MWWellness ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด

MWWellness เพื่อน ๆ เคยเป็นกันบ้างไหมคะ อยู่ ๆ ก็รู้สึก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มึนงง บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่นอนพักผ่อนเพียงพอ แต่รู้ไหมคะว่านี่อาจเป็นสาเหตุของ ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) ที่เราอาจะไม่เคยรู้มาก่อน และ มีอันตรายกว่าที่คิด

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด


เพื่อน ๆ เคยเป็นกันบ้างไหมคะ อยู่ ๆ ก็รู้สึก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มึนงง บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่นอนพักผ่อนเพียงพอ แต่รู้ไหมคะว่านี่อาจเป็นสาเหตุของ ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) ที่เราอาจะไม่เคยรู้มาก่อน และ มีอันตรายกว่าที่คิด

 

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) คืออะไร ?

โลหิตจาง ( Anemia ) หรือ ภาวะซีด เป็นภาวะที่มีปริมาณ เม็ดเลือดแดง ในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลิต ออกซิเจน ( Oxygen ) ได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกาย มีอาการผิดปกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ ภาวะนี้พบได้บ่อย ในบุคคลทั่วไป โดยอาการแสดง อาจมาก หรือ น้อย แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระดับเม็ดเลือดแดง ในร่างกาย และ ความสามารถ ในการปรับตัวต่อ ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) ของแต่ละคน

 

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิด ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) นั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย สามารถแบ่งออกได้เป็น สาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้

1. การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งมีปัจจัยมาจาก

- การขาดสารอาหาร

ได้รับสารอาหาร ที่ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะ การขาด ธาตุเหล็ก ( Iron ) วิตามินบี 12 ( Vitamin B12 ) หรือ กรดโฟลิก ( Folic Acid )

 

- ภาวะโรคเรื้อรัง

โรคเรื้อรังบางชนิด หรือ การรักษาโรคเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบต่อ การสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคไตวายเรื้อรัง โรค HIV โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

 

- การตั้งครรภ์

ภาวะโลหิตจาง สามารถเกิดขึ้นได้กับ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหาร ประเภท ธาตุเหล็ก ( Iron ) และ กรดโฟลิก ( Folic Acid ) รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด

 

- โรคเกี่ยวกับไขกระดูก

มีอาการของโรคกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดในไขกระดูก เป็นต้น

 

2. การทำลาย เม็ดเลือดแดง มากกว่าปกติ ในร่างกาย เป็นผลมาจาก การติดเชื้อ หรือ โรค ในกลุ่มที่เป็นสาเหตุ ให้เม็ดเลือดแดง แตกง่ายกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ อาการดีซ่าน ร่วมด้วย เช่น

 

- โรคธาลัสซีเมีย ( Thalassemias ) เป็นโรคที่ถ่ายทอด ทางพันธุกรรม ที่พบบ่อย

- รูปร่าง เม็ดเลือดแดง ผิดปกติ ( Sickle Cell Anemia )

- การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย คลอสติเดียม มัยโค พลาสมา เป็นต้น

 

3. การสูญเสียเลือด อย่างฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การตกเลือด ภาวะเลือดหลังคลอดบุตร หรือ อาจค่อย ๆ เสียเลือดเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยที่เสียเลือดเรื้อรัง ก็จะมักจะทำให้ มีการขาด ธาตุเหล็ก ( Iron ) ตามมาด้วย การสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดทาง ประจำเดือน ในผู้หญิง เสียเลือดในทางเดินอาหาร ในผู้ชาย และ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

 

หากมีอาการเหล่านี้ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ภาวะโลหิตจาง ( Anemia )

- เบื่ออาหาร

- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

- ตัวซีดเหลือง อย่างเห็นได้ชัด

- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน

- หายใจลำบาก ขณะออกแรง

- มึนงง วิงเวียนศีรษะ

- เจ็บหน้าอก ใจสั่น

- หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว

- หากมีอาการเรื้อรัง อาจพบอาการมุมปากเปื่อย เล็บมีลักษณะ อ่อนแอ และ แบน หรือ เล็บเงยขึ้น มีแอ่งตรงกลาง คล้ายช้อน

 

ไม่อยากเป็น ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

- เลือกรับประทาน อาหารที่อุดมด้วย ธาตุเหล็ก ( Iron ) วิตามิน ( Vitamin ) และ สารอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช

- รับประทานวิตามินเสริม โดยขอคำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ในผู้ที่ได้รับสารอาหาร ไม่เพียงพอ จากการรับประทานอาหาร

- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน

- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ และ อุดมไปด้วย กรดโฟลิก ( Folic Acid ) และ ธาตุเหล็ก ( Iron ) เช่น ปลา เนื้อแดงไร้ไขมัน ไข่ ถั่ว และ ผักใบเขียว เพื่อป้องกันการเกิด ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) และ อาจรับประทาน วิตามินเสริม เพื่อช่วยรักษา ระดับเซลล์เม็ดเลือดแดง ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งควรปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเพื่อแนะนำ การรับประทาน วิตามิน หรือ อาหารเสริมใด ๆ ก่อนเสมอ

- ผู้ที่มีประวัติ คนในครอบครัวเป็น ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยง การส่งต่อทางพันธุกรรม

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

5 อาหารบำรุงดวงตา

ภาวะพิษคาเฟอีน มี อันตราย มากกว่าที่คิด


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook