MWWellness กินอย่างไร? ไม่ให้เป็นเกาต์

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร กินอย่างไร? ไม่ให้เป็นเกาต์

MWWellness โรคเกาต์ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้ผ่านหูกันมาบ้าง และคงเคยกับได้ยินกับประโยคที่ว่า "เป็นเกาต์ ห้ามกินไก่" ซึ่งวันนี้เราจะมาไขคำตอบกันว่าโรคเกาต์ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการกินอย่างไร และคนเป็นสามารถกินไก่ได้หรือไม่ มาติดตามกันครับ

กินอย่างไร? ไม่ให้เป็นเกาต์

กินอย่างไร? ไม่ให้เป็นเกาต์


กินอย่างไรไม่ให้เป็นเกาต์

โรคเกาต์ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้ผ่านหูกันมาบ้าง และคงเคยกับได้ยินกับประโยคที่ว่า “เป็นเกาต์ ห้ามกินไก่” ซึ่งวันนี้เราจะมาไขคำตอบกันว่าโรคเกาต์ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการกินอย่างไร และคนเป็นสามารถกินไก่ได้หรือไม่ มาติดตามกันครับ

 

โรคเกาต์ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้ผ่านหูกันมาบ้าง และคงเคยกับได้ยินกับประโยคที่ว่า “เป็นเกาต์ ห้ามกินไก่”  ซึ่งวันนี้เราจะมาไขคำตอบกันว่าโรคเกาต์ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการกินอย่างไร และคนเป็นสามารถกินไก่ได้หรือไม่ มาติดตามกันครับ

 

โรคเกาต์ คืออะไร

 

โรคเกาต์ ( Gout ) คือ โรคปวดตามข้อ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบ โดยเกิดจากภาวะที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงมากให้เลือด และมีการสะสมเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกเหล่านั้น ตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเกิดปุ่มขึ้นเป็นก้อนใหญ่ตามร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนข้อที่เคยอักเสบบ่อย ๆ แต่หากกรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตแทน จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตและไตเสื่อมได้

 

อาการของโรคเกาท์

 

ในระยะแรกจะมีอาการปวดแดงร้อนแบบเฉียบพลันใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งอยู่ ๆ ก็จะปวดขึ้นมาเลย โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดที่โคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรือ ข้อเข่า และหลังจาก 24 ชั่วโมงผ่านไป จะเริ่มดีขึ้น และหายสนิทภายใน 5-7 วัน

 

กรดยูริก สารก่อเกาท์

 

กรดยูริก ( Uric acid ) สารที่ก่อให้เกิดโรคเกาท์ หากมีการสะสมในเลือด และตกตะกอนเป็นผลึกตามข้อ ซึ่งโดยปกติแล้ว กรดยูริก เป็นสร้างที่ร่างกายสร้างขึ้นมาได้เอง 80% ส่วนอีก 20% มาจากการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วย “สารพิวรีน”  เข้าสู่ในร่างกาย

 

อาหารที่มีสารพิวรีนสูง

 

สารพิวรีน ( Purine ) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้อย่างเข้มข้นใน อาหารดังต่อไปนี้

  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ตับอ่อน, หัวใจ, ม้าม, สมอง, ไส้
  • สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน
  • ปลาบางชนิด เช่น ปลาซาร์ดีน, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาดุก
  • น้ำสกัดเนื้อ และ ซุปก้อน
  • ผักและธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วดำ, ชะอม, กระถิน

 

อาหารเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาท์ได้ ไม่ใช่เฉพาะ ไก่ แต่เป็นอาหารทั้งหมดเหล่านี้ที่กล่าวมา ผู้ป่วยเกาท์ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดยูริกสูงขึ้น นั่นเอง

 

นอกจากนี้ ยังรวมถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ “เบียร์” เพราะ ในเบียร์ มีสารพิวรีนสูง อันเนื่องมาจาก ยีสต์ที่ใช้ผลิตเบียร์มีสารพิวรีนสูง นั่นเอง และเบียร์ไม่ได้ถูกกลั่นเหมือนกับเหล้า จึงเหลือทั้งยีสต์แถมด้วยน้ำตาลอยู่เต็ม ๆ  และเวลาดื่มแต่ละครั้ง เราก็มักดื่มเบียร์ปริมาณมากกว่าแอลกอฮอล์อย่างอื่น เพราะ ดื่มแล้วไม่เมาง่าย ๆ อีกด้วย ผู้ป่วยเกาท์ จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทุกชนิด จึงจะดีที่สุด

 

การรักษาโรคเกาาท์

 

ถึงแม้ว่า โรคเกาท์ จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงมาก แต่ก็สร้างความเจ็บป่วยให้กับผู้เป็นโรคในระยะหนึ่ง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ผู้มีอาการ จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง และต้องดื่มน้ำให้เยอะขึ้น เพื่อให้น้ำช่วยขับยูริกออกมาทางปัสสาวะได้ หรือการดื่มนมก็จะช่วยลดกรดยูริกได้

 

แต่หากมีอาการปวดกำเริบบ่อย จำเป็นต้อง ใช้ยาลดกรดยูริก ให้อยู่ต่ำกว่า 5.0-6.0 มก./ดล. ร่วมกับควบคุมอาหาร ไปด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีอาการข้ออักเสบ และสามารถกลับมา ทานอาหารชนิดอื่น ได้ปกติเหมือนเดิมได้

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต

อันตรายจาก ฟอร์มาลีน ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารสด


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook