ในปัจจุบัน อาการตาล้า ( Asthenopia ) อาจพบได้บ่อย ๆ เมื่อใช้สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่การ ลดปัจจัยเสี่ยง ด้านอื่น ๆ หรือ ปรับวิธีการใช้สายตาอาจ ช่วยบรรเทาอาการ ล้าของดวงตาคุณได้
อาการตาล้า ( Asthenopia )
อาการตาล้า ( Asthenopia ) อาจแตกต่างกันออกไป ในแต่ละบุคคล โดยหลังจากการใช้สายตามากเกินไป จะมีอาการที่มักพบได้บ่อย เช่น ปวดตา ปวดกระบอกตา ตาแห้ง คันตา แสบตา มีน้ำตาไหล ตาแดง ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด หรือ ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ อาการเหล่านี้ยังอาจกระตุ้นให้เกิด อาการปวดหัว เหนื่อยล้า เวียนศีรษะ บ้านหมุน และ ปวดไมเกรน ได้ด้วย โดยปกติอาการเหล่านี้ มักไม่เป็นอันตราย แต่หากอาการรุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม
สาเหตุของอาการตาล้า ( Asthenopia )
อาการตาล้า ( Asthenopia ) นั้นเกิดจากการ ใช้สายตาต่อเนื่อง กันเป็นเวลานาน โดยอาจพบได้บ่อยขณะ อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขณะใช้สมาร์ทโฟน อยู่ในที่แสงจ้า ใช้สายตาในที่มืด หรือ แสงน้อย ทำงานที่ต้องใช้เพ่งสายตาตลอดเวลา หรือ ดวงตาสัมผัสกับลม จนทำให้ตาแห้ง นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะตาแห้ง ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติ หรือ กระจกตามีปัญหา ก็อาจเกิดอาการตาล้า ( Asthenopia ) ได้เช่นกัน
การวินิจฉัยอาการตาล้า ( Asthenopia )
ในเบื้องต้นอาการตาล้า ( Asthenopia ) อาจพบได้ด้วยตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการดังกล่าว หรือ อาการที่พบหลังจาก การทำพฤติกรรมนั้น ๆ ในกรณีที่ไปพบแพทย์ แพทย์อาจสอบถามอาการที่พบ และ พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดอาการนั้น ๆ ตามมา รวมทั้งอาจตรวจการมองเห็น หรือ วัดค่าสายตา ที่อาจเป็นสาเหตุ ของอาการเหล่านี้เพิ่มเติม
การรักษาอาการตาล้า ( Asthenopia )
เมื่อเกิดอาการตาล้า ควรพักสายตาสักพักเพื่อลดอาการล้าของดวงตา หากตาแห้งอาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ให้กับดวงตา ซึ่งจะช่วยลดอาการตาแห้ง และ แสบตาได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหน้าพัดลม หรือ เครื่องปรับอากาศ แต่ให้เปลี่ยนทิศทางลม ไม่ให้สัมผัสกับดวงตาโดยตรง รวมทั้งปรับแสงหน้าจอ จากอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือ แสงในห้อง ให้เหมาะสม กับกิจกรรมที่ทำในขณะนั้น
ภาวะแทรกซ้อน จากอาการตาล้า ( Asthenopia )
อาการล้าของดวงตา เป็นอาการที่ไม่รุนแรง และ สามารถหายเองได้ แต่หากเกิดอาการตาล้า ( Asthenopia ) บ่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงาน หรือ การเรียนได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันอาการนี้เกิดขึ้น
อาการตาล้า ( Asthenopia ) สามารถลดความเสี่ยง ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- จำกัดเวลาในการใช้สายตา อย่างการอ่านหนังสือ ทำงาน หรือ เล่นสมาร์ทโฟน และ ควรพักสายตา อย่างน้อย 20 วินาที ทุก ๆ 20 นาที
- กะพริบตาบ่อย ๆ จะช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้สายตา ในที่มืด หรือ แสงน้อย รวมทั้งปรับแสงให้เหมาะสม กับการทำงาน หรือ กิจกรรมนั้น ๆ
- การใช้คอมพิวเตอร์ควรให้สายตา อยู่ห่างจากหน้าจอในระยะ 18 - 25 นิ้ว รวมทั้งปรับแสง และ ระดับของหน้าจอ ให้เหมาะกับการมองเห็น ไม่สว่าง หรือ มืดจนเกินไป
- สวมแว่นตาที่เหมาะสม กับการใช้งาน อย่างแว่นตาสำหรับอ่านหนังสือ แว่นตากันแดด หรือ แว่นตาสำหรับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
- ใช้อุปกรณ์กรองแสง จากหน้าจอคอมพิวเตอร์
- หลีกเลี่ยงการนั่งหน้าพัดลม หรือ เครื่องปรับอากาศ ที่ทำให้ดวงตาสัมผัสกับลมโดยตรง เพื่อป้องกันอาการตาแห้ง
- นอกจากนี้ การรับประทาน อาหารบำรุงสายตา อย่างปลาทะเล ไข่ ถั่ว ส้ม มะนาว และ ผักใบเขียว ก็อาจช่วยลดความเสี่ยง ของอาการตาล้า ( Asthenopia ) ได้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการตาล้า ( Asthenopia ) ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือ มีอาการรุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง และ ทันท้วงที่นะคะ
เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปราถนาดีจาก เอ็มดับบลิว เวลเนส MW WELLNESS ศูนย์ดูแลสุขภาพ ความงาม และ ล้างพิษครบวงจร เพื่อน ๆ สามารถดู บริการของเรา ได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก pobpad.com
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :