บางคนมักมองว่า โรคเหงื่อออกมือ เป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ใส่ใจ คิดแค่ว่าอากาศคงร้อนจนทำให้เหงื่อออกเต็มไปหมด แต่อย่ามองข้ามเรื่องนี้เลยค่ะ เพราะมันอาจะเป็นปัญหา สุขภาพ ในอนาคตได้
โรคเหงื่อออกมือ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยมากถึง 3% ของประชากรของประเทศ สามารถพบได้ทั้งผู้ชาย และ ผู้หญิงเท่า ๆ กัน และ มักพบในคนที่อายุน้อย โดยอาการแต่ละคนจะมีผลต่อกิจวัตรประจำวัน เริ่มตั้งแต่การหยิบจับอะไรก็ตาม ก็จะมีเหงื่อซึมออกมาตลอดเวลา จนทำให้เกิดความรำคาญ
จนไปถึงบางรายอาจส่งผลถึงคุณภาพชีวิต ไม่มั่นใจ และ ไม่กล้าเข้าสังคม เช่น ในกลุ่มที่ต้องใช้มือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้มือในการประกอบอาชีพ เช่น พ่อค้า แม่ค้า พนักงานที่ทำงานในโรงงาน หรือ วิศวกรที่ทำงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือ กลุ่มนักธุรกิจที่ต้องใช้มือในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
เหงื่อออกที่มือ เกิดจากอะไร ?
โรคเหงื่อออกมือ มีทั้งหมด 2 สาเหตุ คือ ความผิดปกติของเส้นประสาทระบบอัตโนมัติ กับ มีโรค หรือ ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดอาการ ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเส้นประสาทระบบอัตโนมัติ มักจะพบคนในคนอายุน้อย โดยอาการที่เป็นส่วนมากจะเกิดที่มือทั้ง 2 ข้าง
บางรายจะมีเหงื่อออกที่บริเวณฝ่าเท้าทั้งสองข้างด้วย โดยไม่สัมพันธ์กับอุณหภูมิอากาศ การออกกำลังกาย หรือ ท่าทาง ส่วนอีกสาเหตุ หรือ ปัจจัยภายนอกที่ทำให้มีอาการเหงื่อออกที่มือคล้ายคลึงกัน ได้แก่ โรคจากระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคเบาหวาน, หญิงตั้งครรภ์ หรือ หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน, โรคจากระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือ อาการจากการใช้ยา หรือ สาเหตุอื่น ๆ เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง หรือ โรคทางระบบประสาท เป็นต้น
เหงื่อออกแบบไหนจัดว่าผิดปกติ ?
คนเราทุกคนย่อมมีเหงื่อออกได้ แต่ถ้ามีเหงื่ออกในลักษณะต่อไปนี้ อาจจัดว่าอยู่ในภาวะที่ผิดปกติ
ปกติแล้วภาวะเหงื่อออกมือ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด จะมีแค่ในบางกรณีอาจสื่อถึงผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญสูง ส่วนโรคหัวใจ ไม่มีผลทำให้เหงื่อออกมือตามที่กล่าวถึงกันมาก
แม้การมีเหงื่อออกตามมือมากผิดปกติจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่การมีเหงื่อออกมากอาจสร้างความกังวลใจ ความไม่มั่นใจ และ ไม่กล้าเข้าสังคม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัย และ รับการรักษาที่ตรงจุด โดยแพทย์จะดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ ร่วมกับการตรวจร่างกายด้านอื่น ๆ เพื่อวางแผนการรักษาที่ต้นเหตุ เพื่อให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
เหงื่อออกมาก หนึ่งในสัญญาณเตือนว่าเสี่ยงโรค
ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อออกมาก เหนื่อยหอบ คล้ายจะเป็นลม โดยเหงื่อจะออกมากบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อซึมทั่วตัว และ บริเวณฝ่ามือ และ อาจมีอาการมือสั่น ผมร่วง หรือ กระหายน้ำบ่อย ร่วมด้วย
ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ หน้าผาก และ อาจมีอาการใจสั่น มือสั่น ร่วมด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งโดยมากมักมีอาการ เหงื่อออกมากช่วงเวลากลางคืน
ลักษณะอาการ คือ มีเหงื่อออกมากบริเวณมือ ร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานมากในการสูบฉีดโลหิต ความร้อนในร่างกายจึงเพิ่มสูงขึ้น
แนวทางการรักษา โรคเหงื่อออกมือ
ผู้ป่วย โรคเหงื่อออกมือ หลาย ๆ ราย พยายามหาวิธีการรักษาเพื่อให้หายขาด โดยหลักการรักษาโรคของโรคนี้คือ การทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษามีตั้งแต่การใช้ยาทา โดยยาที่นิยมใช้ คือ ยาทาระงับเหงื่อ หรือ ที่เรียกว่าอลูมิเนียมคลอไรด์ ( Aluminum Chloride ) มักใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ส่วนยาชนิดรับประทาน คือ กลุ่ม Anticholinergic Drug
อย่างไรก็ตาม ยาชนิดรับประทานอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ท้องผูก คลื่นไส้ และ อาเจียนได้ นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการฉีดยาที่มือโดยใช้กลุ่มยา Botulinum Toxin โดยส่วนมากมักสามารถคุมอาการได้ประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นอาจต้องมารักษาฉีดยาซ้ำอีก
สุดท้ายนี้ รักษาด้วย วิธีการผ่าตัด ( Thoracoscopic sympathectomy ) เป็นการรักษาโรคชนิดนี้ได้ผลดีที่สุด โดยทำการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณซี่โครงที่ 3-5 โดยผ่าตัดทางส่องกล้อง โดยมีแผลเล็ก ๆ ขนาด 1 ซม. ทั้งสอง 2 ข้างใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง และ สามารถกลับบ้านได้วันถัดไป อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีการผ่าตัด อาจมีผลข้างเคียงเกิดภาวะเหงื่อเกิน ( Compensatory Hyperhidrosis ) โดยพบได้ 10 - 40% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยจะมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณช่วงลำตัว
โรคเหงื่อออกที่มือ เป็นสัญญาณผิดปกติ แต่จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัย และ รับการรักษาที่ตรงจุด โดยแพทย์จะดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ ร่วมกับการตรวจร่างกายด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อวางแผนการรักษาที่ต้นเหตุ ของสาเหตุที่แท้จริง เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :