย ๆ คนท้อง

 

ปัจจัยเสี่ยง เนื้องอกมดลูก

การแพทย์ในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัด ในการเกิดเนื้องอกมดลูกได้  แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

- ระดับฮอร์โมน เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง นั่นคือฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน ที่ไปกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกโตขึ้นได้

- ผลกระทบจากยา โดยเฉพาะยาฮอร์โมนต่างๆ ก็อาจเพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้องอกมดลูกได้ อาทิ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

- กรรมพันธุ์ หากพบว่าบุคคลในครอบครัวเป็นเนื้องอกในมดลูก ก็ถือเป็นปัจจัยเพิ่มโอกาสเป็นเนื้องอกมดลูกมากขึ้น

- อาหาร การรับประทานเนื้อแดง หรือว่าอาหารไขมันสูง รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดเนื้องอกมดลูกมากกว่าคนปกติ

- สุขภาพร่างกาย ผู้ป่วยโรคอ้วน ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนวัย หรือว่าขาดวิตามินบางชนิด ก็จะมีเพิ่มโอกาสเสี่ยงภาวะเนื้องอกมดลูกมากขึ้น

 

 

อย่าลืมนะคะ ถ้า ประจำเดือน มาผิดปกติ ต้องรีบตรวจเช็คทันทีเลย

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

5 พฤติกรรมเพิ่มโอกาสติดเชื้อ HPV รู้ก่อน เลี่ยงได้ ห่างไกลโรค

โรคฝีดาษลิง ( Monkeypox ) อันตราย ต้องรู้ไว้ ป้องกันได้ถูกวิธี


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook