MWWellness ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน?

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน?

MWWellness สำหรับวันนี้จะพาทุกๆ คนมารู้จักอาการ ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ว่าอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน? รวมถึงวิธีในการป้องกัน และดูแลตนเองด้วย

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน?

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน?


สำหรับวันนี้จะพาทุกๆ คนมารู้จักอาการ ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ว่าอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน? รวมถึงวิธีในการป้องกัน และดูแลตนเองด้วย

 

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ คืออะไร?

ติ่งเนื้องอกในสำไส้ใหญ่ นั้นเป็นการเจริญเติบโต ของก้อนเนื้อ ที่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณ ผนังลำไส้ใหญ่ โดยมีลักษณะ จะเหมือนก้อนเล็กๆ ที่ยื่นออกมา จากบริเวณผนังลำไส้ บางครั้งก็จะมีลักษณะ เหมือนเห็ด บางครั้ง ก็มีรูปร่างแบน ขนาดของติ่งเนื้อ ก็จะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ที่มีขนาด 2 – 5 มิลลิเมตร ไปจนกระทั่ง ใหญ่หลายเซ็นติเมตร สามารถเกิดขึ้นได้ ในหลายๆ จุด ตลอดทางเดินอาหาร แต่ว่าพบบ่อยที่สุด ก็คือ บริเวณลำไส้ใหญ่ นั่นเอง

 

ติ่งเนื้องอก ในบริเวณลำไส้ใหญ่ ก็สามารถพบได้บ่อยๆ ในผู้ใหญ่ นั่นเพราะเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราก็จะมีโอกาสพบ ติ่งเนื้อลักษณะนี้ ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยสามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ แต่นั่นก็ยังมีโอกาสมากๆ ที่สามารถพบ การเกิดติ่งเนื้องอก ในบริเสณลำไส้ใหญ่ ได้สูงมากถึง 25% อีกด้วย

 

สาเหตุ ของการเกิด ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

สำหรับสาเหตุที่แน่ชัดนั้น ก็ไม่สามารถระบุได้ ในอาการการเกิดติ่งเนื้องอก ภายในบริเวณลำไส้ใหญ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางราย นั้นก็เชื่อว่า การทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง การทานอาหารกากใยน้อย อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญ ของการก่อตัวของติ่งเนื้อ หรืออาจเป็นในเรื่องของพันธุกรรม ก็ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่อาจจะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้

 

 ผู้ที่มีความเสี่ยง ของการเกิด ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

1. อายุมากกว่า 50 ปี

2. มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

3. ผู้ที่มีประวัติเคยมีติ่งเนื้อ หรือเป็นมะเร็ง ก็อาจมีความเสี่ยง ที่มันจะเกิดติ่งเนื้อที่ใหม่ได้อีก

4. การมีติ่งเนื้อ หรือมะเร็งบางชนิด ที่อาจเป็นกรรมพันธุ์ อาจเพิ่มความเสี่ยง ที่อาจจะทำให้เกิดขึ้นได้แม้อายุยังไม่มาก

 

 

ติ่งเนื้อ นั้นมีกี่ชนิด?

โดย ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ มี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

- ติ่งเนื้อชนิด hyperplastic เป็นติ่งเนื้อชนิดที่ไม่เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง

- ติ่งเนื้อชนิด adenoma เป็นชนิดที่ต่างเชื่อกันว่า นี่เป็นขั้นเริ่มแรก ของการเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ว่าติ่งเนื้อชนิด adenoma ส่วนใหญ่ มันก็ไม่ได้กลายเป็น มะเร็งเสมอไป แต่ก็สามารถพบว่า ติ่งเนื้อ ที่มีขนาดใหญ่ๆ นั้นก็มีโอกาสเป็นมะเร็ง ได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ การที่จะแยกให้ออกว่าติ่งเนื้อ นั้นเป็นชนิดใดๆ ที่ทำได้ โดยการตรวจชิ้นเนื้อ และเนื่องจากแพทย์ ก็ไม่สามารถบ่งชี้ชนิดของติ่งเนื้อได้อย่างแม่นยำ จากการส่องกล้องเท่านั้น แพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องตัดเอาติ่งเนื้อออกมาตรวจ ยกเว้นว่า ติ่งเนื้อ นั้นมีขนาดเล็กมากๆ และมีรูปแบบเหมาะ กับ hyperplastic เท่านั้น ที่จะสามารถละไว้ได้

 

การตัดติ่งเนื้อจากสำไส้ได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด

หากเมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อ ที่ได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จึงสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก ก่อนที่ติ่งเนื้อเหล่านั้น จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในอนาคต ด้วยเทคนิคการผ่าตัด โดยทำผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีที่ติ่งเนื้อใหญ่มากๆ นั้นสามารถใช้วิธี ที่มีชื่อเรียกว่า Endoscopic Submucosal Dissection หรือว่า ESD ที่ทำให้สามารถ ตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ที่แม้ว่าบางส่วน จะมีการกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่ว่ามันยังไม่มีการลุกลาม ไปยังต่อมน้ำเหลืองออกได้ ทำให้ผู้ป่วยก็ไม่ต้องมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง โดยหลังจากการผ่าตัดผ่านกล้องแล้ว ทางผู้ป่วยก็ควรเข้ารับการส่องกล้อง เพื่อเป็นการติดตามดูอาการอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้เกิดผลดีที่สุด

 

สำหรับการส่องกล้อง เพื่อเป็นการตรวจหาติ่งเนื้อ นั้นเปรียบเสมือนการตรวจเช็คร่างกายของคุณ โดยไม่ต้องรอ ให้มันเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะกลุ่มคน ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือว่ามีประวัติ คนในครอบครัว เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการส่องกล้อง เพื่อตรวจทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และคุณควรเลือกตรวจกับแพทย์ ที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญ ในการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยที่แม่นยำ พร้อมกันนี้ ควรลดพฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ให้แก่ลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย อย่างเช่น รับประทานอาหาร ที่ไม่ได้ปรุงสุก ไม่ได้ทำสดใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดง และไส้กรอกต่างๆ

 

การวินิจฉัย อาการติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

สำหรับในการตรวจวินิจฉย นั้นสามารถ ทำได้หลายๆ วิธี เช่น

1. การตรวจอุจจาระเพื่อเป็นการหาเลือดแฝง

2. การส่องกล้องตรวจ ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) เพื่อดูลำไส้ส่วนล่าง

3. การตรวจทางรังสี อาทิ การสวนทวารด้วยแบเรียม หากการตรวจทำให้พบติ่งเนื้อ ที่มีความน่าสงสัย แพทย์ก็มักแนะนำให้ผู้ป่วย นั้นเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อนำติ่งเนื้อออกมา และเนื่องจาก colonoscopy นั้นเป็นวิธีที่แม่นยำมากที่สุด ในการตรวจหาติ่งเนื้อ ปัจจุบันก็มี ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ราย จึงได้แนะนำให้ colonoscopy เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรอง อีกทั้งวิธีนี้ เมื่อได้ตรวจพบติ่งเนื้อ ที่มีความน่าสงสัยแล้ว ก็สามารถตัดออกมาได้ในทันที เพื่อทำการทำหัตถการเดียวกัน

 

และเหล่านี้ก็เป็นอาการและแนวทางในการรักษา ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ที่เราได้นำมาฝาก ที่สำคัญอย่าลืมเริ่มต้น ที่จะดูแลตัวคุณเองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปนะ

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ดีท็อกซ์ ล้างลำไส้ ช่วยสร้างสมดุลให้ชีวิต

ทำความรู้จัก Live Blood คืออะไร และ บอกอะไรเกี่ยว กับ สุขภาพของคุณได้บ้าง ?


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook