MWWellness เหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ ที่รักษาได้

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร เหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ ที่รักษาได้

MWWellness บางคน มักจะมองว่า เหงื่อออกมือ เป็นเรื่องปกติ แต่ในหลาย ๆ คน ก็มักจะมองว่า เป็นปัญหากวนใจ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะอาจเป็น ปัญหาสุขภาพ ได้ แต่ทุกคน ไม่ต้องกังวลใจ กันไป สาเหตุเหล่านี้ สามารถรักษาได้

เหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ ที่รักษาได้

เหงื่อออกมือ ปัญหากวนใจ ที่รักษาได้


บางคน มักจะมองว่า เหงื่อออกมือ เป็นเรื่องปกติ แต่ในหลาย ๆ คน ก็มักจะมองว่า เป็นปัญหากวนใจ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะอาจเป็น ปัญหาสุขภาพ ได้ แต่ทุกคน ไม่ต้องกังวลใจ กันไป สาเหตุเหล่านี้ สามารถรักษาได้

sweaty-hands-an-annoyance-that-can-be-treated

หากพูดถึง อาการ “เหงื่อออกมือ” หลาย ๆ คน ก็คง นึกถึง โรคหัวใจ ขึ้นมา ในทันที เพราะอาจจะ เคยได้ยิน หรือ ได้ฟังมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่มี เหงื่อออก บริเวณมือ ที่มากกว่าปกติ โดยที่ ไม่สัมพันธ์กับ อากาศร้อน ความเครียด หรือ การออกกำลังกาย แต่อาจจะเป็น ภาวะเหงื่อออก มากผิดปกติ ( Hyperhidrosis ) ที่มีสาเหตุ มาจาก ต่อมเหงื่อ และ ประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic nervous system ) ที่ควบคุม ต่อมเหงื่อ การทำงานผิดปกติ ทั้งนี้ อาการของ ภาวะเหงื่อออก ที่มากผิดปกติ มักจะเกิดขึ้น เฉพาะจุด ตาม ร่างกาย ที่อาจจะ เกิดขึ้นที่ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือ รักแร้ เป็นต้น

 

เหงื่อออกมือ เกิดจากสาเหตุใด? ภาวะเหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ ( Hyperhidrosis ) เกิดจากสาเหตุ ต่างๆ ดังนี้

- โรคไทรอยด์เป็นพิษ

- โรคเบาหวาน

- โรคหัวใจ

- โรคเครียด

- ผู้หญิงในวัย ใกล้หมดประจำเดือน

- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

 

รู้ได้อย่างไร ว่าเป็น โรคภาวะเหงื่อออกมือ มากผิดปกติ

นอกจาก เหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ จนมือเปียกแล้ว บริเวณขาหนีบ รักแร้ และ เท้า ก็จะมี เหงื่อออก จนเปียก บริเวณดังกล่าว โดยที่อยู่ใน สภาพแวดล้อม อุณหภูมิไม่สูงมาก และขณะ เหงื่อออก ก็ไม่ได้ออกกำลังกาย ควรสังเกตอาการ ดังนี้

- ซึ่งมี เหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ ทั้ง 2 ข้าง

- ซึ่งมี เหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ มาแล้ว อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์

- ได้รับผลกระทบ ในชีวิตประจำวัน

- ในเวลานอนหลับ จะไม่มีเหงื่อออก ที่บริเวณมือ

- อายุน้อยกว่า 25 ปี

 

การรักษาภาวะ เหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ

1. การรับประทานยา

การรับประทานยา Oxybutynin วันละ 5 - 10 มิลลิกรัม ซึ่งอาจจะเกิด ผลข้างเคียง อย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง และ อาการท้องผูก

2. การใช้ยาทา

การใช้ยา Aluminum Chloride 20 - 30 %  ใช้ในผู้ป่วย ที่มี อาการ เหงื่อออกมือน้อย ทำหน้าที่ ลดการทำงาน ของ ต่อมเหงื่อที่มือ

3. การฉีดยาที่มือ

ภาวะ เหงื่อออกมือ ที่มากผิดปกติ จะสามารถ กลับมาเป็นซ้ำ หลังจาก ฉีดยาแล้ว 6 เดือน

4. การผ่าตัด

แพทย์จะทำการ ตัดเส้นประสาท บริเวณซี่โครง ที่ 3 - 5 โดยการ ส่องกล้อง แต่อาจจะมี อาการ เหงื่อออก มากผิดปกติ บริเวณช่วงลำตัว

โรค เหงื่อออกมือ เป็น สัญญาณผิดปกติ ไม่เป็น อันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลให้ คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้น จึงควร ปรึกษาแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัย และ รับการรักษา ที่ตรงจุด โดยแพทย์ จะดูจาก ลักษณะการ ออกของเหงื่อ ร่วมกับ การตรวจร่างกาย ด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อวางแผน การรักษา ที่ต้นเหตุ ของสาเหตุ ที่แท้จริง เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ ของผู้ป่วย ให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ไมเกรน อาการปวดหัว ที่สร้างความลำบาก ให้คนวัยทำงาน

CVS โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ไม่ควรมองข้าม!


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook