หากคุณชอบแคะหูระวัง! แคะผิดวิธีเสี่ยงอันตราย และกำจัดขี้หูอย่างปลอดภัย ถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรม ที่เราควรให้ความสำคัญและควรใส่ใจ นั่นก็คือ การแคะขี้หู นั่นเอง หากแคะผิดวิธี อาจเสี่ยงให้การได้ยินของเราผิดปกติ และก่อให้เกิดอันตรายได้
หลาย ๆ คนพยายามแคะขี้หูออก เพราะเข้าใจว่า ขี้หู เป็นเพียงสิ่งสกปรก ที่ต้องกำจัดออก แต่การแคะหู อาจเป็นอันตราย และกระทบต่อการได้ยินของเราได้ เพราะจริง ๆ แล้วขี้หู เป็นกลไกของร่างกาย ที่ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอม ฝุ่นผง ไปจนถึงแมลง ที่เข้ามาในหูนั่นเองค่ะ ซึ่งคนส่วนใหญ่ มักจะใช้ไม้แคะหู หรือก้านสำลี ในการกำจัด หรือแคะขี้หูออก ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหูชั้นใน และแก้วหูทะลุได้ อีกทั้งในบางครั้ง ขี้หู ที่มีปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้เช่นกันค่ะ
ขี้หูคืออะไร
ขี้หู หรือจะเรียกว่า ขี้ไคลในช่องหู ( Earwax หรือ ศัพท์การแพทย์ เรียกว่า Cerumen ) เกิดมาจาก ต่อมสร้างขี้หู ( Ceruminous gland ) ที่คั่นอยู่ระหว่าง ช่องหูชั้นนอก ( External ear canal ) กับเยื่อแก้วหู ( Eardrum ) น้ำมันที่ขับออกมาจากต่อมผลิตขี้หูนี้ จะไหลไปตามช่องหูอย่างช้า ๆ รวมกับไขมัน ที่ผลิตจากต่อมเหงื่อ ( Sebaceous gland ) ผิวหนัง หรือเยื่อบุช่องหู ที่หลุดลอก ( Ketatin ) ฝุ่น และเหงื่อ กลายเป็นขี้หู โดยตามธรรมชาติแล้ว ขี้หู จะถูกผลักดัน ออกสู่ภายนอกช่องหู วันละเล็กน้อย โดยการเคลื่อนตัวของเซลล์ผิวหนัง ชั้นผิวที่ปกคลุม หูชั้นนอกอยู่ เราจึงไม่จำเป็นจะต้องใช้วิธีแคะ เขี่ย หรือล้างทำความสะอาด ข้างในในรูหูแต่อย่างใด
ขี้หู ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ขี้ไคลธรรมดา ๆ เพราะขี้หู มีหน้าที่สำคัญ คือ
- เป็นยาฆ่าเชื้อ ขี้หู มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย ที่ล่วงล้ำเข้าไป ในรูหูได้ จึงช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ของผนังรูหู จนลามเข้าไปสู่ หูส่วนกลาง และส่วนในได้
- ป้องกันสิ่งแปลกปลอม ที่จะเข้าหู เช่น แมลง เศษผง หรือฝุ่นละออง ที่อาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องหู
- ช่วยหล่อลื่น และเคลือบผนังหู ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการอักเสบ ในช่วงฤดูหนาว ผิวหนังมักจะแห้ง เป็นขุยขาว ๆ ซึ่งเกิดจากความชื้น ในอากาศต่ำ ผิวหนังจึงแห้ง แตก และคัน จึงอาจต้องทาครีมช่วย แต่ผิวหนังในของรูหูนั้น บางกว่าผิวปกติมาก จึงต้องมีน้ำมัน คอยเคลือบอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้น ก็อาจจะแห้ง จนแตกระแหง และเกิดการติดเชื้อตามมาได้
ขี้หู แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ขี้หูแห้ง ( Dry Cerumen )
- ขี้หูเปียก ( Wet Cerumen ) โดยที่ขี้หูเปียก จะมีไขมัน และเม็ดสีมากกว่าขี้หูแห้ง จึงมีความเหนียว และมีสีที่เข้มกว่า นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า เชื้อชาติที่แตกต่างกัน อาจเป็นสาเหตุให้ มีลักษณะขี้หู ที่ต่างกันด้วย เช่น ชาวผิวเหลือง และอินเดียนแดงส่วนใหญ่ จะมีขี้หูแห้ง แต่ว่าชาวผิวขาว และชาวผิวดำส่วนใหญ่ จะมีขี้หูเปียก ส่วนปริมาณของขี้หู ในแต่ละคนนั้น ก็มีความแตกต่างกันออกไป
การแคะหู จำเป็นไหม ?
ขี้หูของคนเรานั้น สามารถช่วยปกป้องช่องหู และส่วนใหญ่สามารถจะหลุดออกได้เองตามธรรมชาติ แต่ในบางกรณี ที่ขี้หูอาจจะไม่หลุดออกเอง และสะสมจนกลายเป็นก้อนขี้หูที่มีขนาดใหญ่ แข็ง และเหนียว ทำให้เกิดภาวะขี้หูอุดตัน และส่งผลให้มีอาการหูอื้อ ปวดหู ได้ยินเสียงในหู ได้ยินเสียงลดลงได้ ด้วยเหตุนี้ การกำจัดขี้หูจึงถือว่ามีความจำเป็นในบางกรณีเท่านั้น
แคะหู อย่างไรให้ถูกวิธี?
วิธีที่ดีที่สุด คือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหู เพื่อที่จะได้รับการดูแล และทำความสะอาดหูอย่างถูกต้อง และปลอดภัยที่สุด อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปพบคุณหมอได้ ก็ยังสามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ได้เช่นกันค่ะ
วิธีแคะหูอย่างปลอดภัย
อย่างที่เราได้กล่าวไป ว่าการใช้ไม้แคะหู หรือว่า การใช้ก้านสำลีในแคะเอาขี้หูออก อาจจะทำให้ขี้หูเข้าไปลึกมากขึ้น หากสอดเข้าไปลึกเกิน หรือออกแรงมากไป อาจทำให้แก้วหูบาดเจ็บ ทะลุ มีเลือดออก หรือหูหนวก นอกจากนี้ บางคนอาจใช้เทียนหู หรือใช้เทียนละลายขี้หู ( Ear Candle ) ในการกำจัดขี้หูออกจากช่องหู แต่วิธีนี้ ไม่ช่วยในการกำจัดขี้หูแต่อย่างใด และอาจทำให้แก้วหูทะลุ และหูหนวกได้
หากต้องการกำจัดขี้หูอาจลองใช้วิธีต่อไปนี้
1. เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหูภายนอก บริเวณใบหูทั้งหน้าและหลัง
2. ใช้ดรอปเปอร์ หรือที่หยดน้ำ หยดเบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ลงไปในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความชื้นและอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้โดยง่าย
3. เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ค่อย ๆ แหย่ก้านสำลี หรืออุปกรณ์แคะหูเข้าไปทีละนิด อย่างเบามือ
4. เมื่อแคะขี้หูออกมาได้มากที่สุดแล้ว ทำความสะอาดหูด้วยน้ำสะอาด หรือเบบี้ออยล์อีกครั้ง แล้วเช็ดให้แห้ง
หากคุณทราบแบบนี้แล้ว การแคะหูให้ถูกวิธี นับเป็นเนื่องที่เราละเลยไม่ได้เลยนะคะ หากเราไม่ระมัดระวัง ก็จะส่งผลถึงการได้ยินของเราด้วย ทุกท่านสามารถติดตาม ข้อมูลข่าวสารดี ๆ เพื่อสุขภาพ ได้ที่ www.mw-wellness.com ได้เลยค่ะ มีสาระน่ารู้ พร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพ ที่พร้อมช่วยให้ทุกท่านมีสุขภาพที่ดีแล้วค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :