โทรศัพท์นี้ ถือเป็นของยอดฮิต ที่เราดูทั้งวัน ไหนจะคอมพิวเตอร์อีก วันนี้ จะพามารู้จัก คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม จ้องจอทั้งวัน ระวังจะเป็น อาการแบบนี้ได้ ไปดูเลย
สำหรับ โลกปัจจุบันนี้ ที่หลาย ๆ คน ต่างต้องใช้ การสื่อสารทางออนไลน์ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์, การประชุม, การค้าขาย รวมถึง ทำธุรกิจต่าง ๆ โดยผ่านการใช้จอคอมพิวเตอร์, แท็บเล็ท หรือ สมาร์ทโฟน โดยการใช้งานสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบมากมาย ต่อสุขภาพตา ทำให้เกิด อาการตาแห้ง เคืองตา ปวดบริเวณรอบ ๆ กระบอกตา ร่วมกับปวดกล้ามเนืื้อ ปวดไหล่ และต้นคอได้ กลุ่มอาการนี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS) นั่นเองค่ะ
Computer Vision Syndrome (CVS)
คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือว่า Computer Vision Syndrome คือ กลุ่มอาการทางตาและการมองเห็น ที่ได้เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการใช้งาน จากการศึกษาประเทศอเมริกา ได้รายงานว่าพบภาวะนี้ ได้มากถึง 90% ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชม. โดยไม่หยุดพัก
อาการ ของโรค คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
● อาการทางตา อย่างเช่น ตาแห้ง มีอาการแสบเคืองตา ปวดกระบอกตา ตาล้า ตาสู้แสงไม่ได้ โฟกัสได้ช้า หรือว่า ตาพร่ามัว นอกจากนั้น ก็ยังมีรายงานการศึกษาถึงความเสี่ยง ของการมีค่าสายตาสั้น ที่เพิ่มขึ้น ซี่งสัมพันธ์กัน กับระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์อีกด้วย
● อาการทางระบบกล้ามเนื้อ อย่างเช่น ปวดต้นคอ, ปวดไหล่, ปวดหลัง ปวดศีรษะ เป็นต้น
สาเหตุ ของโรค คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
● ปัจจัยจากดวงตา พบว่าการทำงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือว่า โทรศัพท์ ซึ่งเป็นการใช้สายตาระยะใกล้ถึงกลาง โดยธรรมชาติแล้ว จะต้องเพ่งกล้ามเนื้อตาเพื่อให้มองภาพคมชัด ส่งผลให้กระพริบตาลดลง ทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา มีอาการตาแห้งได้ง่าย ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ดูแล จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตา มีอาการตาแดงได้ นอกจากนี้ การใส่คอนแทกเลนส์ ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ตาแห้งได้ง่ายขึ้น ถ้าอาการตาแห้งเป็นมากๆ อาจเกิดกระจกตาถลอก หรือเกิดเป็นแผล ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ และส่งผลต่อการมองเห็นในที่สุด
● สิ่งแวดล้อมในห้องทำงาน อย่างเช่น แสงสว่างในห้องไม่เหมาะสม ระยะห่างจากจอ ที่ไม่เหมาะสม มีแสงสะท้อน ที่เกิดจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สัญญาณจากหน้าจอ ที่ไม่มีความสม่ำเสมอ ทำให้ภาพไม่คมชัด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เอง ที่ทำให้ตาต้องเพ่งมากขึ้น เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดตา หรือมีอาการตาพร่ามัวได้ ยังรวมถึง การอยู่ในห้องแอร์ปรับอากาศ ซึ่งมีความชื้นในอากาศน้อย ก็ส่งผล ทำให้ตาแห้งมากขี้น
● โต๊ะและเก้าอี้ ( Workstation ) ที่ไม่ได้ระดับเหมาะสม ก็จะส่งผลต่อท่าทางการนั่ง รวมถึงระดับสายตา ในการมองจอคอมพิวเตอร์ อาจจะต้องก้มหรือจะเงยมากเกินไป จึงเกิดอาการปวดเมื่อยหลัง, หัวไหล่ และต้นคอได้ง่ายอกด้วย
การป้องกัน โรค คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
1. ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์
● ปรับความสว่างของหน้าจอ ไม่จ้ามากจนเกินไปจนแสบตา
● ปรับสีของตัวอักษร และพื้นหลังให้มองเห็นได้คมชัด โดยมาตรฐานที่แนะนำคือ ตัวอักษรสีเข้ม บนพื้นสว่าง จะมองได้สบายตาที่สุด
● ใช้แผ่นกรองแสงติดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยให้มองภาพได้สบายตา ลดอาการตาล้าได้
2. ปรับสถานที่และโต๊ะที่นั่งทำงานคอมพิวเตอร์
● ระยะห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถึงระดับสายตา นั้นควรมีระยะประมาณ 20 - 28 นิ้ว
● ปรับระดับหน้าจอให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 5 - 6 นิ้ว เพื่อช่วยให้ขณะทำงาน ศีรษะตั้งตรง สายตาอยู่ในท่ามองลงต่ำเล็กน้อย จะเป็นการลดการเปิดกว้างของตา ช่วยลดอาการตาแห้ง ปวดคอ ปวดไหล่ จากการก้มหรือว่าเงยที่มากเกินไปได้
● แป้นพิมพ์และเม้าส์ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับข้อศอก และควรวางให้อยู่ในระยะที่ใกล้ตัวที่ใช้งานได้สบาย ไม่เหยียดแขน สามารถใช้ที่รองข้อมือ เพื่อช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้
● เก้าอี้ควรมีพนักพิงที่เหมาะสม สามารถนั่งพิงในระดับหลังตรง ที่พิงหลังสามารถ พยุงกล้ามเนื้อหลัง และไหล่ได้อย่างดี
● ที่วางเอกสารควรอยู่ในระดับสายตา ระยะใกล้ๆ กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดการขยับศีรษะหรือก้มเงยบ่อยๆ สามารถช่วยลดการปรับโฟกัสของตา ลดอาการตาล้า และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้
3. การพักสายตาระหว่างการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
● ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20 นั้นคือ ควรมีการพักสายตาหลังจากนั่งทำงานไป 20 นาที โดยพัก 20 วินาที อาจใช้วิธีหลับตา หรือ มองโฟกัสในระยะไกลที่ 20 ฟุต จะเป็นการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาได้
● หลังจากนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องกัน 2 ชั่วโมง ควรหยุดพัก 15 นาที โดยควรลุกเดิน หรือทำงานที่ไม่ได้โฟกัสหน้าจอ ก็จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยล้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้
4. การหยอดน้ำตาเทียม
ควรหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำ เพื่อช่วยลดอาการตาแห้ง แสบเคืองตา จากการที่กระพริบตาลดลง เนื่องจาก การจ้องมองคอมพิวเตอร์ และช่วยให้สบายตามากขึ้น
5. ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม
ควรตรวจวัดสายตา เพื่อดูความเหมาะสมของแว่น ที่ใส่อยู่กับค่าสายตา เพราะว่า การสวมแว่นสายตาที่ผิดไปจากค่าสายตาจริง ทำให้การโฟกัสภาพได้ยาก ทำให้ภาพไม่คมชัด เกิดอาการปวดกระบอกตา และทำให้ปวดศีรษะได้
โดย ปัจจุบันโรค ของโรค คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม นั้นเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้ ดวงตา เป็นสิ่งสำคัญ ควรต้องดูแล และระมัดระวังให้มากที่สุดนะคะ
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :