MWWellness แนวทางการป้องกัน โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke )

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร แนวทางการป้องกัน โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke )

MWWellness ช่วงนี้อากาศก็เริ่มร้อนกันแล้ว โรคที่ช่วงนี้มีคนเป็นกันมากก็ไม่พ้น โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด นั่นเอง วันนี้เราจึงมี แนวทางการป้องกัน และ สังเกตอาการ มาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันค่ะ

แนวทางการป้องกัน โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke )

แนวทางการป้องกัน โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke )


ช่วงนี้อากาศก็เริ่มร้อนกันแล้ว โรคที่ช่วงนี้มีคนเป็นกันมากก็ไม่พ้น โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด นั่นเอง วันนี้เราจึงมี แนวทางการป้องกัน และ สังเกตอาการ มาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันค่ะ

 

ปัจจุบันสำหรับประเทศไทยขณะนี้ สภาพอากาศร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยง ในการเจ็บป่วยหลายโรค เช่น โรคในระบบทางเดินอาหาร ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร และ น้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เข้าไปซึ่งเกิดบ่อยที่สุด แต่โรคที่มีการพูดถึงกันน้อย คนเป็นบ่อยช่วงหน้าร้อนคือ โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด นั่นเอง

 

โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ ที่เราเรียกกันว่า โรคลมแดด เกิดจากการที่อยู่ ในสภาพแวดล้อม ที่อุณหภูมิสูง และ ได้รับความร้อนมากเกินไป ส่งผลให้การทำงาน ของระบบไหลเวียนโลหิต และ ระบบสมองผิดปกติ

 

สัญญาณสำคัญของ โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่ว ๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าว จะต้องหยุดพักทันทีค่ะ

 

อาการของ โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด

- ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา

- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก

- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง

- ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ

- อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

 

วิธีการป้องกัน โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด

สำหรับการ ป้องกัน และ ดูแล โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) ไม่ควรตากแดด ในช่วงเที่ยงวัน หรือ เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงบ่ายโมงไปถึง 4 โมงเย็น แต่หากมีความจำเป็น ต้องสัมผัสแดด ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดตัว เพื่อลดความร้อนในร่างกาย และ ควรจิบน้ำเปล่าให้บ่อยที่สุด ในวันที่มีอากาศร้อนจัด สวมแว่นกันแดด และ กางร่ม ก่อนออกจากบ้าน ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา และ สามารถระบาย อุณหภูมิความร้อน และ ป้องกันแสงแดดได้

 

ใครที่มีความเสี่ยง โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด

- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และ ผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถระบายความร้อน ได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว

- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือ โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน

- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือ อ้วน

- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

- ผู้ที่ทำงาน หรือ ทำกิจกรรมกลางแดด เป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง

- ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานาน แล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน

- ผู้ที่ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำ และ เกลือแร่ มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และ ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เมื่อแอลกอฮอล์ ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ให้สูบฉีดเลือดเร็ว และ แรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อก และ เสียชีวิตได้

 

หากเพื่อน ๆ คนไหนพบผู้มีอาการของ โรคฮีตสโตรก ( Heat Stroke ) หรือ โรคลมแดด ขอให้รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบ ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ ร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อน และ ลดอุณหภูมิร่างกาย ให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด  หากไม่หมดสติ ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ และ นำส่งโรงพยาบาล โดยเร็วที่สุดค่ะ

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด

วิธีการดูแลผิวในช่วงหน้าหนาว


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook