MWWellness กินอาหารรสจัด เสี่ยงเป็นโรคร้ายใดบ้าง

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร กินอาหารรสจัด เสี่ยงเป็นโรคร้ายใดบ้าง

MWWellness การทานอาหารรสชาติต่าง ๆ ของแต่ละคน มักมีความต่างขึ้นอยู่กับรสนิยม หรือเป็น รสที่ถูกปาก หลายคนติดการ กินอาหารรสจัด ซึ่งไม่ว่าจะเป็น หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด ล้วนมีประโยชน์ และโทษต่อร่างกายได้

กินอาหารรสจัด เสี่ยงเป็นโรคร้ายใดบ้าง

กินอาหารรสจัด เสี่ยงเป็นโรคร้ายใดบ้าง


กินอาหารรสจัด เสี่ยงเป็นโรคร้าย

 

การทานอาหารรสชาติต่าง ๆ ของแต่ละคน มักมีความต่างขึ้นอยู่กับรสนิยม หรือเป็น รสที่ถูกปาก หลายคนติดการ กินอาหารรสจัด ซึ่งไม่ว่าจะเป็น หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด ล้วนมีประโยชน์ และโทษต่อร่างกายได้

 

การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ หลายคน มักจะเลือกทาน ตามใจปากของตนเอง หากรสชาติอาหาร ไม่ถูกใจ จะทำการปรุงอาหารเพิ่มเติมเอง โดยเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่าง ๆ ที่ให้รสชาตินั้น ๆ เพื่อให้อาหารมีรสชาติที่เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หรือเผ็ด มากขึ้นให้เข้ากับความต้องการของตนเอง ซึ่งถ้าหากอาหารเหล่านั้น มีการปรุงรสที่มากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ ขึ้นอยู่กับรสชาติของอาหาร ดังต่อไปนี้

 

รสเค็ม ( Salty )

 

อาหารที่มีรสชาติเค็ม ได้มาจาก การปรุงอาหารด้วย เกลือ หรือน้ำปลา (มีเกลือเป็นองค์ประกอบ) และภายในเกลือ มีสารสำคัญอย่าง “โซเดียม” ( Sodium ) แร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ ในการควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รวมถึง ความดันเลือด ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการ ปริมาณโซเดียมอยู่ ประมาณ 1,500 มิลลิกรัม และปริมาณโซเดียมสูงสุด ที่บริโภคแล้วไม่เป็นอันตราย คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

หากได้รับ ปริมาณโซเดียม สะสมจนเกินความจำเป็น ของร่างกายเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้น จึงควรเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด รวมไปถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมสูง เช่น ซอสปรุงรส , อาหารสำเร็จรูป , อาหารกึ่งสำเร็จรูป , อาหารแปรรูป , อาหารหมักดอง , ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น โดยปริมาณโซเดียมของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถเช็คได้ง่ายจากข้อมูลโภชนาการข้างบรรจุภัณฑ์

 

รสหวาน ( Sweet )

 

อาหารที่มีรสหวาน ล้วนได้ความหวานมาจาก “น้ำตาล” ( Sugar ) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ผู้รับประทานน้ำตาล หรืออาหารที่มีรสหวาน รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้ แต่หากร่างกายได้รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป คือ เกินปริมาณ 24 กรัมต่อวัน จะร่างกายมีน้ำตาลสะสมมากเกินไป และแปรเปลี่ยนเป็นไขมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคกระดูกเปราะ ฟันผุ เป็นต้น

 

รสเผ็ด ( Spicy )

 

อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน แน่นอนว่าได้ความเผ็ดมาจาก “พริก” และสาเหตุที่พริก มีรสชาติเผ็ดร้อน เนื่องจาก สารแคปไซซิน ( Capsaicin ) ที่เป็นสารประกอบสำคัญของพริก สารนี้มีประโยชน์มากมาย เช่น  ช่วยในเรื่องการเจริญอาหารได้ดี โดยทำหน้าที่ กระตุ้นปลายประสาท ที่ปุ่มรับรสที่ลิ้น ทำให้มีการหลั่งน้ำลายมากขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่คนกินเผ็ด มักจะกินแล้วกินอีกไม่หยุด แม้ว่าจะเผ็ดเท่าไหร่ก็ตาม และสารแคปไซซิน ยังมีประโยชน์ ในด้านบรรเทาอาการปวด หรือเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวดข้อ ช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ได้อีกด้วย

 

การรับประทานเผ็ดจัดมากเกินไป ก็มีโทษเช่นกัน เนื่องจาก สารแคปไซซิน ( Capsaicin ) ที่อยู่ในพริก มีฤทธิ์ก่อให้เกิด อาการระคายเคือง ต่อเนื้อเยื่อ จึงทำให้ผู้ที่ รับประทานอาหารรสเผ็ดจัดมาก รู้สึกถึงความแสบร้อนในส่วนของระบบย่อยอาหาร ตั้งแต่ ภายในปาก รู้สึกร้อนทรวงอก ไปยังกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้เช่นกัน แม้กระทั่งตอนถ่ายอุจจาระ ก็รู้สึกแสบร้อนได้  สำหรับ ปริมาณการได้รับ สารแคปไซซิน และสารในกลุ่มแคปไซซินนอยด์ ในแต่ละวัน ในปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดปริมาณ ที่ควรได้รับสารเหล่านี้

 

รสเปรี้ยว ( Sour )

 

อาหารที่มีรสเปรี้ยว  มีประโยชน์ ในช่วยการทำงานของตับ และถุงน้ำดี ในเรื่องการปล่อยน้ำย่อย และช่วยในการดูดซึมอาหารอีกด้วย จึงกระตุ้นความอยากอาหารได้ รวมถึงยังเป็น ยาระบายอ่อน ๆ ได้ดี ช่วยขับเสมหะ และแก้เลือดออกตามไรฟัน

 

แต่หากทาน อาหารที่มีรสเปรี้ยว มากเกินไป จะยิ่งเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารได้ เนื่องจาก อาหารที่มีรสเปรี้ยว ย่อมมีฤทธิ์เป็นกรด สูงกว่าอาหารรสอื่น ยิ่งเปรี้ยวมาก จะยิ่งสามารถ กัดกร่อน กระเพาะอาหาร ที่เป็นอวัยวะรองรับถูกกัดกร่อน ได้มากไปด้วย ทำให้เสี่ยงต่อ การเกิดโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน และเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้

 

การทานอาหารที่มีรสจัดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น รสเค็มจัด , รสหวานจัด , รสเผ็ดจัด , รสเปรี้ยวจัด ที่ถึงแม้จะถูกใจปากผู้ทาน แต่ไม่ถูกต่อสุขภาพของผู้ทาน อย่างแน่นอน หากมีการบริโภคเป็นประจำ จนปากติดอาหารรสชาติจัดเหล่านั้น ดังนั้น จึงควร เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการกิน โดยลดการปรุงอาหาร จากเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด ไม่ตามใจปากของตนมากจนเกินไป หรือใช้ในปริมาณที่เหมาะสมที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อประโยชน์ที่ดีต่อ สุขภาพของคุณ ในระยะยาว

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

กินอย่างไร? ไม่ให้เป็นเกาต์

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบจากการไม่เลือกกิน


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook