บ่อยครั้งที่เรามีอาการ ท้องเสีย แบบไม่รู้สาเหตุ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทานอะไรผิดสำแดงเลย บางคนก็ละเลย แต่รู้กันไหมคะว่ามันอาจอันตรายต่อ สุขภาพ ของคุณได้
ปวดท้อง ท้องเสีย สาเหตุมาจากอะไร ?
สาเหตุของอาการ ท้องเสีย ที่พบได้บ่อยที่สุดก็เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหาร และน้ำดื่ม ซึ่งคนที่ ท้องเสีย บ่อย ๆ ด้วยสาเหตุนี้มักจะเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นเด็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ปรุงค้างคืน หรือหยิบอาหารเข้าปากโดยไม่ได้ล้างมือก่อนก็อาจจะ ท้องเสีย บ่อย ๆ ด้วยการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสได้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการ ท้องเสีย เพราะติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ร่างกายจะมีกลไกขับเชื้อโรคออกไปกับอุจจาระ ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้รับประทานยาหยุดถ่าย แต่ควรดื่มเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป และหาก ท้องเสีย ติดกันเกิน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
สำหรับคนที่มักจะมีอาการ ท้องเสีย หลังจากกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ประมาณว่ากินเมื่อไรก็ ท้องเสีย เมื่อนั้น นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายของคุณมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือมีอาการแพ้อาหารบางชนิด เช่น นม ถั่วลิสง อาหารทะเล ช็อกโกแลต กลูเต็น สีสังเคราะห์ กลิ่นสังเคราะห์ ไข่ หรือน้ำส้มสายชู เป็นต้น
ดังนั้น ลองสังเกตดูนะคะว่าตัวเองมีอาการ ท้องเสีย บ่อย ๆ ตอนกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือเปล่า และหากมีอาการท้องเดินทุกครั้งที่กินอาหารชนิดนั้น ๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่เราแพ้ไป แต่ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังอาหารบางชนิดด้วย โดยเฉพาะคนที่แพ้นม แพ้ไข่ เพราะนมหรือไข่ก็เป็นส่วนประกอบของอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เราอาจคาดไม่ถึง
ระบบย่อยอาหารของเราจำเป็นต้องใช้เอนไซม์หลายตัวที่ช่วยย่อย และจำแนกสารอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไปแต่ละชนิด ซึ่งหากระบบย่อยอาหารไม่ดี หรือร่างกายขาดเอนไซม์บางตัวที่มีหน้าที่ย่อยอาหาร เช่น ร่างกายขาดโพรเรนนิน หรือมีเอนไซม์ชนิดนี้น้อย ร่างกายจะไม่สามารถย่อนโปรตีนจากนมได้ ส่งผลให้ดื่มนมทีไรก็เกิดอาการท้องเสียทุกครั้งไปนั่นเอง
ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เสี่ยงเป็นโรคอะไร ?
ตัวอย่างของโรคที่อาจพบได้ในคนที่มีอาการ ท้องเสีย บ่อย ๆ อาจอันตรายต่อ สุขภาพ คือ เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ( Inflammatory Bowel Diseases หรือ IBD ) ที่มีลักษณะคล้ายโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ปรสิต หรือพยาธิ
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากอะไร ?
จริง ๆ แล้วสาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เป็นอาการอักเสบของลำไส้ที่หนัก และเรื้อรังกว่าลำไส้อักเสบตามปกติ
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีกี่ประเภท ?
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการอักเสบ และตำแหน่งที่อักเสบ ดังนี้
เป็นอาการลำไส้อักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก ส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย และลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยมีลักษณะของการอักเสบอยู่ 3 แบบ
– อักเสบบวมคล้ายฝี ที่เกิดจากการที่เนื้อเยื่อลำไส้พยายามซ่อมแซมตัวเองจากการอักเสบ จนทำให้ลำไส้มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ ภายในลำไส้แคบเล็กลง จนอาจเกิดเป็นลำไส้อุดตันต่อได้
– อักเสบเป็นแผลลึก โดยอาจอักเสบจนทะลุไปยังอวัยวะส่วนอื่นใกล้เคียง เช่น ลำไส้ทะลุไปกระเพาะปัสสาวะ หรือทะลุไปที่ช่องคลอด
– อักเสบแบบทั่วไป ที่ไม่ใช่แบบคล้ายฝี และไม่ทะลุไปส่วนอื่น
ลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดนี้จะพบได้บริเวณผิวผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น โดยจะทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระปนเลือด มีไข้ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจมาพร้อมกับอาการอักเสบของส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ตาอักเสบ ตับอักเสบ เป็นต้น
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีอาการอย่างไร ?
– ปวดเกร็งช่องท้อง
– ท้องเสียบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง
– อาจถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
– อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ท้องเสีย นานแค่ไหน ถึงเสี่ยงเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ?
หากมีอาการ ท้องเสีย มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือพบแพทย์ ทานยาแล้วยังไม่หาย อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ถึงกระนั้น จะแน่ใจว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบหรือไม่นั้น ต้องให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด โดยอาจมีการตรวจอุจจาระ ทำซีทีสแกน ส่องกล้อง หรืออาจตัดชิ้นส่วนตรวจ
อันตรายของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
นอกจากาการ ท้องเสีย ที่จะรบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแล้ว การถ่ายบ่อย ๆ ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำ สารอาหาร โปรตีน ของเหลวต่าง ๆ รวมถึงเลือดด้วย จึงอาจทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเลือดจาง หรือถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
นอกจากนี้การอักเสบของลำไส้นาน ๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้แล้วว่า เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดใด แพทย์ก็เป็นผู้เลือกยาเพื่อทำการรักษาให้ และจะตามเช็คดูอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจพิจารณาการผ่าตัดในบางกรณี
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากนัก แต่ก็มีผู้ป่วยโรคนี้เข้ารับการรักษาอยู่จำนวนหนึ่ง และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้น หากอยากลดโอกาสในการเกิดการอักเสบในช่องท้อง ควรเริ่มต้นที่อาหารที่ทาน ทานอาหารที่สะอาด สด ใหม่ ลดการทานอาหารที่ผสมของหมักดองที่ไม่ได้คุณภาพ และดูแลการขับถ่ายให้เป็นปกติอยู่เสมอ
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :