MWWellness ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า

MWWellness การทานอาหารหรืออย่างที่เราทราบกันดีกว่า You are what you eat นั่นเอง เราจึงมี ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า เพื่อผู้อ่านทุกคน

ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า

ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า


การทานอาหารหรืออย่างที่เราทราบกันดีกว่า You are what you eat นั่นเอง เราจึงมี ข้อแนะนำ ในการปรับเพื่อเปลี่ยน การทานอาหาร สู่สุขภาพที่ดีกว่า เพื่อผู้อ่านทุกคน

 

โดยจากรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ ที่ค่อนข้างมีความเร่งรีบ ทำให้หลายๆ คน นั้นอาจจะมองข้ามความสำคัญ ของการรับประทานอาหาร ในการออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือว่า NCDs ( Non-Communicable Diseases ) อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือการลดภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเราขอแนะนำว่า คุณจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติ ในกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้สมดุลกันนั่นเอง

 

 

 

 

คำแนะนำที่ถูกต้องในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

การรับประทานอาหารให้หลากหลาย จัดสัดส่วนอาหารที่ทาน ในแต่ละมื้อให้ได้ตามจานอาหารเพื่อสุขภาพ ( Plate Mode l)

● 1 ส่วน โปรตีน ที่มีคุณภาพ อาทิ ไข่สุก ปลา เต้าหู้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

● 1 ส่วน ข้าวแป้ง และธัญพืช ที่ไม่ผ่านการขัดสี

โดยสามารถรับประทานนมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือในปริมาณ 240 มล. โดยปรับเปลี่ยนเพิ่มได้

 

การควบคุมพลังงาน และเพื่อในการกำหนดปริมาณอาหารที่คุณรับประทานในแต่ละมื้อ ในแต่ละวันนั้นให้เหมาะสม สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ โดยใช้หลักการ "จานอาหารสุขภาพ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎี 2 : 1 : 1  (ผัก 2 ส่วน : ข้าว 1 ส่วน : เนื้อสัตว์ 1 ส่วน)

 

● รับประทาน โปรตีน ให้มีปริมาณเพียงพอ รับประทานเนื้อสัตว์ เพื่อให้ครบในทุก ๆ มื้อ ให้มีปริมาณพอดีกับข้าว-แป้ง เลือกทานเนื้อสัตว์ส่วนที่ไม่ติดมัน โดยไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาทิ หมูยอ กุนเชียง แหนม ไส้กรอก แฮม เบคอน เป็นต้น

● รับประทานน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ที่ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม โดยการไม่ปรุงน้ำตาลเพิ่ม และลดความถี่ ในการดื่มเครื่องดื่มชงหวาน รวมถึงการอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อสินค้า

● ลดการรับประทานเค็ม โดยการลดการปรุงเพิ่ม ชิมก่อนปรุง จิ้มน้ำจิ้ม น้ำพริกแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการราดหรือรับประทานน้ำซุป น้ำแกง น้ำผัด รวมถึงลดความถี่ในการรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง

● ดื่มนม 1 - 2 แก้วต่อวัน เลือกนมจืดพร่องมันเนย หรือว่า การทาน นมจืดขาดมันเนย ถ้าหากไม่สามารถดื่มนมได้แนะนำเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย หรือการดื่มนมถั่วเหลืองเสริมแคลเชียมในสูตรหวานน้อย

● ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว หรือประมาณ 1.5 - 2 ลิตร

● ออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางจนถึงหนัก เพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต ( เพื่อทดสอบง่าย ๆ โดยการร้องเพลงได้ทันที แบบไม่ติดต่อกัน แต่ยังสามารถพูดได้ปกติ ) อย่างเช่น การไปแอโรบิค อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละ 40 - 50 นาที ต่อครั้ง เพื่อเป็นการช่วยลดความดันโลหิต โดยสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงได้

● เลือกรับประทานข้าว แป้ง และธัญพืชที่ไม่ผ่านขัดสี เพราะว่า มีใยอาหารสูง สามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ที่อาจเข้าสู่กระแสเลือด

● รับประทานผัก และผลไม้ อย่างน้อยๆ 400 กรัมต่อวัน แบ่งเป็นผักสด มื้อละ 2 ทัพพี หรือว่า ผักสุกมื้อละ 1 ทัพพี และผลไม้วันละ 2 - 3 จานเล็ก ( จานรองแก้วกาแฟ ขนาด 4 นิ้ว หรือ 6 - 8 ชิ้นพอดีคำต่อมื้อ ) เพื่อให้ได้รับใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่เพียงพอ

● รับประทานไขมันดี ที่ได้จากปลาทะเล อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง อย่างเช่น อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย พิสตาชิโอ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท วันละ 1 อุ้งมือ หรือว่า ประมาณ 30 กรัม เลือกสูตรอบ หรือการคั่วไม่มีน้ำมัน ไม่มีเกลือ ไม่เคลือบน้ำตาล

● หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

● เพื่อการรักษาระดับน้ำหนักตัว ให้มีความเหมาะสม

 

และนี่ก็เป็นเทคนิคการทานอาหารเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ คน โดยสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างง่ายดาย เพื่อคุณ และเพื่อสุขภาพของคุณ

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

การปลูกผมโดยตรง (DHI) คืออะไร แล้วมีประโยชน์อย่างไร?

โรคกรดไหลย้อน (GERD) คืออะไร และมีอาการอย่างไร?


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook