ทุกคนก็คงทราบกันดีว่า พฤติกรรมในการกินอาหาร ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ของสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการ กรดไหลย้อน ได้ แต่ถ้าหากเราไม่มีการป้องกัน ที่ดี ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ฉะนั้นมาดูวิธีป้องกันที่ถูกต้องกัน
สาเหตุที่สำคัญ อย่างหนึ่ง มาจากพฤติกรรม การกินอาหาร ที่ไม่ถูกต้อง และการใช้ชีวิต ในประจำวัน ที่มีการ เร่งรีบ ในสภาพ สังคมปัจจุบัน ถ้าหากปล่อย ให้เกิด อาการเรื้อรัง และรักษา ด้วยวิธี ที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะ นำไปสู่ การเกิด หลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือ หลอดอาหารตีบ เป็นต้น ซึ่งอาจ เพิ่มความเสี่ยง ในการเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ แม้โอกาสเกิด จะไม่มากนัก ก็ตาม ซึ่งผู้ที่มี ภาวะ กรดไหลย้อน ก็จะรู้สึก จุกเสียด บริเวณ ใต้ลิ้นปี่ ปวดแสบ หรือ ปวดร้อน บริเวณอก บ่อยครั้ง และมีอาการ จุกเสียดแน่น คล้าย ๆ อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมี น้ำรสเปรี้ยว หรือขม ไหลย้อน ขึ้นมา ในปาก และคอ ไปจนถึง กลืนอาหาร ได้อย่าง ยากลำบาก
โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่เกิดจากสิ่งที่ย้อนจาก กระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร โยส่วนใหญ่มักจะเป็น กรดในกระเพาะอาหาร หรืออาจเกิดจากด่าง หรือแก๊สก็เป็นได้ ซึ่งอาจมี หรือไม่มีอาการของ หลอดอาหารอักเสบ ซึ่ง โรคกรดไหลย้อน หรือภาวะนี้ ไม่ใช่โรคแปลกสำหรับทุกคน เพราะเป็น โรค กรดไหลย้อน ที่มักพบบ่อย และมีอัตราการพบผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุของ อาการ กรดไหลย้อน
- เกิดจากการรับรึความรู้สึกของ หลอดอาหาร ที่ไวกล่าปกติ
- เกิดจากความผิดปกติ ของการบีบตัวของ กระเพาะอาหาร หรือ หลอดอาหาร
- หลดอาหารส่วนปลาย ที่คลายตัวบ่อย กว่าคนที่ไม่มีภาวะ กรดไหลย้อน
ไม่ใช่คนวัยทำงาน เพียงเท่านั้น ที่เสี่ยงกับโรค กรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน ที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยง อย่างเช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ดื่มสุรา สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคผิวหนังแข็ง เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน อย่างเช่น ยารักษาโรคกระดูกพรุน สูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า ซึ่งในสำหรับเด็กนั้น สามารถพบได้ตั้งแต่วัยทารก จนถึงเด็กโต อาการที่พบได้บ่อย เช่น โลหิตจาง หอบหืด ไอเรื้อรัง อาเจียนบ่อยหลังดูดนม ปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งในเด็กบางราย อาจจะมีปัญหาการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ได้
อาการหลักของโรค กรดไหลย้อน
- มีอาการเรอเปรี้ยว เพราะมีกรด ซึ่งเป็นน้ำที่มีรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อน ขึ้นมายังปาก
- มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ และจึงลามขึ้นมาบริเวณหน้าอก หรือลำคอ ซึ่งอาการจะชัดเจนมากขึ้น หลังจากรับประทานอาหาร มื้อหนัก
หากรักษา กรดไหลย้อน แล้วจะกลับมาเป็นอีกไหม
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะให้ทานยาลดการหลั่ง ของกรดเป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่ง มักจะมีโอกาสกลับมามีอาการอีกได้ ดังนั้นการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์มักจะให้ยากลุ่มเดิม เป็นระยะ ๆ 4 – 8 สัปดาห์ หรือให้ยาตามอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มี อาการเรื้อรัง อาจจะพิจารณาในการตรวจเพิ่มเติม อาทิเช่น การส่องกล้องการตรวจความเป็นกรด ด่าง ในหลอดอาหาร หรือการตรวจการทำงานของหลอดอาหาร นั้นเอง
ปฏิบัติตัวเมื่อเป็น กรดไหลย้อน
สิ่งที่สำคัญ และง่ายที่สุด ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิต ดังนี้
- ไม่ควรรับประทานอาหาร แล้วนอนทันที เราควรเดิน หรือขยับร่างกายหลังอาหาร และควรเข้านอนหลังรับประทานอาหาร แล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อย โดยเฉพาะผู้ที่มี อาการ กรดไหลย้อน เวลากลางคืน
- ควรระวังน้ำหนักร่างกาย ไม่ให้เกินมาตรฐาน ซึ่งควรหมั่นออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ
- ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ และอาหารที่มีรสจัด
- กรณีที่เรามีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็ควร ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก
โรคกรดไหลย้อน แม้จะไม่ร้างแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลร้ายทางร่างกาย และคุณภาพชีวิตรวมถึงการทำงาน งานอดิเรก และการใช้ชีวิตประจำวัน หากทำเบื้องต้นแล้ว แต่ยังมีอาการอยู่ ก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรค กรดไหลย้อน ลุกลาม และเป็นเรื้อรังได้
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :