MWWellness พฤติกรรมที่ทำให้เสียสุขภาพ

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร พฤติกรรมที่ทำให้เสียสุขภาพ

MWWellness การใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนแตกต่างกันไป แต่จะมีใครสังเกตตัวเองบ้างว่าการใช้ชีวิตอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ มาดูกันว่าตัวอย่างพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่มักทำมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมที่ทำให้เสียสุขภาพ

พฤติกรรมที่ทำให้เสียสุขภาพ


การใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนแตกต่างกันไป แต่จะมีใครสังเกตตัวเองบ้างว่าการใช้ชีวิตประจำวันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ มาดูกันว่าตัวอย่างพฤติกรรมแย่ ๆ ที่คนส่วนใหญ่มักทำกันมีอะไรบ้าง

 

  1. ไม่ทาครีมกันแดด

การทาครีมกันแดดค่า spf 15 หรือสูงกว่าสามารถลดความเสี่ยงของเซลล์มะเร็งผิวหนังได้ถึง 40-50% แต่กลับเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ละเลย คุณควรจะทาครีมกันแดดทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน ไม่ใช่แค่ตอนไปเที่ยวทะเล เพราะรังสียูวีจากพระอาทิตย์อยู่ในทุกหนแห่ง มันสามารถทะลุผ่านกระจกรถ หน้าต่างบ้านของคุณ และสามารถทำร้ายผิวหนังคุณได้แม้ตอนที่อากาศไม่ร้อน โดยเฉพาะเวลาขึ้นที่สูง เช่น ไปปีนเขา หรือเล่นสกี รังสียูวีก็ยิ่งเข้าถึงผิวหนังได้ง่ายขึ้น ดังนั้นครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรละเลย

 

  1. นั่งทั้งวัน

พฤติกรรมการนั่งเป็นเวลานานอาจทำเป็นผลเสียอย่างรุนแรงต่อสุขภาพกาย และจิตได้ เช่น ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน การเกิดลิ่มเลือด และทำให้ไม่มีสมาธิ ทำงานได้ไม่ดีด้วย ลองหันมาใช้วิธียืนช่วงพักโฆษณาทีวี หรือจอดรถให้ไกลจะได้ถือโอกาสเดินออกกำลังกายไปในตัว แค่การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าทำเป็นประจำก็สามารถส่งผลดีอย่างคาดไม่ถึงได้

 

  1. อดนอน

การนอนน้อยสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง เนื้อเยื่อถูกทำลาย ติดเชื้อ โรคเบาหวาน โรคเครียด โรคหัวใจ และโรคอ้วน ทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงจนอาจกระทบอาชีพการงานหรือการขับขี่ได้  ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณควรหาอะไรทำก่อนนอนเพื่อผ่อนคลายกายใจเช่น แช่อ่างอาบน้ำ ไม่กินกาเฟอีนและแอลกอฮอล์เวลาใกล้เข้านอน และลงทุนซื้อหมอนและฟูกนอนที่มีคุณภาพ อีกกลยุทธ์หนึ่งคือกำหนดเวลานอนให้เหมือนเดิมทุกวัน แม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม เพื่อให้สมองและร่างกายของคุณได้เติมพลังและเยียวยาตัวเองอย่างเต็มที่

 

  1. ดื่มกาแฟเป็นสิ่งแรกเมื่อตื่นนอน

มีงานวิจัยพบว่ากาเฟอีนช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญได้ดี ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน และอาจถึงขั้นช่วยให้อายุยืนด้วย แต่การดื่มกาแฟเป็นสิ่งแรกเมื่อตื่นนอนจะทำให้ร่างกายคุณกระหายน้ำยิ่งกว่าเดิม หลังจาดที่อดข้าวอดน้ำมาหลายชั่วโมงระหว่างที่นอนหลับ ดังนั้น คุณควรเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการดื่มน้ำเปล่าหลาย ๆ แก้ว แล้วค่อยพุ่งไปยังเครื่องทำกาแฟดีกว่า

 

  1. รับงานมากเกินไป

เราอยู่ในสังคมที่หมกมุ่นกับการทำงานหนัก จึงไม่แปลกที่หลายคนจะพยายามรับงานมาทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาอาจส่งผลให้เกิดอาการ Burnout ได้ในที่สุด ถ้าคุณเริ่มรู้สึกยุ่ง เครียด โมโห กังวลอยู่บ่อย ๆ แล้วล่ะก็ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคเครียดเรื้อรังอยู่นะ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรนำศิลปะแห่งการปฏิเสธมาใช้บ้าง อย่าตกลงรับงานเยอะ ๆ จนไม่มีเวลาทำ

 

  1. วินิจฉัยโรคเองด้วย Google

คนสมัยนี้สามารถพึ่งพาอินเทอร์เน็ตแทบจะทุกเรื่อง แต่บางครั้งอินเทอร์เน็ตก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเวลาที่คุณใช้เพื่อเสิร์ชข้อมูลวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของตัวเอง คุณอาจกังวลหนักกว่าเดิมจนตีโพยตีพายไปว่าตัวเองเป็นโรคร้ายแรงที่เสิร์ชเจอ ซึ่งจะทำให้คุณไม่ได้รักษาอาการที่เป็นอย่างถูกต้องหรือทันเวลา

 

  1. รีบกินแบบส่ง ๆ

คุณอาจคิดว่าการยัดแซนด์วิชเข้าปากพร้อม ๆ กับพิมพ์อีเมลงานคือการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า ทำได้หลายอย่างพร้อมกัน แต่รู้ไหมว่าการรีบกินแบบส่ง ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาระบบย่อยอาหาร  แถมยังทำให้เผลอกินเยอะเกินขนาดจนน้ำหนักขึ้นได้ ระบบย่อยจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกผ่อนคลาย ดังนั้น คุณควรกินให้ช้าลง เคี้ยวให้ละเอียดขึ้น การกินอย่างมีสติมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก การดูดซึมสารอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมพฤติกรรมการกินตามสภาพอารมณ์ (Emotional eating) และดีต่อสุขภาพโดยรวม

 

  1. เล่นมือถือผิดท่า

ใครจะคาดคิดล่ะว่ามือถือเครื่องเล็ก ๆ จะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้มากมาย? การนั่งเล่นมือถือนาน ๆ จะทำให้คอเมื่อยตึง และอาจทำให้กระดูกสันหลังอักเสบได้ เพราะโดยธรรมชาติ สรีระของคอคนเราไม่เหมาะกับท่าที่ต้องโน้มไปข้างหน้าและแบบรับน้ำหนักศีรษะนาน ๆ คุณจึงควรใช้มือถือเท่าที่จำเป็น ไม่โน้มหัว หรือห่อไหล่มาข้างหน้า นอกจากนี้คุณก็ควรจะบริหารกล้ามเนื้อคอระหว่างวันบ่อย ๆ ด้วย สิ่งเหล่านี้อาจดูเล็กน้อย แต่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพหลังของคุณมากในระยะยาวมากเลยล่ะ

 

  1. ติดโซเชียล

การเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ในยุคนี้ และถือเป็นเรื่องปกติสำหรับสัตว์สังคมอย่างมนุษย์ แต่ปัญหาคือเรามักจะพึ่งพามันมากเกินไป ต้องคอยเช็ค newsfeed ตลอดเวลา มีงานวิจัยที่เผยว่า การใช้เฟซบุ๊คมากไปมีผลต่ออาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ทั้งยังทำให้เรามองโลกผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงด้วย ดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำคือ ลบหรือซ่อนแอพโซเชียลเหล่านั้นไว้เสีย พยายามชาร์จแบตมือถือนอกห้องนอน ฝึกทำสมาธิ โยคะ หรือไม่ก็นัดเพื่อนไปกินข้าวโดยไม่เอามือถือไป

 

  1. ไม่รักษาความสะอาดของแปรงสีฟัน

แปรงสีฟันอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียที่อันตรายต่อร่างกายได้ถ้าไม่ดูแลความสะอาดให้ดี หลายคนมักทิ้งแปรงสีฟันไว้ในห้องน้ำเฉย ๆ โดยไม่รู้ว่าแบคทีเรียสามารถลอยขึ้นมาในอากาศกับละอองน้ำจากชักโครกและไปเกาะอยู่บนแปรงสีฟันหรือตัวคุณได้ คุณจึงควรเปลี่ยนแปรงทุก 3-4 เดือน และเก็บแยกต่างหากในกล่องเพื่อไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อโรคในห้องน้ำ

 

  1. บริโภคน้ำตาลที่แฝงอยู่ในอาหาร และเครื่องดื่มมากโดยไม่รู้ตัว

ผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำตาลต่อวันในปริมาณ 6-9 ช้อนชา แต่เชื่อว่าหลายคนคงทะลุปริมาณที่ว่านี้ไปอีกหลายช้อนชาแน่ ๆ จากการเติมในน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ แม้แต่บรรดาอาหาร ‘เพื่อสุขภาพ’ อย่าง กราโนล่า และโยเกิร์ตที่อาจมีน้ำตาลสูงถึง 20-40 กรัมใน 1 ผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น คุณจึงควรอ่านรายละเอียดโภชนาการของแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด หันมากินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป หรือกินน้ำผึ้งแทนน้ำตาล

 

  1. ทำงานหนักเกินไป

การทำงานหนักอาจทำให้คุณก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยสุขภาพที่ทรุดโทรมลง สังคมพนักงานออฟฟิศทุกวันนี้มักให้คุณค่ากับการทำงานหนักหรือล่วงเวลา แต่การทำเช่นนี้จะส่งให้ระดับอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลพุ่งสูงผิดปกติ นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บมากมาย เช่น อาการความดันโลหิตสูง น้ำหนักขึ้น ล้ำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) อาการ Burnout เหนื่อยล้า ซึมเศร้า วิตกกังวลขั้นวิกฤต ภาวะมีบุตรยาก ความต้องการทางเพศลดลง ไปจนถึงอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

ดังนั้น คุณจึงควรหลีกเลี่ยงการเช็คอีเมลเป็นอย่างแรกเมื่อตื่นนอน จำกัดเวลาทำงาน กินอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ และหากิจกรรมผ่อนคลายทำทุกสัปดาห์

 

  1. จ้องหน้าจอตลอดเวลา

แสงสีฟ้าจากมือถือหรือคอมพิวเตอร์คือหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้จอตาเสื่อมซึ่งมีผลต่อการมองเห็น และยังทำให้เกิดภาวะ digital eye strain หรืออาการตาล้า ตาแห้ง ระคายเคือง การมองเห็นพร่ามัว และปวดศีรษะ ดังนั้นหากต้องอยู่หน้าจอนาน ๆ คุณจึงควรพักสายตาทุก 20 นาที และไม่ควรใช้ช่วงพักนี้มาเล่นมือถือเด็ดขาด

 

เห็นกันหรือยังคะว่าพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เสียสุขภาพมากขนาดไหน ยิ่งถ้าปฏิบัติตัวแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ เพราะฉะนั้น หยุดทำพฤติกรรมเสี่ยง ๆ แบบนี้นาน ๆ ควรหากิจกรรมทำหรือสลับสับเปลี่ยนการทำอย่างอื่นเพื่อเลี่ยงการอยู่ในอริยาบถเดิม ๆ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

สัญญาณอันตรายก่อนเป็นเบาหวาน

ทำความรู้จักไมเกรน


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook