MWWellness โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต

MWWellness เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเกี่ยวกับ โรคหูดับ ซึ่งข่าวนี้เกิดจากชายคนหนึ่งมีแผลที่มือ จากนั้นก็หั่นเนื้อหมูมาปรุงอาหาร ใครจะรู้ว่าจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต

โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต


เมื่อไม่นานมานี้คงได้ยินข่าวเกี่ยวกับ โรคหูดับ กันทั่วทั้งประเทศ เกิดจากชายคนหนึ่งมีแผลที่มือ จากนั้นก็ไปหั่นเนื้อหมูมาปรุงอาหาร ใครจะรู้ว่าพฤติกรรมธรรมดาที่หลาย ๆ บ้านก็ทำกันจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

ทำความรู้จัก โรคไข้หูดับ

โรคไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ( Zoonotic infectious disease ) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกร สู่คน โรคไข้หูดับเป็นโรคที่พบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาหกรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน

โรคไข้หูดับ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุแต่ทั้งนี้ เกือบทั้งหมดจะพบโรคเกิดในผู้ใหญ่ โดยพบในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง อาจเพราะเพศชายทำงานสัมผัสกับหมูมากกว่าเพศหญิง

ในประเทศไทยมีรายงานโรคนี้ครั้งแรกในผู้ป่วย 2 คนในปี พ.ศ. 2530 และยังมีรายงานพบโรคไข้หูดับในอายุน้อยที่สุด คือ ในเด็กอายุ 1 เดือน 1 ราย และพบว่า ประมาณ 88% ของผู้ป่วย ดื่มสุราร่วมด้วย ซึ่งอาจเกี่ยวกับคนดื่มสุรามักกินหมูสุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งต่อการติดเชื้อโรคนี้

 

          การติดเชื้อสู่คน

การติดเชื้อไข้หูดับไม่ได้เกิดจากระบบการหายใจ แต่เป็นการติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย ( บางครั้งเราอาจไม่รู้ตัวว่ามีบาดแผลก็ได้ ) หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบ ๆ สุก ๆ

โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่าน

มีรายงานความเสี่ยงการติดโรคนี้มากขึ้น ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เคยตัดม้ามออก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยติดสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ

จากรายงานที่มีการรวบรวมทั่วโลกพบว่า การติดเชื้อพบในผู้ใหญ่เกือบทั้งสิ้น อายุที่พบจากการศึกษาในประเทศไทย เฉพาะในปี พ.ศ. 2554 พบว่าเกิดโรคอยู่ระหว่างอายุ 29-82 ปี

 

         อาการของผู้ที่ติดเชื้อ โรคหูดับ

การติดเชื้อจากหมู/สุกร ไปสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรง เช่น ติดทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อ หรือเลือดหมู/สุกร ที่ไม่สุก การติดเชื้อทางการหายใจ มีโอกาสน้อย และไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อ โดยการสัมผัสโดยตรง อาการที่พบ ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน มีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง บางรายติดเชื้อในกระแสเลือด โดยไม่พบภาวะเยื่อหุ้มสมอง บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ และอุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง บางรายติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจแบบกึ่งเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก

 

          อาการทั่วไปของ โรคหูดับ

– มีไข้สูงเฉียบพลัน คลื่นเหียน ปวดศีรษะ

 

          อาการเฉพาะของ โรคหูดับ

  1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทหูจะทำให้การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลันจนถึงขั้นหูหนวก หูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตาจะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้
  2. ติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  3. กลุ่มอาการ Toxic Shock Syndrome
  4. กลุ่มอาการอื่น ได้แก่ ข้ออักเสบ หรือลิ้นหัวใจอักเสบ

 

          วิธีการรักษา

     การรักษาไข้หูดับ คือ การให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเพนนิซิลลิน ( Penicillin ) หรือยาเซฟไตร อะโซน ( Ceftriaxone ) เข้าหลอดเลือดดำ ในรายที่แพ้ยาดังกล่าวอาจใช้ยา แวนโคมัยซิน ( Van comycin ) ทั้งนี้เชื้อมักดื้อต่อยา อีรีโทรมัยซิน ( Erythromycin ) หรือยาซัลฟา ( Sulfa-group )

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนที่รอดชีวิตมา ยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน

 

          วิธีการป้องกัน โรคหูดับ

  1. สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกร ทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
  2. ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อหมู/สุกร
  3. เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสหมู/สุกร
  4. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู/สุกร
  5. ไม่รับระทานเนื้อหมู/สุกร ที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นต้น
  6. ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ภัยเงียบจาก อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

ผื่น บอกโรค


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook