กระเพาะอาหารอักเสบ หรือ ที่เรียกกันว่า โรคกระเพาะ เป็นโรค ที่เกิดจาก ระบบ ทางเดินอาหาร ที่สามารถ พบได้บ่อย ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจาก พฤติกรรม ที่เร่งรีบ ของคนสมัยนี้ ทำให้ พฤติกรรม การรับประทาน อาหาร ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่ มักมีอาการเป็นๆ หายๆ มากถึง 80%
ถึงโรค กระเพาะอาหารอักเสบ จะไม่ใช่โรค ที่รุนแรงมากนัก แต่ก็ไม่ควร นิ่งนอนใจ เพราะหากปล่อยไว้ จะเรื้อรัง ทำให้เกิด แผลใน กระเพาะอาหาร หรือ เลือดไหล ในกระเพาะอาหาร จนอาจเกิด ภาวะแทรกซ้อน อีกทั้ง ยังเพิ่มความเสี่ยง ในการเป็น โรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร มากขึ้นด้วย
สาเหตุ ที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- การติดเชื้อ จากแบคทีเรียน เอชไพโลไร ( H.pylori )
- การรับประทาน ยากลุ่ม จำพวก ยาต้าน การอักเสบ หรือ ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน
- ปัจจัย สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ พฤติกรรมต่าง ๆ ในการ ใช้ชีวิต ก็มีส่วนกระตุ้น ให้เกิดโรค กระเพาะอาหารอักเสบ มากขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร ที่ไม่เป็นเวลา รับประทานอาหาร อย่างเร่งรีบ ภาวะมีความเครียด มีความวิตกกังวล การรับประทานอาหาร ที่ส่งผล ให้เกิด การระคายเคือง ต่อกระเพาะ และ ลำไส้
อาการ ที่แสดงออก ของแต่ละคน อาจแตกต่างกัน ถึงอาการ ไม่ร้ายแรง แต่หากเกิดขึ้น ติดต่อกันนาน เป็นสัปดาห์ หรือ มากกว่านั้น ควรรีบไป พบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยทันที ซึ่งอาการ จะมีดังนี้
- รู้สึกปวด เสียด หรือ จุก รวมถึง แน่นบริเวณ ใต้ลิ้นปี่
- รู้สึกปวดท้อง ไม่สบาย ช่องท้อง ส่วนบน
- รู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย
- รู้สึกปวดท้องก่อน และ หลัง รับประทานอาหาร
- รู้สึกปวดท้อง ตอนท้องว่าง หรือ ปวดท้องกลางดึก
- รู้สึกมีอาการปวด แบบเป็น ๆ หาย ๆ
- รู้สึกคลื่นไส้ หรือ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
- มีการอาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจาก มีเลือดออก ในกระเพาะอาหาร
- รู้สึกไม่มีความอยาก ทานอาหาร เบื่ออาหาร และ น้ำหนักลดลง
กระเพาะอาหารอักเสบ สามารถ รักษา ให้หายได้ หากดูแล รักษาอย่างดี และ มีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม การใช้ชีวิต ของตัวเอง แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย อย่างเช่น การตรวจ โดยการส่องกล้อง ระบบทางเดินอาหาร ( Gastroscope: EGD ) เพื่อหาสาเหตุ และ รับการรักษา อย่างถูกวิธี จากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ
แต่ในเบื้องต้น ควรปรับเปลี่ยน พฤติกรรม การใช้ชีวิต ดังนี้
1. รับประทาน อาหาร ให้ตรงเวลา ทุกมื้อ และ รับประทานอาหาร ที่ย่อยง่าย
2. งดเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสม คาเฟอีน
3. งดสูบบุหรี่ ที่เป็นปัจจัย ให้เกิดแผลที่ ลำไส้เล็กส่วนต้น
4. ต้องไม่เครียด หรือ วิตกกังวล ควรนอนพักผ่อน ให้เพียงพอ
5. รับประทานยา ตามที่แพทย์สั่ง ให้ถูกหลัก และ สม่ำเสมอ
6. ไม่ควร ซื้อยา เพื่อรับประทานเอง โดยไม่ปรึกษา แพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร
กระเพาะอาหารอักเสบ ถึงแม้จะไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้ดี ทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ ก็เป็นตัวช่วยได้มากแล้ว
อ่านบทความเพิ่มเติม
MW-Wellness
205 29-30 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
02-276-5093, 02-276-5076
clinic.mw@gmail.com
Opening Hours :
Mon - Sun 10:00 - 19:00Mon - Sun 10:00 - 19:00
Social Media :