MWWellness แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก

MWWellness หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย อย่าปล่อยให้การขับถ่ายที่ผิดปกติดำเนินไปโดยไม่แก้ไข หรือแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก

แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย อย่าปล่อยให้การขับถ่ายที่ผิดปกติดำเนินไปโดยไม่แก้ไข หรือแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

 

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่คุณสามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

 

แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน

 

ท้องผูกเกิดจากอะไร

 

ภาวะท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่

 

  • การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ ซึ่งผู้ที่มีอาการท้องผูกมากถึง 50% มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเหล่านี้

 

  • การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี แพทย์พบว่า 30% ของอาการท้องผูกเกิดจากการทํางานไม่ประสานกันของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเบ่งอุจจาระ นั่นคือมีการออกแรงเบ่งพร้อมกับขมิบหูรูดทวารหนักไปด้วย เมื่อแรงเบ่งมีไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงต้านบริเวณหูรูด อุจจาระก็ไม่สามารถจะเคลื่อนออกมาได้

 

  • การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หรือภาวะลำไส้เฉื่อย เป็นการที่ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวน้อยลงทําให้อุจจาระเคลื่อนลงมาช้ากว่าปกติ ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colonic transit time) โดยให้ผู้ป่วยกลืนเม็ดยาที่มีแถบทึบแสง (sitzmark radiopaque markers) หลังจากนั้น 3 และ 5 วันจึงเอ็กซ์เรย์ดูจำนวน markers ที่เหลืออยู่ในลำไส้ใหญ่ ถ้ายังกระจายอยู่ทั่วไปแสดงว่าลำไส้ทำงานผิดปกติ อย่างไรก็ตาม สาเหตุนี้พบได้น้อยมาก คือ 5-6% เท่านั้น

 

  • การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพวกพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น

 

ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง

 

ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น

 

  • ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด

 

  • ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

 

  • ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู

 

  • ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้

 

  • ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

 

  • ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ

 

เมื่อผูกได้ก็แก้ได้ อาการท้องผูกนั้นแก้ไขให้ทุเลาลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 50% ของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตซึ่งได้แก่

 

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น

 

  • รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย โดยควรเผื่อเวลาสำหรับการเข้าห้องน้ำหลังอาหารเช้าและการเดินหลังอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงไว้ด้วย เพราะความรู้สึกอยากถ่ายนั้นเกิดขึ้นเพียงประมาณ 2 นาทีเท่านั้น หากไม่มีการถ่าย ความรู้สึกอยากถ่ายจะหายไปและอุจจาระก็จะแข็งขึ้นทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา

 

  • ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย

 

  • ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

 

ลำไส้ใหญ่ที่สุขภาพดีจะส่งผลให้คุณมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย แม้ว่าคุณจะมีระบบขับถ่ายที่ดีเป็น ปกติอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีของเสียและสารพิษตกค้างในลำไส้ส่วนลึกที่การขับถ่ายในชีวิต ประจำวันไม่สามารถขจัดออกมาได้หมด

 

เอ็มดับบลิว เวลเนส มีบริการสวนล้างลำไส้ใหญ่ (Colon Detox) การทำColon Detox จะช่วยในเรื่องการล้างของเสียและสารพิษที่สะสมในลำไส้ใหญ่มาเป็น เวลานาน โดยวิธีการจะแตกต่างจากการล้างพิษด้วยการสวนทวารแบบทั่วไป เพราะกระบวนการนี้ จะเป็นการล้างอย่างนุ่มนวลและปลอดภัยโดยใช้น้ำRO บริสุทธิ์ (Reverse Osmosis)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก bumrungrad

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ตรวจโรคทางพันธุกรรม อุ่นใจทั้งครอบครัว

อันตรายก่อเกิดโรคจาก…ความดันโลหิตสูง


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook