คาเฟอีน ( Caffeine ) เป็น สารกระตุ้นประสาท มีอยู่ตามธรรมชาติใน เครื่องดื่ม ที่มักทำมาจาก กาแฟ และ ชา นอกจากนั้นแล้วยังมี คาเฟอีน ใน น้ำอัดลม อีกด้วย วันนี้เราจึงจะมาพูดเกี่ยวกับ ภาวะพิษคาเฟอีน ที่มี อันตราย มากกว่าที่คิด กันค่ะ
กลไกการทำงานของ คาเฟอีน ( Caffeine ) แตกต่างจาก ยาเสพติด ประเภทอื่น ๆ รวมทั้ง โคเคน ( Cocaine ) และ แอมเฟตามีน ( Amphetamine ) คือ คาเฟอีน ( Caffeine ) มีฤทธิ์ระงับ แอนตาโกนิเซชั่น ( Antagonization ) การทำงาน ของหน่วยรับความรู้สึก ของ สารอะดีโนซีน ( Adenosine ) ในระบบประสาท และ เพราะว่า สารอะดีโนซีน ( Adenosine ) เป็นสารพลอยได้ ของการทำงาน ของเซลล์ ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหน่วยความรู้สึก มีผลให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย และ ความอยากจะนอน ดังนั้น การเข้าไประงับหน่วยความรู้สึก จึงมีผลให้ระดับสารกระตุ้นประสาท ตามธรรมชาติ คือ โดพามีน ( Dopamine ) และ นอร์เอพิเนฟริน ( Norepinephrine ) ดำรงอยู่ในระดับที่สูง ช่วงขณะที่ คาเฟอีน ( Caffeine ) กำลังออกฤทธิ์ กระบวนการ แอนตาโกนิเซชั่น ( Antagonization ) ของหน่วยรับความรู้สึก ประเภท อะดีโนซีน ( Adenosine ) จะเพิ่มขึ้น และ ระดับสารสื่อประสาท ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สรุปแล้ว คาเฟอีน ( Caffeine ) มีผลการออกฤทธิ์ คือ ทำให้สมองตื่นตัว เพิ่มปริมาณของ ซีโรโทนิน ( Serotonin ) ทำให้รู้สึกพึงพอใจ และ มีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาเฟอีน ( Caffeine ) ไม่ได้ลดความต้องการ การนอนหลับของสมอง เพียงแต่ลดความรู้สึก เหนื่อยล้า ลงเท่านั้น
เมื่อรับประทาน คาเฟอีน ( Caffeine ) ไปนาน ๆ จะเกิด ภาวะทนต่อคาเฟอีน ( Caffeine Tolerance ) และ ทำให้ผู้บริโภค ต้องการ คาเฟอีน ( Caffeine ) มากขึ้น เพื่อให้เกิดผลต่อร่างกาย แต่หากหยุด การบริโภค คาเฟอีน ( Caffeine ) ในทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ อาการปวดศีรษะ และ รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน สูญเสียสมาธิ และ ความตั้งใจ รวมทั้งอาจเกิด อาการซึมเศร้า อย่างอ่อน ๆ ได้ อาการดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมง หลังจากการหยุด บริโภค คาเฟอีน ( Caffeine ) แต่จะหายไปได้เอง ภายใน 2-3 วัน
คาเฟอีน ( Caffeine ) เป็นหนึ่งในสาร ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย มากที่สุดในโลก เพื่อกระตุ้นร่างกาย ให้มีความกระฉับกระเฉง โดยคนส่วนใหญ่จะนึกถึง กาแฟ เป็นลำดับแรก ๆ แต่ปัจจุบัน คาเฟอีน ( Caffeine ) แฝงอยู่กับอาหาร และ เครื่องดื่มต่าง ๆ อีกหลายชนิด เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม ชา ช็อกโกแลต โกโก้ ยาแก้ปวดบางชนิด ซึ่งสามารถหาซื้อได้ จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่หากบริโภค ในปริมาณสูงเกินไป จะส่งผลต่อร่างกาย จนถึงแก่ชีวิตได้ เรียกว่า ภาวะเสพติดคาเฟอีน ( Caffeinism ) หรือ ภาวะพิษคาเฟอีน ( Caffeine Intoxication ) ซึ่งมีอาการ ดังต่อไปนี้
ภาวะเสพติด คาเฟอีน ( Caffeinism )
จะปรากฏอาการต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย และ ทางจิตใจ เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก นอนไม่หลับ ใจสั่น เป็นต้น
ภาวะพิษ คาเฟอีน ( Caffeine Intoxication )
ทำให้เกิดอาการ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ความคิด และ การพูดสับสน หน้าแดง ปัสสาวะมากผิดปกติ ปวดท้อง หัวใจเต้นแรง ในกรณีที่ได้รับ ในปริมาณสูงมาก อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
อ่านบทความเพิ่มเติม
แผลร้อนใน ( Aphthous Ulcers ) ไม่ใช่เรื่องเล็ก
คาเฟอีน ( Caffeine ) เป็น สารกระตุ้นประสาท มีอยู่ตามธรรมชาติใน เครื่องดื่ม ที่มักทำมาจาก กาแฟ และ ชา นอกจากนั้นแล้วยังมี คาเฟอีน ใน น้ำอัดลม อีกด้วย วันนี้เราจึงจะมาพูดเกี่ยวกับ ภาวะพิษคาเฟอีน ที่มี อันตราย มากกว่าที่คิด กันค่ะ
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :