MWWellness โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม

MWWellness การทาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า you are what you eat รวมไปถึง การทานอาหารที่มี รสเค็มจัด นั่นเอง ที่เป็นเหตุ โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม

โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม

โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม


การทาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า you are what you eat รวมไปถึง การทานอาหารที่มี รสเค็มจัด นั่นเอง ที่เป็นเหตุ โรคไต ภัยร้าย ที่มาจาก ความเค็ม

 

ซึ่งการบริโภคโซเดียม ในปริมาณที่มากเกิดปกติ และปรุงรสชาติอาหารให้มีรสเค็ม นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมสูง 2-3 เท่าของปริมาณที่ร่างกายนั้นต้องการ โดยการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ก็มีผลเสียทำให้ความดันโลหิตสูง มีผลเสียต่อไตโดยตรง นอกจากนี้ก็ยังทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย และยังมีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อีกด้วย

 

โดยจะเห็นได้ว่าการกินเค็ม (โซเดียม) ที่มากเกินไปจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคไต เรื้อรังมากขึ้นในอนาคต รวมถึงการทานเค็มมากในคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็ยิ่งจะทำให้เกิดอาการมากขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก ในปัจจุบันจึงได้มีการรณรงค์ให้ลดการบริโภคเค็มกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ทุกท่านมีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง นั่นเอง

 

 

อาหารที่มีโซเดียมสูง นั้นมีอะไรบ้าง ?

ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น

- น้ำปลาหวาน 1 ถ้วยใส่กุ้งแห้ง มีโซเดียม 5,900 มิลลิกรัม

- ปลาเค็ม 100 กรัม มีโซเดียม 5,327 มิลลิกรัม

- กุ้งแห้งแบบมีเปลือก 100 กรัม มีโซเดียม 3,240 มิลลิกรัม

- ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว 1 จาน มีโซเดียม 1,200  มิลลิกรัม

- ส้มตำปูไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม

- ข้าวมันไก่ 1 จาน มีโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม

- ผัดไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,100 มิลลิกรัม

- ผักกาดดอง 1 กระป๋อง มีโซเดียม 1,720 มิลลิกรัม

- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 1,100-1,800 มิลลิกรัม/ซอง

- ไข่เค็ม มีโซเดียม 480 มิลลิกรัม/ฟอง

- ไส้กรอกหมู 1 ไม้ มีโซเดียม 350 มิลลิกรัม

 

เครื่องปรุงรส เทียบกับ ปริมาณ 1 ช้อนชา

- เกลือ 2,000 มิลลิกรัม

- ผงปรุงรส 500 มิลลิกรัม

- ผงชูรส 490 มิลลิกรัม

- ซีอิ๊วขาว 460 มิลลิกรัม

- น้ำมันหอย 450 มิลลิกรัม

- น้ำปลา 400 มิลลิกรัม

- ซอสปรุงรส 400  มิลลิกรัม

- ซอสพริก 220 มิลลิกรัม

- ซอสมะเขือเทศ 140 มิลลิกรัม

 

 

 

โรคไต คืออะไร ?

 

ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อย ๆ สูญเสียความสามารถ ในการทำงานลงไป จนกระทั่งเสื่อมสภาพและไม่สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีก โดยสามารถแบ่งโรคไตวายเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะ ตามค่าการทำงานของไต หรือ eGFR (Glomerular Filtration Rate) เมื่อเนื้อไตนั้นถูกทำลาย การทำงานก็เสื่อมหน้าที่ลง จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

 

 

 

 

อาการของโรคไต มีอาการอย่างไร ?

 

เนื่องจากว่า ไต เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเอง ให้กลับมาสมบูรณ์ได้ หากการเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรก ๆ ผู้ป่วยโรคไต นั้นไม่มีสัญญาณของโรค แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้าย ๆ ที่ ไต นั้นได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุด ก็อาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไต ที่ปรากฏได้ มีดังนี้

- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีสีผิดปกติ เป็นต้น

- ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

- มีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากทาน

- ตัวบวมเนื่องจากมีน้ำและเกลือในร่างกายปริมาณมาก

- ปวดหลัง ปวดบั้นเอว

 

คำแนะนำ

วิธีการปรับพฤติกรรมสำหรับการรับประทานอาหาร เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมในแต่ละวันเกิน มีดังนี้

- รับประทานอาหารสด ปรุงอาหารโดยเติมเกลือ นํ้าปลา หรือว่า ซอสปรุงรสต่าง ๆ เท่าที่ปริมาณกำหนดต่อวัน เพื่อให้คุณคุ้นเคยกับรสชาติของอาหาร

- อาหารที่ขาดรสเค็ม จืดชืด อาจทำ ให้ไม่น่าชวนรับประทาน ปรับรสชาติใหม่ โดยการปรุงให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ด ใส่เครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ช่วยให้ มีกลิ่นหอม และน่ารับประทานมากขึ้น หรือปรุงให้มีสีสันสวยงาม

- ลด เลิกการใส่ผงชูรสในอาหาร

- หลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ อาหารหมักดอง อาหารกระป๋องต่าง ๆ อาหารอบแห้ง หรือแช่อิ่มในกระบวนการเตรียม/ปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน  หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม อาทิ หมูเค็ม, เบคอน, ไส้กรอก, ผักดอง, มัสตาร์ด และเนยแข็ง หลีกเลี่ยงพวกอาหารตากแห้ง ไม่ว่าจะเป็น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส

- ลดความถี่ของการบริโภคอาหาร ที่จะต้องมีนํ้าจิ้ม อาทิ สุกี้ หมูกระทะ รวมทั้งลดปริมาณของนํ้าจิ้มที่บริโภคด้วย

- เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ ให้มากขึ้นให้ได้รวมวันละ 400 กรัมต่อวัน

- ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้ทานจืดลง ไม่เติม เพิ่มบนโต๊ะอาหาร อาทิ ไม่ใส่นํ้าปลาพริก หรือว่า จิ้มพริกเกลือ เครื่องจิ้ม เมื่อรับประทานผลไม้ ที่สำคัญควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ควรมีเกลือ นํ้าปลา หรือ ซอสปรุงรสต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร นั่นเองค่ะ

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ปัสสาวะมีกลิ่นแรงผิดปกติ แบบนี้เสี่ยงโรคหรือเปล่า

โรคเกาต์ ( Gout ) ความเจ็บปวด ที่เรา ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook