MWWellness ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

MWWellness หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย จะเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งแสนลำบากเรียกว่าต้องเบ่งกันจนหน้ามืด ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว ยิ่งคิดพาลให้ยิ่งเครียด

ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี


ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย จะเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งแสนลำบากเรียกว่าต้องเบ่งกันจนหน้ามืด ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว ยิ่งคิดพาลให้ยิ่งเครียด

 

อย่าปล่อยให้ภาวะการขับถ่ายที่ผิดปกติดำเนินไปโดยไม่แก้ไข หรือแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

 

แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก

 

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่คุณสามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน

 

ท้องผูกเกิดจากอะไร ภาวะท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่

 

– การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ ซึ่งผู้ที่มีอาการท้องผูกมากถึง 50% มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมหล่านี้

– การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี แพทย์พบว่า 30% ของอาการท้องผูกเกิดจากการทํางานไม่ประสานกันของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเบ่งอุจจาระ นั่นคือมีการออกแรงเบ่งพร้อมกับขมิบหูรูดทวารหนักไปด้วย เมื่อแรงเบ่งมีไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงต้านบริเวณหูรูด อุจจาระก็ไม่สามารถจะเคลื่อนออกมาได้

– การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หรือภาวะลำไส้เฉื่อย เป็นการที่ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวน้อยลงทําให้อุจจาระเคลื่อนลงมาช้ากว่าปกติ ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colonic transit time) โดยให้ผู้ป่วยกลืนเม็ดยาที่มีแถบทึบแสง (sitzmark radiopaque markers) หลังจากนั้น 3 และ 5 วันจึงเอ็กซ์เรย์ดูจำนวน markers ที่เหลืออยู่ในลำไส้ใหญ่ ถ้ายังกระจายอยู่ทั่วไปแสดงว่าลำไส้ทำงานผิดปกติ อย่างไรก็ตาม สาเหตุนี้พบได้น้อยมาก คือ 5-6% เท่านั้น

– การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพวกพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น

 

ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง

 

ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น

– ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด

– ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

– ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู

– ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้

– ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

– ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ

 

เมื่อผูกได้ก็แก้ได้ โดยอาการท้องผูกนั้นแก้ไขให้ทุเลาลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

50% ของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตซึ่งได้แก่

– รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น

– รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย โดยควรเผื่อเวลาสำหรับการเข้าห้องน้ำหลังอาหารเช้าและการเดินหลังอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงไว้ด้วย เพราะความรู้สึกอยากถ่ายนั้นเกิดขึ้นเพียงประมาณ 2 นาทีเท่านั้น หากไม่มีการถ่าย ความรู้สึกอยากถ่ายจะหายไปและอุจจาระก็จะแข็งขึ้นทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา

– ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย

– ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ยังมีปัญหาในช่วงแรกๆ แพทย์อาจให้ใช้ยาระบายช่วย เมื่อปรับพฤติกรรมได้แล้วจึงหยุดยา

 

2. การฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ (biofeedback training)

 

หลายคนเบ่งถ่ายผิดวิธีมาทั้งชีวิตโดยไม่รู้ตัวจนทำให้เกิดภาวะท้องผูก ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการฝึกถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี โดยมีหลักการคือ ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นหลักแทนการหายใจด้วยปอด และฝึกเบ่งโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง

ในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดปัญหาจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก แพทย์อาจแนะนำให้ทำ biofeedback training ร่วมกับการตรวจวัดการทำงานของลำไส้ใหญ่และหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง (high-resolution anorectal manometry) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจหาความผิดปกติของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก เพื่อดูว่ากล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้มีการคลายตัวหรือบีบตัวประสานกับการเบ่งหรือไม่

ในกรณีที่ไม่มีความรู้สึกอยากถ่ายแม้จะมีอุจจาระมาที่ทวารหนักแล้วก็ตาม การตรวจนี้ยังช่วยให้ทราบถึงความไวของทวารหนักต่อการรับความรู้สึกจากการกระตุ้น โดยจะมีการใส่ลมเข้าไปในลูกโป่งที่อยู่ปลายของสายตรวจ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกภายในทวารหนักและดูการตอบสนองของผู้เข้ารับการตรวจ

 

3. การใช้ยาระบาย

 

การใช้ยาระบายควรใช้ตามแพทย์สั่งและใช้เท่าที่จำเป็น เพราะยาระบายมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์แตกต่างกันและอาจส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

4. การผ่าตัด

 

การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ปัญหาท้องผูกเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ทั้งหมดแล้วไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาระบายหรือการฝึกเบ่งแต่ลำไส้ใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวช้าอย่างรุนแรง

 

5. การนวดกดจุดลดอาการท้องผูก

 

ลองนึกภาพตามว่าคุณกำลังมีความรู้สึกปวดท้อง มวนท้องแบบที่ว่าไว้ข้างบน หรือยุ่งยากกว่านั้นคือกำลังมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบาก เบ่งก็แล้ว เปลี่ยนท่านั่งก็แล้วก็ยังไม่ออกซักที วิธีที่จะช่วยแก้ไขอาการท้องผูก อึไม่ออกได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีที่สุดก็ต้อง นวดท้องแก้ท้องผูก เท่านั้นแหละ เพราะร่างกายของเรามีการทำงานประสานกันไปทุกส่วน ซึ่งหน้าท้องถือเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของลำไส้และสัมพันธ์กับระบบขับถ่ายอย่างตรงจุดที่สุด เพราะฉะนั้นการนวดกดจุด โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องจึงเป็นการกระตุ้นให้ขับถ่ายได้คล่องขึ้น เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น และใช้เวลาเพียงไม่นาน

 

ดังนั้นการนวดท้องแก้ท้องผูกนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่กำลังตกอยู่ในสภาวะท้องผูก แน่นลม และต้องการขับถ่ายออกไปให้สบายท้อง ซึ่งวิธีนี้นี่แหละสะดวก ง่ายและรวดเร็ว การรักษาโรคท้องผูกอย่างถูกวิธีต้องอาศัยการวางแผนระยะยาว โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกับทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด รวมทั้งป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

 

นอกจากนี้ หากคุณอายุมากกว่า 45 ปี หรือมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากท้องผูก เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด ท้องผูกช่วงสั้นๆ จากที่เคยถ่ายได้ทุกวัน อุจจาระก้อนเล็กลงเรื่อย ๆ คลำเจอก้อนในช่องท้อง หรือมีภาวะซีด แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง

 

การดูแลสุขภาพไม่ให้มีปัญหา คงเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ และควรต้องทำเพื่อสุขภาพของตนเอง ที่ mw-wellness เราให้ท่านสามารถปรึกษาสุขภาพได้อย่างครบวงจร รวมถึงวิธีป้องกัน โดยทีมหมอผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ดีท็อกซ์เส้นผมและหนังศีรษะได้ด้วยโซดาสปา Zodaspa

ท้องเสียบ่อย เสี่ยง “ลำไส้อักเสบเรื้อรัง”


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook