MWWellness คาโรชิ ซินโดรม โรคทำงานหนักจนตาย ที่ไม่ควรมองข้าม

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร คาโรชิ ซินโดรม โรคทำงานหนักจนตาย ที่ไม่ควรมองข้าม

MWWellness ในยุคของ วัยทำงาน ที่กลับบ้านดึก ๆ นอนไม่พอ หรือโดนกดดดันจากที่ทำงาน ไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้เสี่ยงภาวะ คาโรชิ ซินโดรม ( Karoshi Syndrome ) เป็น โรคทำงานหนักจนตาย เสี่ยงต่อ สุขภาพ ร่างกาย ที่ทุกคน ไม่ควรมองข้าม

คาโรชิ ซินโดรม โรคทำงานหนักจนตาย ที่ไม่ควรมองข้าม

คาโรชิ ซินโดรม โรคทำงานหนักจนตาย ที่ไม่ควรมองข้าม


ในยุคของ วัยทำงาน ที่กลับบ้านดึก ๆ นอนไม่พอ หรือโดนกดดดันจากที่ทำงาน ไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้เสี่ยงภาวะ คาโรชิ ซินโดรม ( Karoshi Syndrome ) เป็น โรคทำงานหนักจนตาย เสี่ยงต่อ สุขภาพ ร่างกาย ที่ทุกคน ไม่ควรมองข้าม

karoshi-syndrome-fatal-overwork-disease-that-should-not-be-overlooked

เป็นภาวะที่ มนุษย์ทำงาน โรคฮิตชาวญี่ปุ่น หรือ มนุษย์ทำงาน ทั่วโลก ที่ประสบมา อย่างยาวนาน หลายปี เราอาจเคยได้ยิน กันมาบ้างว่า “งานหนัก ไม่เคยทำให้ใครตาย” ในแง่ของ ความพยายาม อาจจะมี ส่วนจริงส่วนหนึ่ง แต่ ในทางปฏิบัติจริง นั้น เรื่องของ สุขภาพ หลังการทำงานหนัก ที่มาก จนเกินไป จนละเลย เรื่องของ สุขภาพ สามารถฆ่าคนตาย ได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางตรง หรือ ทางอ้อม นั่นเอง

คาโรชิ ซินโดรม ภาวะทำงานหนักจนตาย คาโรชิ ( Karoshi ) เป็นที่ เริ่มพูดถึงกัน ในสังคมญี่ปุ่น หลังจากมีข่าว พนักงานหญิงอายุ 31 ปี ของสถานีโทรทัศน์ชื่อดัง เสียชีวิตด้วย ภาวะหัวใจล้มเหลว ถึงแม้ว่า จะมีอายุเพียง 31 ปี ต่อมา ทราบภายหลังว่า ก่อนหน้านี้ เธอทำงานล่วงเวลา อย่างหนัก  แล้วยังมี พนักงานบริษัทชาย ที่ฆ่าตัวตาย จาก สภาวะตึงเครียด จากการทำงาน ให้กับ เอเจนซี่ชื่อดัง ระดับประเทศ เช่นเดียวกัน

ดังนั้น โรคคาโรชิ หรือ คาโรชิ ซินโดรม ภาวะทำงานหนักจนตาย หรือ ที่หลาย ๆ คน เรียกสั้น ๆ ว่า “โรคบ้างาน” จึงไม่ได้ระบุว่า เป็นโรคใด โรคหนึ่ง หากเรียกแต่ ภาวะที่ร่างกาย อ่อนเพลีย อย่างหนัก จากการทำงาน ที่มาก จนเกินไป จนอาจนำไปสู่ สาเหตุของการ เสียชีวิตในภายหลังได้ นั่นเอง

 

สาเหตุของ โรค คาโรชิ ซินโดรม

บอกง่าย ๆ ว่า คาโรชิ ซินโดรม ( Karoshi Syndrome ) เกิดขึ้นได้ จากการ ทำงานหนัก จนเกินไป จน ไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งหมายถึงทั้ง ร่างกาย  และ จิตใจ หากคุณมี พฤติกรรมเหล่านี้ คุณอาจจะ กำลังเสี่ยงกับ คาโรชิ ซินโดรม หรือ โรคบ้างาน ดังนี้

- ทำงานล่วงเวลา ที่ติดต่อกัน เป็นเวลายาวนาน

- เริ่มงานเร็ว กลับบ้านช้า กว่าปกติ ติดต่อกัน เป็นเวลานาน

- แทบจะไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะ ลาป่วย หรือ ลาพักร้อน

- อยู่ใน ภาวะตึงเครียด ตลอดเวลา แทบไม่มีเวลาคิดเรื่องอื่น นอกจากงาน

- นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอน หรือ หลับไม่สนิท

- เริ่มมีเวลาให้กับ คนรอบข้างน้อยลง อย่างเช่น ไม่ค่อยได้เจอคนรัก เพื่อน หรือ ครอบครัว

 

รู้ทัน ป้องกันได้ ไม่ให้เป็น คาโรชิ ซินโดรม ( Karoshi Syndrome )

- ทำงานล่วงหน้า เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมง ต่อวัน ถ้าหากมี ปัญหานอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์

- หาเวลาผ่อนคลายสมอง ด้วยการ ทำกิจกรรมที่ชอบ อย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำอาหาร หรือ ท่องเที่ยว

- ทำกิจกรรมร่วมกับ คนในครอบครัว หรือ พบปะเพื่อนฝูง

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

- ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือ คิดเรื่องงาน ที่บ้านมากจนเกินไป

 

รู้แบบนี้ หากรู้สึกว่ามี อาการ คาโรชิ ซินโดรม ( Karoshi Syndrome ) ที่คุณทำงาน มากจนเกิน ความพอดี ก็ควรรีบ หาทางออก ให้กับปัญหา ที่จะเกิดขึ้น อย่ารอให้เสีย สุขภาพ แล้วจึงค่อย คิดหาทางแก้

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ลดไขมันในเลือดได้ง่าย ๆ เพียงแค่รู้จัก การคุมอาหาร

สาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิด ท้องเสีย ท้องร่วง ที่ไม่ควรมองข้าม

 


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook