MWWellness ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน

MWWellness สำหรับใครที่เป็นสายเอ็นจอยกับการกิน กินอาหารไม่เลือก ชอบกินอาหารจุกจิก ต้องระวังโรคร้ายที่ตามมาไว้ให้ดี เพราะไม่ใช่แค่เสี่ยงเป็นโรคอ้วน แต่ยังเสี่ยงต่อการมีภาวะ ไขมันพอกตับ ได้อีกด้วย

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน


ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน

 

สำหรับใครที่เป็นสายเอ็นจอยกับการกิน กินอาหารไม่เลือก ชอบกินอาหารจุกจิก ต้องระวังโรคร้ายที่ตามมาไว้ให้ดี เพราะไม่ใช่แค่เสี่ยงเป็นโรคอ้วน แต่ยังเสี่ยงต่อการมีภาวะ ไขมันพอกตับ ได้อีกด้วย

 

ไขมันพอกตับ คืออะไร?

 

ภาวะไขมันพอกตับ ( Fatty Liver ) คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้งานได้หมด ไขมันในส่วนที่เหลือจึงเกิดการสะสมไขมันในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในตับ ทำให้ตับแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ส่งผลต่อการทำงานของตับ หากไม่ทำการรักษาจะทำให้กลายเป็นตับแข็งและอาจเป็นมะเร็งตับตามมาได้ พบได้ทุกช่วงอายุ และพบมากในอายุ 40-50 ปีขึ้นไป เพราะอัตราการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง

 

สาเหตุของการเกิด ไขมันพอกตับ

 

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับเพศ ประเภทเครื่องดื่มแอลอฮอล์ ปริมาณแอลกฮอล์ในเครื่อง และระยะเวลาที่ดื่มแอลกฮอล์ ผู้ที่มีไขมันพอกตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเรียกว่า ” Alcohol Fatty Liver “

 

  1. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ดังนี้

– การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ อย่างอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโดยเฉพาะขนมหวานชนิดต่าง ๆ ที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง

– มีภาวะอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตราฐาน

– เป็นโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาจเกิด ไขมันพอกตับ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ได้

– การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มต้านฮอร์โมน เป็นต้น

 

ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับจาก ปัจจัยเหล่านี้ ที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกฮอล์ เรียกว่า จะเรียกว่า ” Non-Alcohol Fatty Liver ”

 

อาการเมื่อเริ่มมีภาวะ ไขมันพอกตับ

 

โดยส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ค่อยแสดงอาการ ผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แต่ไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้ จึงถือได้ว่าเป็น “ภัยเงียบ” ก็ว่าได้ ผู้ป่วยจะรู้ว่าเป็น ไขมันพอกตับ ก็ต่อเมื่อได้รับการวินิจฉัย เช่น จากการตรวจดูเอนไซม์ของตับ การตรวจภาพตับด้วยการอัลตราซาวด์ การตัดชิ้นเนื้อจากตับในทางพยาธิวิทยา การตรวจ MRI เป็นต้น

 

ระยะของไขมันพอกตับ

ระยะของการดำเนินของภาวะไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

  • ระยะแรก : เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ โดยมีไขมันอยู่เกิน 5-10% ของน้ำหนักตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือเกิดพังผืดขึ้นในตับ
  • ระยะที่สอง : เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่ได้ทำการรักษาจะนำไปสู่การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม : เป็นระยะที่ตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นพังผืดที่ตับ
  • ระยะที่สี่ : เป็นระยะที่เซลล์ตับถูกทำลาย นำไปสู่โรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด

 

แนวทางการรักษา

 

– ลดการรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงในประเภท แป้ง น้ำตาล และไขมัน

– แก้ไขต้นเหตุของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพอกตับที่แทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ได้

– ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารอย่างจริงจัง รวมไปถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

– งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์

– หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลต่อตับสูง ที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง

– ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

 

ตับ ถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ดูแลการเผาผลาญอาหาร สร้างน้ำดี เพื่อ ย่อยสลายไขมัน กรองเลือด หรือหลั่งเอ็นไซม์ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร รวมถึง การกำจัดสารพิษ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เราควรดูแลตับ โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ โดยเฉพาะ พฤติกรรมในการกินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน น้ำตาล และเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดไขมันพอกตับได้สูง

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ของทอด ของมัน เสี่ยงเป็น นิ่ว ใน ถุงน้ำดี

ดีท็อกซ์ ร่างกาย ด้วยวิธีธรรมชาติ


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook