MWWellness ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค

MWWellness ร่างกายคนเรา มักมีการเตือนอาการเสี่ยงโรคต่าง ๆ อยู่เสมอ จากการให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวรต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการที่รู้สึกอาจไม่ได้ร้ายแรงมาก ทำให้บางคน

ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค

ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค


ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค

ร่างกายคนเรา มักมีการเตือนอาการเสี่ยงโรคต่าง ๆ อยู่เสมอ จากการให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวรต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการที่รู้สึกอาจไม่ได้ร้ายแรงมาก ทำให้บางคน ละเลยอาการที่เกิดขึ้นได้ จนลุกลามเป็นโรคที่ร้ายแรง

อาการปวดหลัง ถือว่าเป็นอาการที่สามารถพบได้ ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ สูง ต่ำ ดำ ขาว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้น มีหลายปัจจัยมากที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลหลาย ๆ ด้าน เช่น เกิดปัญหากล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นต้น

 

อาการ ปวดหลัง เกิดจาก

  • ที่นอนที่แข็ง หรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกตามสรีระร่างกาย ของบุคคล นั้น ๆ
  • ของหนัก ไม่ว่าจะเป็นการ ยก ถือ หรือ ก้มยก ที่ผิดวิธี
  • การสูบบุหรี่ ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง
  • ภาวะกระดูกพรุน หรือบาง
  • ภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลัง และก้นกบรับน้ำหนัก มากกว่าบริเวรอื่น
  • การนั่งทำงานนาน ๆ หรืออยู่ในด่าเดิม ๆ นาน ๆ

 

อาการ ปวดหลัง สามารถบอกถึงโรคต่าง ๆ เช่น

  • ปวดหลังจากการยกของหนัก : กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • ปวดแนวกระดูกกลางหลัง : มีปัญหาที่หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือ ข้อต่อกระดูกสันหลัง
  • ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง : กล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติ
  • ปวดร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง : ระบบประสาทเส้นประสาทผิดปกติ
  • ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต : เส้นประสาทอาจถูกกดเบียด
  • ปวดหลังแบบล้า ๆ เมื่อย ๆ : อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ

 

ปวดหลังแค่ไหน ควรไปปรึกษาแพทย์

โรคที่กล่าวมาข้างต้นที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการปวดในระดับเดียวกัน บางคนอาจปวดมาก ปวดน้อย แล้วแต่ร่างกายของบุคคลนั้น ๆ ไม่ควรละเลย ปล่อยให้ความเจ็บปวดอยู่กับเรานาน จำเป็นต้องสังเกตตัวเราเองว่ามีความเจ็บอยู่ในระดับใด โดยระดับความเจ็บปวดจากอาการปวดหลังนั้น เริ่มตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปถึงขั้นรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการปวดร้าวลงขา ปวดคล้ายเข็มทิ่ม หรือปวดแบบเสียวแปลบ ที่สำคัญ คือ หากมีอาการปวดนานเรื้อรัง มีอ่อนแรงหรือชา มีไข้ ปวดกลางคืนนอนพักไม่หาย มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติร่วม ควรรีบปรึกษาแพทย์ อาจมีการสั่งตรวจเพิ่มเพื่อหาสาเหตุ และอาการของโรคที่แน่ชัด ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ในปัจจุบัน อาทิเช่น

  • การตรวจเอกซเรย์ ( X-RAY )
  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ ( CT SCAN )
  • การเอกซเรย์กระดูกสันหลัง ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

 

รักษา อาการปวดหลัง

เมื่อเรารู้อาการปวดหลังแล้ว ขั้นตอนต่อไปคงหนีไม่พ้นการรรักษา ซึ่งการรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการปวดก่อน เช่น การทานยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อ หรือการทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าอาการปวดเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามรถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาทิ การลุก ยืน นั่ง นอน เดินลำบาก แล้ว ต้องมีการรักษาที่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจมีการฉีดยาเข้าเส้นประสาทสันหลัง หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็ก หลังจากการผ่าตัดต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 – 3 วัน ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากทีมแพทย์ที่ชำนาญโดยเฉพาะเท่านั้น

 

อาการปวดหลังเราทุกคนสามารถป้องกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ช่เรื่องยาก เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายเรา เช่น การยก หรือแบกของหนัก ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับรูปร่างของเรา เพราะแม้ว่าปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปไกลแล้วก็ตาม แต่ถ้าเราไม่ดูแลตัวเองให้ดี ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเราได้

 

การรักษาอาการปวดหลัง วิธี

 

การรักษา โดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด คงเป็นการรักษาที่ทุกคนต่างต้องการ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อย ประหยัด แถมไม่ต้องเสียเวลานอนโรงพยาบาลนาน ๆ อีกด้วย เป็นการรักษาแบบประคับประคอง คือ การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การนอนพักผ่อน เป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้น สำหรับการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยหายแบบค่อยเป็น ค่อยไป

แต่ในบางคน การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ก็เป็นการแก้อาการปวดหลังได้เช่นกัน โดยจะช่วยลดความปวดจากการอักเสบ และช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่ง ที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน วิธีนี้จึงเป็นวิธีการขั้นต่อไป สำหรับผู้ปวย ถือว่ายังมีราคาที่ประหยัด และ เสียเวลาน้อยอยู่

 

การรักษา โดยการผ่าตัด

วิธีการนี้ เป็นวิธีขั้นสุดท้ายแล้ว ถ้าแก้ไขด้วยข้อข้างต้นไม่ได้ แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้ เพื่อให้ผู้ป่วยหาย โดยผู้ป่วยที่ใช้วิธีนี้ มักมีอาการที่รุนแรงมาก เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ หรือรักษาด้วยวิธีอื่น แล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด จึ่งเข้ามาช่วย แต่การผ่าตัดก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย หรืออาการที่เกิดขึ้นต่าง ๆ

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

โรคภัย ที่มากับรองเท้าส้นสูง

อาการปวดหัวบอกโรค


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook