MWWellness วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint )

ศูนย์ดูแลสุขภาพ และล้างพิษครบวงจร วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint )

MWWellness สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ เคยมีอาการ หน้ามืด ( Faint ) กันบ้างไหมคะ ซึ่งอาการหน้ามืดนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น แต่ผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งวันนี้เราได้มี วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint ) มาให้เพื่อน ๆ ได้ทำตามกันแล้วค่ะ

วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint )

วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint )


สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ เคยมีอาการ หน้ามืด ( Faint ) กันบ้างไหมคะ ซึ่งอาการหน้ามืดนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น แต่ผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งวันนี้เราได้มี วิธีการรับมือกับอาการหน้ามืด ( Faint ) มาให้เพื่อน ๆ ได้ทำตามกันแล้วค่ะ

 

หน้ามืด ( Faint ) เป็นอาการที่ใช้เรียก เมื่อรู้สึกเวียนศีรษะ บ้านหมุน เสียการทรงตัว รวมถึงรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการ หน้ามืด ( Faint ) อาจส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินชีวิต และ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการหกล้ม ในกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้น การรับมืออาการ หน้ามืด ( Faint ) อย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

 

อาการหน้ามืด ( Faint ) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อากาศร้อน ภาวะร่างกายขาดน้ำ ความดันต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคหินปูนในหูชั้นใน การไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ หรือ เป็นผลข้างเคียง จากยาบางชนิด นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน อย่างการลุกยืนที่เร็วจนเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด ( Faint ) แบบชั่วคราวได้เช่นกัน

 

วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อรู้สึก หน้ามืด ( Faint )

การปรับเปลี่ยนท่าทางอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดอาการ หน้ามืด ( Faint ) เป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยป้องกัน การบาดเจ็บ ที่อาจเกิดตามมา สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติ ให้นั่งบนเก้าอี้ นอนลงบนที่นอน หรือ บนพื้นราบที่ปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการหกล้ม ซึ่งอาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บที่รุนแรงได้
  • จับราวบันไดให้มั่น และ อาจนั่งลงบนขั้นบันไดช้า ๆ หากไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตราย
  • นั่ง หรือ นอนพัก ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ ห้องที่มีอากาศถ่ายเท รวมทั้งดื่มน้ำเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และ ป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • งดบริโภคอาหาร หรือ เครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และ ของเค็ม เนื่องจากอาจทำให้ อาการรุนแรงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ สูดดมควันบุหรี่
  • ห้ามขับขี่ยานพาหนะ หรือ ทำงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อย่างการทำงานกับเครื่องจักร หรือ งานบนที่สูง ซึ่งเสี่ยงต่อการพลัดตก

 

การรักษาอาการหน้ามืด ( Faint )

อาการหน้ามืด ( Faint ) ส่วนใหญ่ มักไม่รุนแรง และ สามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากมีอาการต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน อาการรุนแรงขึ้น หรือ มีอาการอื่น ๆ ร่วม ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจ จากแพทย์ โดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปที่ การวินิจฉัยหาสาเหตุ และ รักษาตามโรคที่พบ

 

ในกรณีที่พบว่า สาเหตุมาจาก โรคหินปูนในหูชั้นใน แพทย์อาจแนะนำการทำ กายภาพบำบัด โดยท่าบริหารของ Epley หรือ Semont ซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้าน การทำกายภาพบำบัดนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อเคลื่อนหินปูนในหูชั้นใน ที่อยู่ผิดตำแหน่ง กลับเข้าเข้าสู่ในตำแหน่งเดิม อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของวิธีนี้ อาจทำให้อาการรุนแรงกว่าเดิม แต่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง หากทำตามวิธีนี้แล้วยังไม่ดีขึ้น หรือ อาการรุนแรงกว่าเดิม ควรไปพบแพทย์อีกครั้ง หรือ เข้ารับบริการการรักษา ด้วยวิธีอื่น ๆ

 

วิธีลดความเสี่ยงอาการหน้ามืด ( Faint )

การดูแลรักษาสุขภาพเป็นประจำ ก็อาจช่วยความเสี่ยง ในการเกิดอาการนี้ได้ ซึ่งสามารถทำด้วยวิธีการ ดังนี้

 

ปรับพฤติกรรม การรับประทาน

พฤติกรรมการรับประทาน ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาจส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด ( Faint ) ได้ เช่น การบริโภคเกลือ หรือ โซเดียม มากเกินไป ดื่มน้ำไม่เพียงพอ บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ขาดแร่ธาตุ และ สารอาหารบางชนิด เป็นต้น ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน บริโภคผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ อย่างอาหารขยะ หรือ อาหารหมักดอง

 

ออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาการทรงตัว

การออกกำลังกายบางชนิด อาจช่วยพัฒนาการทรงตัว ลดอาการหน้ามืด และ เสริมสุขภาพได้ เช่น โยคะ หรือ รำไทเก๊ก อย่างไรก็ตาม ระหว่างออกกำลังกาย ควรจิบน้ำเป็นพัก ๆ เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ

 

เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปรารถนาดีจาก เอ็มดับบลิว เวลเนส MW WELLNESS ศูนย์ดูแลสุขภาพ ความงาม และ ล้างพิษครบวงจร เพื่อน ๆ สามารถดู  บริการของเรา ได้ที่นี่

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาวะโลหิตจาง ( Anemia ) มีอันตรายกว่าที่คิด

วิธีการดูแลผิวในช่วงหน้าหนาว


NEWS

สมัครรับข่าวสารต่างๆ

phone line chat_facebook