MWWellness ตรวจ สุขภาพ ประจำปี สำคัญอย่างไร ?

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ตรวจ สุขภาพ ประจำปี สำคัญอย่างไร ?

MWWellness หลายคนละเลยการตรวจ สุขภาพ ประจำปี เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้สำคัญอะไร ตัวเองไม่ได้เจ็บป่วยก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องไปโรงพยาบาล แต่คุณกำลังคิดผิดค่ะ

ตรวจ สุขภาพ ประจำปี สำคัญอย่างไร ?

ตรวจ สุขภาพ ประจำปี สำคัญอย่างไร ?


หลายคนละเลยการตรวจ สุขภาพ ประจำปี เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้สำคัญอะไร ตัวเองไม่ได้เจ็บป่วยก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องไปโรงพยาบาล แต่คุณกำลังคิดผิดค่ะ

 

เหตุผลที่ต้องตรวจ สุขภาพ ประจำปี

การดูแล และรักษาสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับทุกคน เนื่องจากร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ของเราทำงานอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพ หรือบกพร่องไปแต่เราก็สามารถดูแล และตรวจสอบสภาพร่างกายของเราได้โดยการตรวจ สุขภาพ ประจำปีเพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายเราตั้งแต่ ในระยะแรก ๆ ซึ่งยังไม่มีอาการ อันได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา

 

ข้อดีของการตรวจ สุขภาพ ประจำปี คืออะไร ?

ข้อดีของการตรวจ สุขภาพ ประจำปีคือ การที่เราสามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หรือหากตรวจพบว่ายังไม่เป็นโรค แต่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรค เราก็จะได้ดูแล ป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดโรค  และเฝ้าระวังติดตามปัญหา สุขภาพ นั้นอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารไขมันสูงเป็นประจำ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น หากเราไม่ตระหนักถึงอันตรายของโรคร้ายต่าง ๆ และละเลยการตรวจ สุขภาพ ประจำปีตามที่แพทย์ได้แนะนำ ร่างกายอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เพราะฉะนั้น ควรตรวจ สุขภาพ ประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

การตรวจ สุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง และใครบ้างที่ควรตรวจ สุขภาพ ?

การตรวจ สุขภาพ ประจำปีสามารตรวจได้ทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ โดยรายการตรวจจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เพศกรรมพันธุ์ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของแต่ละบุคคล โดยสามารถแบ่งการตรวจ สุขภาพ ประจำปีเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

  • วัยเด็ก

สำหรับการตรวจ สุขภาพ ในกลุ่มเด็กจะเป็นการตรวจร่างกาย เพื่อดูการเจริญเติบโต และพัฒนาการเป็นหลัก ซึ่งจะประเมินโดยกุมารแพทย์ และยังรวมไปถึงการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ  เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ อีกด้วย

  • วัยทำงาน หรือวัยผู้ใหญ่

การตรวจ สุขภาพ ประจำปีในกลุ่มวัยทำงาน คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปี จะเป็นการตรวจสภาพของร่างกาย เพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในร่างกาย โดยขั้นตอนการตรวจ สุขภาพ นั้น ประกอบด้วย การวัดความดันโลหิต การวัดชีพจร การวัดอัตราการหายใจ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก การตรวจเลือด ( ได้แก่ ระดับน้ำตาล ระดับไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ เป็นต้น ) การตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง การตรวจปัสสาวะ การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ  หลังจากนั้นแพทย์จะทำการซักถามถึงประวัติทางสุขภาพในอดีต ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่ครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ และเบาหวานเนื่องจากคนกลุ่มนี้มีอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าบุคคลอื่น รวมถึงซักถามพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพ เช่น ลักษณะการบริโภคอาหาร การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ความเครียดจากการทำงาน พฤติกรรมการออกกำลังกาย เป็นต้น และแพทย์จะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อวินิจฉัย และให้คำแนะนำตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล นอกจากนี้การตรวจ สุขภาพ ประจำปี ยังครอบคลุมถึงการแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนต่าง ๆ ตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลด้วย

นอกจากรายการตรวจเบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น  สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเอ็กซเรย์เต้านมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย และผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยอีกเช่นกัน

สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ควรเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่างอีกด้วยเพื่อเป็นการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง

  • การตรวจ สุขภาพ ในกลุ่มผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุ คือ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจ สุขภาพ ประจำปีเพิ่มเติมจากการตรวจ สุขภาพ แบบเบื้องต้น ซึ่งประกอบไปด้วย การตรวจสภาพสายตาการประเมินสมรรถภาพการทำงานของสมอง การตรวจความหนาแน่นกระดูกเพื่อคัดกรองภาวะกระดูกพรุน การตรวจสมรรถภาพหัวใจจากการวิ่งสายพาน หรือการอัลตร้าซาวน์หัวใจ

 

คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนตรวจ สุขภาพ ประจำปี

  • พักผ่อนให้เพียงพอก่อนมาตรวจ สุขภาพ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • งดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีพลังงานอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง และมียาต้องรับประทาน สามารถรับประทานได้ตามปกติ และควรแจ้งให้แพทย์ หรือพยาบาลให้ทราบก่อนตรวจ แต่หากเป็นยาเบาหวาน แนะนำยังไม่ต้องรับประทานยา เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดหรือตรวจอื่น ๆ แนะนำให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาลให้ทราบก่อนตรวจ
  • สำหรับสุภาพสตรี แนะนำว่าควรงดตรวจในช่วงก่อน และหลังมีประจำเดือนประมาณ 7 วัน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน หรือการตรวจเอกซเรย์เต้านม เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง และหากสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่องดการเอกซเรย์

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

อาการ ปวดหัว บ่อย ๆเป็นอันตรายหรือไม่วันนี้มาหาคำตอบกัน

5 อาหารบำรุงดวงตา


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook