MWWellness โรคเกาต์ ( Gout ) ความเจ็บปวด ที่เรา ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โรคเกาต์ ( Gout ) ความเจ็บปวด ที่เรา ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้

MWWellness หลาย ๆ คน อาจจะเคย ประสบปัญหา หรือว่า เคยเป็น โรคเกาต์ ( Gout ) มาก่อน แต่ว่า ความเจ็บปวด ความทรมาน เหล่านี้ เราก็สามารถ ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ ไปดูกันเลย

โรคเกาต์ ( Gout ) ความเจ็บปวด ที่เรา ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้

โรคเกาต์ ( Gout ) ความเจ็บปวด ที่เรา ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้


โรคเกาต์ ( Gout ) คือ อะไร ?

โรคเกาต์ ( Gout ) คือ โรคข้ออักเสบจำเพาะ ที่เกิดมา เนื่องจาก มีระดับ ของ กรดยูริก ในเลือด ที่สูงกว่าปกติ ทำให้เกิด การตกผลึกยูเรต ( Monosodium Urate, MSU ) ในข้อต่อ ภายในร่างกาย จนก่อให้เกิด อาการข้ออักเสบขึ้น ถ้าหากมี การตกตะกอนขึ้น ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ และบริเวณ ใต้ผิวหนัง ก็จะเกิด เป็นก้อน แบบตะปุ่มตะป่ำ ขึ้นตามตำแหน่งต่าง ๆ มีชื่อเรียกว่า โทฟัส ( Tophus )

 

ปัจจัย การเกิด โรคเกาต์ ( Gout )

โรคเกาต์ ( Gout ) ถือเป็นโรคข้ออักเสบ ที่พบบ่อย ๆ ได้มากที่สุด ในผู้ป่วยชาย ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยพบในเพศชาย มากกว่าเพศหญิง โดยเป็นสัดส่วน 9 : 1 โดยในเพศชาย นั้นมักพบ ในช่วงอายุ ระหว่าง 30 - 50 ปี ซึ่งเพศหญิง นั้นพบได้มากขึ้น ในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี หรือว่า วัยหลังหมดประจำเดือน

 

ภาวะกรดยูริก ในเลือดสูง นั้นหมายถึง ภาวะที่มีกรดยูริกที่สูง จนผิดปกติมากกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน โดยค่าสูงสุด ที่ยังถือว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในเพศชาย ก็คือ 7.0 มก./ดล. และเพศหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน นั้นคือ 6.0 มก./ดล. หรือ หากมีระดับกรดยูริก ในเลือดสูงกว่า 6.8 มก./ดล. เมื่ออิงไป ตามคุณสมบัติทางเคมี

 

อาการ ของ โรคเกาต์ ( Gout ) สังเกตุได้จาก

 

1.ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

เป็นลักษณะเด่น ๆ ของโรคในระยะนี้ คือ การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันที่บริเวณข้อในส่วนล่างของร่างกาย โดยการเกิดครั้งแรกมักเกิดที่บริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือที่ตำแหน่งข้อเท้า

 

2.ระยะที่ไม่มีอาการข้ออักเสบและเป็นระยะเป็นซ้ำ

ในระยะนี้ผู้ป่วย นั้นจะมีอาการปกติทุกอย่าง มักมีประวัติข้ออักเสบในระยะเฉียบพลันมาก่อน ระยะเวลาตั้งแต่การมีข้ออักเสบตั้งแต่ครั้งแรกถึงระยะต่อไปอาจกินเวลาแตกต่างกันในแต่ละราย ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจมีโอกาสเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 1 - 2 ปี หากเมื่อเป็นซ้ำบ่อยๆ จำนวนข้ออักเสบก็จะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยระยะเวลาในแต่ละครั้งที่มีข้ออักเสบยาวนานขึ้น นั่นอาจมีอาการทางกายอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น อาการไข้

 

3.ระยะข้ออักเสบเรื้อรังจากโรคเกาต์

ลักษณะจำเพาะ นั้นคือ พบข้ออักเสบหลายข้อแบบเรื้อรังร่วมกับการตรวจพบก้อน ที่ได้เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ หรือที่เรียกว่า โทฟัส (tophus) บางครั้งอาจแตกออกมาเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายชอล์ก ตำแหน่งที่พบโทฟัสได้บ่อยนอกจากบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า คือ ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และอาจพบที่ใบหูร่วมด้วย ในระยะนี้จะพบข้ออักเสบหลายข้อ และอาจมีไข้จากการอักเสบได้

 

การรักษา โรคเกาต์ ( Gout )

 

1.การรักษาโรคเกาต์โดยที่ไม่ใช้ยา

นั้นประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเกาต์ เช่น

● การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และเครื่องดื่ม

● การรักษาโรคร่วมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ ภาวะไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, การสูบบุหรี่ เป็นต้น

● การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

 

2.การรักษาโดยการใช้ยา

โดยผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาในการใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

 

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

● งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

● หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ อาทิ ตับ ไต หัวใจ ปอด ไส้

● ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาทิ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน เป็นต้น

● หยุดนวด ทายา ประคบร้อนหรือว่าเย็น บริเวณที่มีอาการอักเสบของข้อ

● แนะนำให้รักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ อาทิ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน เป็นต้น

● รับประทานยาลดกรดยูริก และยาป้องกันเกาต์กำเริบได้อย่างต่อเนื่อง การขาดยาอาจทำให้โรคกำเริบได้

● ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากอะไร

ดูแล ตัวเอง เบื้องต้น เมื่อเป็น ไซนัสอักเสบ ( Sinusitis )

 


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook