อาการปวดหัวศีรษะหรือไมเกรน นับว่าเป็นอาการที่ทรมานมากสำหรับคนทำงาน บางคนถึงขนาดกลายเป็นโรคประจำตัวไปเลยก็มี เชื่อว่า คงไม่มีใครอยากเป็น ไมเกรน กันทั้งนั้น แล้วทำไมเราถึงต้องปวดหัว ไมเกรน กันด้วยล่ะ?
ไมเกรน เป็นโรคชนิดหนึ่งของคนที่มักจะปวดหัวศีรษะบ่อยๆ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญ คือ อาการปวดศีรษะ โดยมักปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้ง 2 ข้าง แต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้ บางครั้งอาจปวดทั้ง 2 ข้างขึ้นมาพร้อมๆ ผู้ป่วย โรคไมเกรน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง
สาเหตุที่ทำให้เกิด ไมเกรน
ปัจจุบันสาเหตุของ ไมเกรน ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมองหรือการสื่อกระแสในสมอง การทำงานที่ผิดปกติของหลอดเลือดสมองก็ได้ ปัจจุบันจากหลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อว่า ไมเกรน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบตัวผู้ป่วยด้วย
ลักษณะอาการปวดหัว ไมเกรน
– มักปวดตุบๆ เป็นระยะๆ แต่มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อๆ
– ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อยๆ ปวดมากขึ้นทีละน้อย จนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วค่อยๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย
– ขณะที่ปวดศีรษะมักมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
– ระยะเวลาปวดอาจจะนานหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน 1 วัน ในบางรายอาจจะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น สายตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงกระพริบๆ อาการปวดนั้นไม่เลือกเวลา บางรายอาจจะปวดกลางดึก หรือปวดตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา บางรายปวดตั้งแต่ก่อนเข้านอนจนกระทั่งตื่นนอนก็ยังไม่หายปวด
การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็น โรคไมเกรน
– ลักษณะต่างๆ ของอาการปวด เช่น ตำแหน่ง, ความรุนแรง, ลักษณะการปวด, การดำเนินของการปวด
– อาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น ไข้, ตาแดง, ตาโปน, น้ำมูก หรือมีกลิ่นเหม็น, คลื่นไส้, เวียนหัว
– ความผิดปกติของการทำงานของสมองหรืออวัยวะต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด เช่น ความคิดอ่านเชื่องช้า, มองเห็นภาพซ้อน, แขนขาอ่อนแรง, เดินเซ
– แพทย์อาจต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรคที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกับโรคไมเกรน
– ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด เช่น ความเครียด, แสงจ้าๆ , อาหารบางชนิด, อดอาหาร, นอนหลับไม่เพียงพอ
– ปัจจัยทุเลาอาการปวด เช่น การนอนหลับ, การนวดหนังศีรษะ, ทานยา, นวดกดจุดอายุรเวท
วิธีบรรเทาอาการปวด ไมเกรน
แน่นอนว่านอกจาก การนอนหลับและการทานยา อาจช่วยบรรเทาให้อาการปวด ไมเกรน ทุเลาลงได้ อีกวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาได้คือ การนวดกดจุดอายุรเวท เป็นการรักษาอาการทางกล้ามเนื้อ และโครงสร้างกระดูก ด้วยเทคนิค Trigger Point หรือจุดปวดกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็ง จนเป็นก้อนและไวต่อการกระตุ้น ( Hyperirritability ) ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และส่งผลต่อระบบไหลเวียนต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการ และความเจ็บป่วยต่างๆ
อาการปวดหัว ไมเกรน อาจสามารถส่งต่อได้ทาง พันธุกรรม การดูแลสุขภาพไม่ให้มีปัญหาและหลีกเลี่ยงจากเกิด ไมเกรน คงเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญและต้องทำเพื่อสุขภาพของตนเอง mw-wellness เราให้ท่านสามารถปรึกษาสุขภาพได้ครบวงจร รวมถึงวิธีป้องกันบรรเทา โรคไมเกรน โดยทีมหมอผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก siphhospital
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :