MWWellness โนโมโฟเบีย ( Nomophobia ) อาการกลัวขาดมือถือ

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โนโมโฟเบีย ( Nomophobia ) อาการกลัวขาดมือถือ

MWWellness โทรศัพท์มือถือ กลายเป็น อุปกรณ์ในการสื่อสารที่หลายคนในยุคนี้ต้องมีติดตัวไว้อยู่เสมอในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนหลายคนอาจจะเป็นโรค โนโมโฟเบีย หรือ โรคกลัวการขาดมือถือ ได้

โนโมโฟเบีย ( Nomophobia ) อาการกลัวขาดมือถือ

โนโมโฟเบีย ( Nomophobia ) อาการกลัวขาดมือถือ


อาการกลัวขาดมือถือ

 

โทรศัพท์มือถือ กลายเป็น อุปกรณ์ในการสื่อสารที่หลายคนในยุคนี้ต้องมีติดตัวไว้อยู่เสมอในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนหลายคนอาจจะเป็นโรค โนโมโฟเบีย หรือ โรคกลัวการขาดมือถือ ได้

 

ถ้าจะบอกว่า “โทรศัพท์มือถือ” กลายเป็น ปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ไปแล้ว ก็ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงในปัจจุบัน  เนื่องจาก คนในยุคนี้แทบทุกคน ต้องใช้ โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน เป็นเครื่องมือในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน รวมถึง เป็นตัวช่วยในการดำเนินชีวิตในด้านอื่น ๆ

 

เริ่มตั้งแต่ตื่นนอน หลายคนก็ใช้โทรศัพท์มือถือมาใช้ตั้งปลุกตื่นนอน ระหว่างวันก็ใช้ในการสื่อสารงาน พูดคุยส่วนตัว เล่นเกม หรือเล่นโซเชียลมีเดียต่าง ๆ  จนการใช้โทรศัพท์มือถือ กลายเป็นอุปกรณ์หลักที่อยู่ในกิจวัตรประจำวันของคุณ และอาจทำให้เกิดอาการ “เสพติดโทรศัพท์มือถือ” ได้ ซึ่งถือว่าเป็นโรคยุคใหม่ที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย”

 

โนโมโฟเบีย คืออะไร?

 

โนโมโฟเบีย ( Nomophobia ) ในทางการแพทย์ นับว่าเป็นอาการ กลัวการขาดโทรศัพท์ ซึ่งยังไม่นับว่าเป็น “โรค” โดยคำว่า โน ( No ) แปลว่า ไม่ คำว่า โม ( Mo- ) ย่อมาจาก โมบายโฟน (Mobile Phone) หรือโทรศัพท์มือถือ ส่วนคำว่า โฟเบีย ( Phobia ) แปลว่า ความกลัว หรืออาการหวาดกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เมื่อนำ 3 คำนี้มารวมกันว่า โนโมโฟเบีย จึงหมายถึง อาการกลัวการขาดโทรศัพท์มือถือ นั่นเอง

 

พฤติกรรมที่เข้าข่ายว่า ติดมือถือ

  • หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความในโทรศัพท์
  • ได้ยินเสียงแจ้งเตือน ก็หยิบมือถือขึ้นมาเช็คทันที
  • เมื่อมีข้อความเด้ง หรือแจ้งเตือน ก็ดูโทรศัพท์ทันที
  • รู้สึกกังวล หรือกระวนกระวายใจ ถ้าไม่พกโทรศัพท์ติดตัว
  • รู้สึกอุ่นใจที่มีโทรศัพท์อยู่ข้างกายตลอด
  • วางโทรศัพท์ไม่เกิน 5 นาทีก็หยิบขึ้นมาเล่นบ่อยครั้ง
  • เล่นโทรศัพท์ ขณะทานข้าว

เป็นต้น

 

ผลกระทบของ การติดมือถือ

 

การเล่นโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้สายตา ได้รับแสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์เป็นเวลานานขึ้น ทำให้ส่งผลเสียต่อสายตาในหลายทาง เช่น ปวดตา ตาล้า ตาแห้ง ตามัว และรู้สึกปวดหัวได้ หากทำจนติดนิสัยในระยะยาว ก็จะเสี่ยงทำให้ จอประสาทตาเสื่อม หรือ สายตาสั้นได้

 

รวมถึง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวในจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากการเล่นเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายค้างอยู่ในท่าที่เล่นนาน และไม่ได้ขยับร่างกาย ทำให้ นิ้วล็อค ปวดหลัง ปวดคอ หรือ ปวดไหล่ หากนานเข้า ก็จะเสี่ยงต่อการที่เส้นประสาทถูกกดทับ หรือ หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการชาที่แขน มือไม่มีแรง ตามมาได้

 

นอกจากนี้ ยังส่งผลต่ออารมณ์และสมาธิของคุณได้ หากคุณติดโทรศัพท์จนเป็นนิสัย จะทำให้คุณไม่จดจ่อหรือจดจ่อกับสิ่งที่คุณจะทำน้อยลง หรือได้ว่า สมาธิสั้น นั่นเอง ในเรื่องของอารมณ์ จะทำให้คุณเป็นคนใจร้อนขึ้น ฉุนเฉียว โดยไม่รู้ตัว จากการที่คุณต้องตอบสนองกับโทรศัพท์มือถือทันที หากมีข้อความ หรือการแจ้งเตือนใด ๆ ปรากฎบน หน้าจอโทรศัพท์

 

การใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเราไปเสียแล้ว หากมีการใช้งานที่มากเกินไป จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ จึงควรปรับพฤติกรรมในการเล่นโทรศัพท์ของตนเอง ให้มีเวลาที่เหมาะสม โดยให้เริ่ม

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ปวดหลัง สัญญาณเตือนโรค

รวมวิธีบรรเทาอาการ ออฟฟิศซินโดรม


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook