MWWellness โควิด 19 รักษาให้ทันก่อนเชื้อลงปอด

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร โควิด 19 รักษาให้ทันก่อนเชื้อลงปอด

MWWellness ตั้งแต่มีโรคระบาดที่ชื่อว่า โควิด 19 มีจำนวนประชากรในโลกล้มป่วยถึงขั้นเสียชีวิตมากมาย เนื่องจากเชื้อนั้นลงสู่ปอด ทำให้ปอดอักเสบ เพราะฉะนั้นควรรักษาตัวกันด้วย

โควิด 19 รักษาให้ทันก่อนเชื้อลงปอด

โควิด 19 รักษาให้ทันก่อนเชื้อลงปอด


ตั้งแต่มีโรคระบาดที่ชื่อว่า โควิด 19 นั้น มีจำนวนประชากรในโลกล้มป่วยถึงขั้นเสียชีวิตมากมาย อันเนื่องจากเชื้อ โควิด 19 นั้นลงสู่ปอด ทำให้ปอดอักเสบ ดังนั้น เมื่อรู้ว่าตนเองติดเชื้อ โควิด 19 ควรรีบรักษาทันทีก่อนเชื้อลงปอด

 

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 ( severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 : SARS-CoV-2 ) หรือชื่อที่องค์การอนามัยโลกเคยใช้คือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( 2019-nCoV ) คือ โรคติดต่อทำให้เกิดอาการติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจ  ซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( โควิด 19 หรือ COVID-19 )

 

เชื้อไวรัส โควิด 19 แพร่ระบาดโดยวิธีใด ?

เชื้อไวรัส โควิด 19 สามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางอากาศ ( Airborne ) สิ่งมีชีวิตที่เป็นพาหะเเพร่เชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งกระจายออกมาทางปาก หรือเสมหะ เป็นต้น ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงสูดดมละอองเข้าไป อาจจะเป็นละอองฝอยขนาดใหญ่ ( Droplet ) หรืออาจจะเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก { <5 ไมครอน ( Aerosal ) } ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อ โควิด 19 ยังสามารถติดเชื้อผ่านทางการสัมผัส เช่น การจับมือกัน หรือใช้ของร่วมกัน แล้วนำมือที่สัมผัสเชื้อไวรัสมาสัมผัสตา หรือจมูก แล้วอาจติดเชื้อได้ เชื้อ โควิด 19 สามารถติดต่อผ่านทางอุจจาระได้อีกด้วย ( ติดต่อผ่านทางละอองฝอยอุจจาระ ควรปิดฝาชักโครกตอนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ )

 

ความรุนแรงของเชื้อไวรัส โควิด 19 เมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ?

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส โควิด 19  มีอาการคล้ายไข้หวัด อาการทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต แม้ว่าอาการหลายอย่างจะคล้ายคลึง แต่เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสที่แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถระบุโรคตามอาการเพียงอย่างเดียว จึงต้องอาศัยการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันเชื้อ

     กรณีปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส โควิด 19 เกิดจากการอักเสบในเนื้อปอดส่งผลโดยตรงต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการปกติแม้จะเกิดการอักเสบในปอด เรียกว่า “ Silent Hypoxemia ” ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก อาจรุนแรงถึงขั้นหายใจล้มเหลวจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

เชื้อไวรัส โควิด 19 เกี่ยวข้องกับปอดอักเสบอย่างไร

เมื่อติดเชื้อ โควิด 19 จะมีผลกับระบบหายใจ เนื่องจากการรับเชื้อในปริมาณมาก จะทำให้มีเชื้อที่ถุงลมปอดทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ เชื้อที่ถุงลมจะทำให้มีการอุดกั้นส่งผลต่อการแลกเปลี่ยน และการลำเลียงออกซิเจนมีปัญหาอาจทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้กระแสเลือด และร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างที่ควรจะเป็น

 

ใครบ้างที่เสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โควิด 19

หากได้รับเชื้อ โควิด 19 แล้วมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงต่อการทำงานของปอดทำให้ปอดทำงานได้น้อยลง หรือไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นอวัยวะภายในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงตามไปด้วย
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับปอดเรื้อรัง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายโรค เช่น โรคถุงลมโป่งพอง, หอบหืด, หรือมะเร็งปอด เป็นต้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน ระดับดัชนีมวลกาย ( Body mass index ) หรือ BMI ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคเพิ่มความเสี่ยงปอดอักเสบ เช่น โรคตับ, ความดันโลหิตสูง, ไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น

 

อาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โควิด 19

  • หายใจไม่ทัน หายใจไม่สะดวก
  • หอบเหนื่อยง่ายไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้
  • มีอาการไอเพิ่มขึ้น

ในช่วงแรกจะไม่หอบเหนื่อย อาการจะตามมาในภายหลังทดสอบได้ด้วยการวัดค่าออกซิเจนในเลือด ( SpO2 ) ก่อน และหลังปั่นจักรยานอากาศ หรือเดินข้างเตียง 3 นาที หากพบว่าค่าที่ออกมา drop ตั้งแต่ 3 % ขึ้นไปถือว่าเสี่ยงติดเชื้อ Covid-19

 

หากสงสัยว่ามีอาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โควิด 19 ควรทำอย่างไร

หากพบว่าตนเองมีอาการตามที่กล่าวไปควรเข้าพบแพทย์ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ถ้าหมอวินิจฉัยแล้วพบการอักเสบในปอดจากเชื้อไวรัส โควิด 19 จะต้องรักษาตัวเพื่อรักษาอาการ โควิด 19 ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจหากจำเป็น ในระยะการรักษาต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

 

วิธีลดความเสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โควิด 19

  • ปฏิบัติตามหลักเพื่อลดโอกาสแพร่ระบาด ทั้งการเว้นระยะห่างกับผู้อื่น สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ห้ามใช้มือสัมผัสใบหน้า
  • เสริมสร้างสุขภาพปอดเพื่อลดโอกาสเกิดปอดอักเสบ ด้วยการงดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย หรือฝึกการหายใจ รวมไปถึงการทานอาหารประเภทผัก และผลไม้
  • เพิ่มการป้องกันให้ตนเอง ด้วยการฉีดวัคซีนที่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ โควิด 19

 

การปฏิบัติตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 อย่างถูกต้อง และมีวินัยจะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาด และลดความเสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โควิด 19 ได้เป็นอย่างดี เราทุกคนจะผ่านโรคร้ายนี้ไปด้วยกัน

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ของทอด ของมัน เสี่ยงเป็น นิ่ว ใน ถุงน้ำดี

โรคหูดับ อันตรายถึงชีวิต


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook